อาการเปลือกแห้งของยางพารา


อาการเปลือกแห้ง

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลพ่วงพรมคร อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เข้าไปศึกษาอาการเปลือกแห้งของต้นยางพารา แปลงของนายเงิน  ชูคง บ้านเลขที่ 88 ม.12 ต.พ่วงพรมคร ซึ่งยางพารามีอายุ 18 ปี พื้นที่ 16 ไร่ เจ้าของสวนได้หยุดกรีดมาเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ซึ่งต้นแสดงอาหารเปลือกแห้ง คณะกรรมการฯศูนย์ได้เข้าไปศึกษาวิเคราะห์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอเคียนซาเข้าไปให้คำปรึกษา เมื่อลองกรีดต้นยางดูพบว่ามีน้ำยางไหลออกมาแล้ว จึงได้เก็บตัวอย่างดินบริเวณที่แสดงอาการ และบริเวณทั่วไป เพื่อนำไปวิเคราะห์

ลักษณะอาหารเปลือกแตกแห้ง

 

เมื่อกรีดดูพบว่ามีน้ำยางแล้ว

 

นำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์

 

เจ้าหน้าที่เกษตรให้คำแนะนำ

 

ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

อาการเปลือกแห้งนับว่าเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของชาวสวนยางพาราซึ่งเป็นอาการอย่างหนึ่งที่ยังไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือระบบการกรีด เปลือกจะแสดงอาการแห้งแตกไม่มีน้ำยางไหล เนื่องจากพื้นที่แปลงนี้เจ้าของสวนหยุดกรีดมาเป็นเวลา 2 ปีแล้วจึงมีน้ำยางออกมา ซึ่งโดยปกติหยุดกรีด 6 เดือน ก็สามารถกรีดได้แล้ว จึงแนะนำให้เจ้าของสวนกรีดใช้ระบบวันเว้นวัน และให้ลองใช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่นหน้ายางอัตรา 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร คณะกรรมการศูนย์จะติดตามประเมินผลต่อไป

หมายเลขบันทึก: 376084เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หวัดดีครับ

  • โรคเปลือกแห้งเป็นปัญหากับเกษตรกรอย่างมากเลย
  • แก้โรคเปลือกแห้งได้ ถ้าปฏิบัติตามคำแนะนำ ดีๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท