สมศักดิ์
พระ สมศักดิ์ ศักดิ์ อินทร์ดี

พระไตรปิฎก


ลักษณะเฉพาะและความสำคัญของพระไตรปิฎก

                พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้

แบ่งเป็นหมวดได้ 3 หมวด คือ

                พระวินัยปิฎก หมวดวินัย คือ พุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของพระภิกษุสงฆ์ และภิกษุสงฆ์ แบ่งออกเป็น 5 คัมภีร์

                พระสุตตันตปิฎก หมวดพระสูตร คือพระธรรมเทศนา คำบรรยายต่าง ๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น 5 นิกาย

                พระอภิธรรมปิฎก หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่ง เป็น 7 คัมภีร์

               

เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก

หากินผิดถิ่นย่อมพินาศ

                ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สกุณัคคิสูตร มีเรื่องเล่าว่า มีเหยี่ยวตัวหนึ่งโฉบจับนกมูลไถอย่างรวดเร็ว นกมูลไถเมื่อถูกเหยี่ยวจับได้ก็รำพึงรำพันว่า “เราเป็นผู้อับโชค มีบุญน้อย ที่เที่ยวหากินในถิ่นของผู้อื่น อันไม่ใช่ถิ่นเรา ถ้าวันนี้เราเที่ยวหากินในถิ่นบิดามารดาของเรา เหยี่ยวตัวนี้คงจับเราไม่ได้ เราคงสู้ได้”

                ฝ่ายเหยี่ยวได้ยินดังนั้นจึงถามว่า “แน่ะนกมูลไถ ถิ่นบิดามารดาของเจ้า อันเป็นที่ทำมหากินของเจ้าเป็นยังไง นกมูลไถจึงตอบว่า “ที่ที่เป็นก้อนดิน ซึ่งเขา (ชาวนา) ไถไว้” เหยี่ยวเมื่อได้ยินดังนั้นจึงมีความหยิ่งในกำลังของตนอวดอ้างกำลังของตน จึงปล่อยนกมูลไถไปพร้อมกับบอกว่า “เจ้าจงลงไปเถิด ถึงเจ้าจะไปในถิ่นของเจ้าก็ไม่พ้นเราได้”

                ฝ่ายนกมูลไถเมื่อเหยี่ยวปล่อยแล้วได้บินไปยังที่ที่มีก้อนดิน ซึ่งชาวนาทำการไถไว้แล้วบินไปเกาะที่ก้อนดินก้อนใหญ่ยืนท้าเหยี่ยวว่า “แน่ะเหยี่ยว บัดนี้ท่านจงบินมาจับเราเถิด ฝ่ายเหยี่ยวได้ยินดังนั้นมีความหยิ่งในพละกำลังของตน จึงบินโฉบนกมูลไถอย่างรวดเร็ว

                ส่วนนกมูลไถซึ่งระวังตัวอยู่แล้วก็หลบเข้าซอกก้อนดินทันที  นกเหยี่ยวโฉบลงโดยไม่ทันระวังตัวอกได้กระแทกก้อนดินอย่างแรง ทำให้เหยี่ยวเสียชีวิตทันที

 

เรื่องนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสสอนพระภิกษุทั้งหลาย ดังนี้

                ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าเที่ยวไปในอารมณ์อื่น อันมิใช่โคจรของภิกษุ คือ อะไร คือ กามคุณ 5 กามคุณ 5 เป็นไฉน คือ รูปอันพึงรู้จักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้ด้วยหู ... กลิ่นที่พึงรู้ด้วยจมูก...รสที่พึงรู้ด้วยลิ้น...โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์อื่นมิใช่โคจรของภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในอารมณ์ ซึ่งเป็นของบิดาตน อันโคจร เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในอารมณ์  ซึ่งเป็นของบิดาตนอันเป็นโคจร มารจักไม่ได้ช่อง มารจักไม่ได้อารมณ์ ก็อารมณ์อันเป็นของบิดา อันเป็นโคจร คืออะไร คือสติปัฏฐาน 4 สติปัฏฐาน 4 เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อารมณ์ซึ่งเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ ฯ

 

ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา

                ศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่ควรทราบในชั้นนี้ คือ

 1. ตัณหา  หมายถึง ความทะยานอยาก ความดิ้นรน ความปรารถนา ความเสน่หา มี 3 อย่าง คือ

                กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่

                ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่น อย่างเป็นนี่

                วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่น ไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย

2. ฉันทะ หมายถึง ความพอใจ ความชอบใจ ความยินดี ความต้องการ ความรักใคร่ในสิ่งนั้น

หมายเลขบันทึก: 375931เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยินดีครับ....................

โค้งคำนับนั่งอ่านช่วยสานฝัน

สาระดีมีจุดเด่นเป็นสำคัญ

ชอบสร้างสรรค์เสพหาวิชาการ

ขยันเขียนเวียนหามาบันทึก

เริ่องไม่นึกก็ได้เห็นเป็นแก่นสาร

เกิดความคิดติดปัญญาพาเชี่ยวชาญ

ประสบการณ์พบเห็นเป็นบทเรียน

ธนา นนทพุทธ

จักสานอักษรกลอนคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท