พลังแห่งการเรียนรู้ ในการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย


การทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย

Routine to Research to Excellence

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ งานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) ปีที่ 2 ของโรงพยาบาลโพธาราม ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมนราทร มีบุคลากรทางการแพทย์สนใจเข้าร่วมประชุมมากมาย ประมาณเกือบ 100 ท่าน จากทุกสาขาวิชาชีพ ส่วนใหญ่เป็นพยาบาล >90 % ครั้งนี้ มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมเรียนรู้ด้วย ซึ่งมีความมุ่งมั่น  ทุกท่านมาพร้อมกับข้อมูลและความตั้งใจที่จะมารับความรู้ ความเข้าใจในการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัยได้อย่างไม่ยากนัก โดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สมชาติ โตรักษา จากภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญในเรื่อง R2R ทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการ ที่เป็นหลักฐานยืนยันในการพัฒนากระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยและให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งกับหน่วยงานและโรงพยาบาลของเรา

             ในปีนี้ ท่านผู้อำนวยการและท่านหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลของเราให้การสนับสนุนการสร้างผลงานวิชาการอย่างเต็มที่ ซึ่งถือเป็นกำลังใจสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดผลงานวิชาการที่มีคุณค่ามาก สำหรับองค์กรแห่งการเรียนรู้แห่งนี้ คาดว่าปีนี้โรงพยาบาลจะมีวารสารวิชาการที่มีผลงานของพวกเรามากยิ่งขึ้น และจะได้รับการเผยแพร่ต่อไป

การทำงานประจำให้เป็นผลงานทางวิชาการ

คือ กระบวนการ ที่ทำให้ “งานประจำ” เป็นผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง และ มีคุณค่ายิ่ง สำหรับหน่วยงาน องค์การ และ ประเทศชาติของเรา(สมชาติ โตรักษา)

 

การทำวิจัยเพื่อพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

คือ การวิจัยและพัฒนา ที่มุ่งเน้นให้ “งาน” ใดๆ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  (สมชาติ โตรักษา)          

การวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D)

            การวิจัย

          หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อค้นหาความจริง (Fact) ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด อย่างเป็นระบบ โดยผู้มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในเรื่องนั้น ด้วยหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์และยืนยันความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ค้นพบนั้นได้(สมชาติ โตรักษา)

          การพัฒนา

          หมายถึง การทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใด “ดีขึ้น” อย่างเป็นระบบ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ว่านี้ หมายรวมทั้งตัวผลผลิต (Product) การผลิต (Production) การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design) การผลิตต้นแบบ (Prototype) และ กระบวนการผลิตหรือกระบวนการทำงาน (Process) ด้วย(สมชาติ โตรักษา)

        

ดังนั้น การวิจัยและพัฒนา จึงหมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อค้นหาความจริง (Fact) ในเรื่องหนึ่งเรื่องใด อย่างเป็นระบบ โดยผู้มีความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีในเรื่องนั้น ด้วยหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถพิสูจน์และยืนยันความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ค้นพบนั้นได้ แล้วนำสิ่งที่ได้จากการวิจัยนั้น มาใช้ในการพัฒนาเรื่องที่วิจัยหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง ให้ดีขึ้นอย่างเป็นระบบในทันที (สมชาติ โตรักษา)

 แล้วเจอกันใหม่ ในบันทึกการเรียนรู้จาก การประชุม สวรส.

 

หมายเลขบันทึก: 375836เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 18:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ฝันกำลังเป็นจริง พยายามเข้าน่ะ ขอเอาใจช่วย!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

  • สวัสดีค่ะ
  • กำลังสนใจอยู่เหมือนกันค่ะ ความจริงก็สนใจมานาน แต่ไม่สำเร็จ ซักทีค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
โสภา ตั้งทีฆกูล ( พี่บ่ง วพบ ราชบุรี รุ่น 10 )

เป็นกําลังใจให้เหมือนกันนะจ๊ะ.....สู้ สู้ วันหลังพี่จะไปขอเรียนรุ้ มั่งนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท