WHAปี53 ( 7 )นำเสนอผลการเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก(WHA)ครั้งที่63/2553


16-7-53

วันนี้มีการประชุมโครงการWHAที่กองคลังซึ่งเป็นการประชุมหลังจากทีมของกรมคร.กลับจากเจนีวาและมีการนำเสนอในการประชุมกรมเรียบร้อยแล้วค่ะ   จะเป็นการสรุปให้คณะทำงานทราบและดำเนินการเตรียมตัวในการคัดเลือกทีมที่จะไปปีหน้าต่อไปค่ะ

คุณหมอนคร หัวหน้าทีมนำครั้งนี้ซึ่งต้องทำงานหนักมากๆเพราะเรื่องของWHAกรมเราเป็นเจ้าของเรื่อง13เรื่องจาก23เรื่องของประเทศไทย

ไปครั้งนี้มีนักทั้งบริหารและ นักวิชาการประมาณ53คน   วาระมากแต่เวลาน้อยลง

ครั้งนี้ทีมไทยไปช่วยร่าง international recruitment of health personnel ซึ่งเป็น WHO Global Code of Practiceหรือข้อปฏิบัติซึ่งตั้งใจจะทำมานานเนื่องจากมีปัญหาสมองไหลจากประเทศยากจนไปประเทศที่สามารถซื้อคนเก่งไปได้

 คุณปาจารีย์ เตยและพลอยจากกองการเจ้าหน้าที่และโครงการTalent

ดร. นลินีจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพไปนำเสนอเกี่ยวกับแอสเบสตอสซึ่งประเทศทีผู้มีผลประโยชน์เช่นรัสเซียออกมาคัดค้านให้ถอนข้อเสนอ

นพ.เศวตรสรร      เจ้าของweb WHA และอาจจะได้เป็นหัวหน้าทีมคนต่อไป

คุณบงกช  จากกองการเจ้าหน้าที่

หมอไพโรจน์จากสครซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางTB   มีคนมาตามหาเพื่อจะคุยและถาม   คุณหมอโชคดีที่รองสมศักดิ์มาช่วยตอบเพิ่มเติมช่วยคุณหมอได้

หมอนครสรุปผลและมอบให้คนต่อไปเป็นหัวหน้าที่แทนถึงแม้จะได้รับการยกมือให้อยู่ต่ออีกหนึ่งปีเพราะผลงานประทับใจทั้งฝรั่งและไทย   คุณหมอโดนแซวว่าฝรั่งมาประกบบนรถเมล์ค่ะ

หมอเศวตสรร เล่าเรื่องประสบการณ์   ประเทศอินเดียมีปัญหาเรื่องหัดทำให้ประกาศการควบคุมเรื่องหัดในปี2020

หมอไพโรจน์และผู้จัดการโครงการค่ะ      หมอกระซิบเรื่องงบประมาณของโครงการTMในปีต่อไป     คุณหมอโสภณน่าจะเป็นคนทำค่ะ

 

(ร่าง)รายงานการประชุมสรุปและนำเสนอข้อมูลหลังการเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 63  วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 ณ ห้องประชุมกองคลัง อาคาร 5 ชั้น 2

 ผู้เข้าร่วมประชุม 

1. แพทย์หญิงอัจฉรา    เชาวะวณิช        ผู้จัดการโครงการ Talent Management

2. นายแพทย์นคร   เปรมศรี   นายแพทย์ชำนาญการพิเศษสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

3. นายแพทย์เฉวตสรร  นามวาท  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา

4. นายแพทย์ไพโรจน์  เสาน่วม   นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ     สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์

5. ดร.นลินี   ศรีพวง  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

6. นางปาจารีย์   อัศวเสนา  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่

7. นางบงกช    กำพลนุรักษ์   นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่

8. นายธีรวิทย์       ตั้งจิตไพศาล  นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองการเจ้าหน้าที่

9. นายภิภพ     กัณฑ์ฉาย  เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์   กองการเจ้าหน้าที่

10. นางสาวดวงภาณิชา   สุขพัฒนนิกูล ผู้ประสานงานโครงการ Talent Management

11. นางสาวฐานีย์     อุทัศน์   ผู้ประสานงานโครงการ Talent Management

 เริ่มประชุมเวลา   13.45 น.

                ที่ประชุม ได้มอบหมายให้แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช ผู้จัดการโครงการ Talent Management          เป็นประธานในการประชุม และดำเนินการตามวาระดังนี้

 วาระที่ 1                เรื่องประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ ไม่มี                                                                                                                                                        /2…วาระที่ 2                เรื่องเพื่อพิจารณา 

 การนำเสนอข้อมูลหลังการเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 63นายแพทย์นคร เปรมศรี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้นำเสนอข้อมูลหลังการเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก (WHA) สมัยที่ 63 ดังต่อไปนี้

สมัชชาองค์การอนามัยโลกมีประเทศสมาชิก (Member state) จำนวน 193 ประเทศ ซึ่งมี WHO เป็นเลขานุการ และได้สรุปสาระสำคัญจากการประชุม World Health Assembly สำหรับผู้บริหารกรมควบคุมโรคตามเอกสารแนบท้าย 1 ซึ่งได้นำเสนอในที่ประชุมผู้บริหารกรมควบคุมโรคเรียบร้อยแล้ว และได้นำเสนอแนวทางการเรียนรู้ 5-Bullet lessons learned from WHA 63 ตามเอกสารแนบท้าย 2

สำหรับการพัฒนานโยบายสุขภาพระดับภูมิภาคและสากล 

1. ได้เครือข่ายในการทำงาน 2. จัดระบบสนับสนุนการทำงานระหว่างพี่เลี้ยงและคนรุ่นใหม่อย่างเหมาะสมและสามารถให้ข้อแนะนำระหว่างการประชุมได้  3. พัฒนากระบวนการพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการไทยให้เป็นระบบที่ดียิ่งขึ้น เช่นการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะสั้น ก่อนการประชม WHA เพื่อเรียนรู้ทั้งความสำคัญ ของการพัฒนานโยบายสุขภาพในระดับสากลและบทบาท วิธีการทำงานใน WHA  4. ขยายขอบเขตการพัฒนาศักยภาพคนรุ่นใหม่ให้ครอบคลุมทั้งการประชุม EB, WHA และ RC (Regional committee)

ข้อเสนอเพื่อพัฒนาทีมวิชาการไทย

 นายแพทย์นคร ให้ข้อเสนอในการพัฒนาในปีหน้า ดังนี้ 

1. ในแต่ละปีจะมีการประชุม Executive board (EB) จำนวน 2 ครั้ง ในเดือนมกราคม เน้นด้านวิชาการ และเดือนพฤษภาคม เป็นเรื่องเก็บตกระเบียบวาระอื่น ซึ่งเป็นการประชุมที่สำคัญ เพื่อเป็นการเตรียมวาระเข้าสู่การประชุม WHA ในเดือนพฤษภาคม 2553 เนื่องจากวาระการประชุมที่กรมควบคุมโรคได้รับมีหลายเรื่อง การไปเข้าร่วมประชุมเพียงคนเดียวจึงไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ครบถ้วน ดังนั้น จึงเสนอให้กรมฯ เตรียมงบประมาณเพื่อสนับสนุนผู้แทนที่จะไปเข้าร่วมประชุม Executive board (EB) จำนวน 2 คน (ส่วนกลาง 1 และส่วนภูมิภาค 1 

2. นายแพทย์นคร เปรมศรี ได้เสนอให้นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา เป็นหัวหน้าทีมในปีถัดไป (WHA สมัยที่ 64) และอาจจะให้นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ เข้าร่วมประชุมอีก 1 ครั้ง    (โดยให้ผู้บริหารพิจารณา)

 

นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา ได้นำเสนอเวปไซด์ที่จัดทำขึ้นสำหรับการเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก สมัยที่ 63 ตามเวปไซด์ http://sites.google.com/site/thaiwha2553/home ซึ่งประกอบด้วย WHA คืออะไร, หัวข้อประชุมด้านเทคนิค, สรุปผลการประชุม, คำแถลงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข, เล่าสู่กันฟัง เบื้องหลัง WHA 63, ผู้รับผิดชอบในแต่ละวาระในการประชุม ฯลฯ รวมทั้งรูปภาพและบรรยากาศในการประชุม เพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลในการเข้าร่วมประชุมสำหรับรุ่นต่อๆไป

นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท  ให้ข้อเสนอในการพัฒนาปีหน้า คือ ไม่ควรเปลี่ยนพี่เลี้ยงบ่อย

 

ดร.นลินี ศรีพวง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ นำเสนอเรื่องโรคจากการประกอบอาชีพฯ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ โดยได้เสนอท่าทีให้สมัชชาอนามัยโลกมีการจัดการสารเคมีที่เป็นโลหะหนักที่เป็นองค์ประกอบในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สารทำละลายอินทรีย์ และแอสเบสตอสซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดโรค Mesothelioma และ Lung Cancer ในมนุษย์ นอกจากนี้ยังได้เสนอให้ปรับแก้ไขและเพิ่มเติมข้อความใน EB126.R12 จำนวน 4 ข้อ คือ

1. เสนอให้มีการการประยุกต์ใช้วิธีการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นเครื่องมือสำคัญในดำเนินการด้านสุขภาพในการจัดการความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม

2. เสนอให้มีการจัดการด้านโครงสร้างทางกฎหมายในการห้ามนำเข้า ห้ามผลิตและการจำหน่ายแอสเบสตอสในกรณีที่สามารถใช้สารอื่นทดแทน

3. เสนอให้มีการเสริมสร้างองค์กรระดับพื้นที่ในการร่วมดำเนินการจัดการขยะอันตราย โดยใช้หลัก PPP

4. เสนอให้มีการพัฒนากระบวนการชั้นศาลทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยมีการจัดตั้งศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับกรณีความขัดแย้งระหว่างปัญหาสุขภาพ กับการจัดการขยะ

เรื่องเสนอแนะในปีถัดไป คือเห็นด้วยกับนายแพทย์เฉวตสรร ว่าไม่ควรเปลี่ยนพี่เลี้ยงบ่อยและควรเตรียมความพร้อมในการประชุมตลอดเวลา                                                                                  

นายแพทย์ไพโรจน์ เสาน่วม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์ เล่าว่า ในการเข้าร่วมประชุม ทำให้มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมประชุมวิชาการในระดับนานาชาติ และในหัวข้อวาระการประชุมที่ได้รับ คือ วัณโรค (Tuberculosis) จะมีในวาระการประชุมทุกปี

เรื่องเสนอแนะ ไม่ควรเปลี่ยนพี่เลี้ยงและนายแพทย์นคร เปรมศรี เป็น Role model ที่ดี ในการช่วยดู Resolution

มติที่ประชุม          รับทราบ

                               หลังจากนั้น แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช ผู้จัดการโครงการ Talent Management ได้กล่าวแสดงความยินดีกับทีมวิชาการกรมควบคุมโรคและกล่าวปิดการประชุม

 

 ดิฉันขออนุญาตนำข้อความที่อาจารย์วิจารณ์กล่าวถึงงานWHAและมีรายละเอียดมาให้อ่านประกอบค่ะ   ทีมกรมคร.ได้รับคำชมว่าเราเตรียมตัวดีค่ะ

 

P

Prof. Vicharn Panich
Academic
The Knowledge Management Institute

ทำงานวิชาการใน WHA


          WHA คือ World Health Assembly ขององค์การอนามัยโลก   คณะผู้แทนไทยทำงานวิชาการใน WHA 63 อย่างน่าชื่นชมมาก   โดยมีบันทึกไว้ที่นี่  

          ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ผมติดตามการทำงานของทีมไทยใน WHA พอๆ กับการติดตามสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศไทย   เรื่องแรกติดตามด้วยหัวใจพองโต   เรื่องหลังติดตามด้วยหัวใจหดหู่   แต่เดี่ยวนี้คิดใหม่ได้ มองเป็นโอกาสในการทำงานใหญ่ของบ้านเมือง ทั้ง ๒ เหตุการณ์ 

          การประชุม WHA ในสายตาของผม เป็นเวทีการเมืองระหว่างประเทศด้านสุขภาพก็ได้   เพราะเรื่องสุขภาพอาจมองผลที่ตัวสุขภาพของผู้คนก็ได้   มองผลที่ธุรกิจการค้าก็ได้   ๒ ขั้วนี้ทั้งสู้กันและพึ่งพาอาศัยกัน   เวที WHA เป็นที่หาจุดลงตัวให้เกิด win – win

          แต่ทีมไทยใน WHA เก่งขึ้นทุกปี   ใช้เวทีนี้เป็น “โรงเรียน” ฝึกวิทยายุทธของนักวิชาการสาธารณสุขไทย   ซึ่งทีมงานมาจากหลากหลายหน่วยงานมาก    และจริงๆ แล้ว virtual school นี้เกิดขึ้นก่อนวันประชุม WHA และหลังประชุม WHA   เพราะต้องมีการทำงานวิชาการ หรือทำการบ้านก่อนการประชุม   คือทำงานตลอดปีนั่นเอง    และการทำงานวิชาการผสมเรียนรู้นี้ ไม่ได้ใช้เฉพาะการวิจัย แต่ใช้เครื่องมือ KM ด้วย    เครื่องมือสำคัญที่สุดคือ AAR

          จึงนำมาบันทึกเผยแพร่ไว้   ผู้สนใจเข้าไปดูในเว็บไซต์ได้   ในนี้มีโจทย์วิจัยซ่อนอยู่มากมาย

 

วิจารณ์ พานิช
๙ มิ.ย. ๕๓

หมายเลขบันทึก: 375815เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นทุกคนมีความสุขจังเลย

ขอบคุณ คุณเบดูอินที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ งานนี้ไม่มีนาย ดิฉันให้น้องๆมาเล่าให้ฟัง ทุกคนไปทำผลงานที่เวทีโลกและได้รับคำชมมาเยอะ มีการพูดแต่เรื่องดีๆ ผลัดกันชมก็เลยหน้าบานกันหมดทุกคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท