บทความเรื่องผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจากหลากทัศนะ


บทความทางวิชาการ

เรื่อง  ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจากหลากทัศนะ(Existing Models of Transformational Leadership)

โดย  รศ.สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์

สรุป

                        จากผลงานวิจัยของบุคคลต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว แม้จะไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในตัวเองก็ตาม แต่ก็มีส่วนสำคัญยิ่งที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจที่แจ่มชัดเกี่ยวกับผู้นำเปลี่ยนสภาพได้ดีขึ้น สรุปการค้นพบที่สำคัญได้แก่ ผู้นำที่มีประสิทธิผลจะใช้พฤติกรรมที่หลากหลายในการก่อให้เกิดอิทธิพล เพื่อใช้ในการกระบวนการเปลี่ยนแปลงสำคัญในองค์การ ผู้นำเหล่านี้จะให้ความช่วยเหลือผู้ตามของตนในการตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ช่วยให้มองเห็นสิ่งที่เป็นโอกาสและสิ่งที่จะเป็นภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น และช่วยให้เข้าใจว่าเมื่อไรที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่เกิดขึ้นในองค์การ ผู้นำมีความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมกับสมาชิกภายในองค์การและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก ในการพัฒนาวิสัยทัศน์ให้มีความชัดเจนและน่าดึงดูดใจ รวมทั้งหากลยุทธ์ที่ดีในการบรรลุวิสัยทัศน์นั้น ด้วยการใช้การสื่อความหมายให้เห็นวิสัยทัศน์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การกระทำที่เป็นสัญลักษณ์ (symbolic action) และการทำตัวอย่างของบทบาท (role modeling) รวมทั้งการกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ และการเขียนข้อความหรือบทความที่เกี่ยวกับค่านิยม ผู้นำยังรู้จักใช้วิธีการเชิงการเมืองในการสร้างทีมผสมจากผู้สนับสนุนทั้งภายนอกและภายในซึ่งจะเป็นผู้มีส่วนให้ความเห็นชอบต่อการเปลี่ยนแปลงใหญ่นั้น มีการใช้อำนาจกับฝ่ายคัดค้านตรงกันข้ามบ้างเมื่อเห็นว่าไม่อาจเปลี่ยนให้มาเป็นฝ่ายสนับสนุนได้ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การและระบบบริหารแบบทางการ (เช่น กระบวนการจัดทรัพยากรและงบประมาณ ระบบการประเมินผลงานในการให้ความดีความชอบ เกณฑ์การคัดเลือกและแต่งตั้งบุคลากร โปรแกรมการพัฒนาฝึกอบรม เป็นต้น) ให้การสนับสนุนต่อกลยุทธ์ใหม่ มีการปรับรูปแบบและแนวคิดเชิงวัฒนธรรมใหม่ ให้การสนับสนุนอย่างเข้มแข็งต่อกระบวนการเลียนแบบทางสังคม (social identification) และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและความเชื่อภายในของบุคคลอย่างต่อเนื่อง ผู้นำจะแสดงพฤติกรรมด้วยการมอบอำนาจความรับผิดชอบการตัดสินใจ (empowering behaviors) ให้แก่บุคคลหรือทีมงานเพื่อใช้ในการดำเนินการไปสู่วิสัยทัศน์ตามจุดงานที่คนเหล่านั้นรับผิดชอบ ผู้นำจะใช้พฤติกรรมมุ่งพัฒนา (developing behaviors) (เช่นแสดงบทบาทเป็นครู พี่เลี้ยง หรือผู้ฝึกสอน) เพื่อเตรียมคนให้พร้อมที่จะรองรับภาระงานรับผิดชอบมากขึ้น และผู้นำยังใช้พฤติกรรมมุ่งการสนับสนุน (supporting behaviors) เพื่อรักษาระดับความกระตือรือร้นและระดับการใช้ความพยายามของผู้ตามในภาวะเมื่อเจออุปสรรค ความยากลำบากและสภาพอ่อนล้าต่าง ๆ ให้คืนสู่สภาพที่สมบูรณ์เป็นปกติต่อไป

               

 

หมายเลขบันทึก: 375669เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท