เครื่องมือและการจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือ
GEN. 7 เครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก
โรงพยาบาลกันทรารมย์
ได้จัดระบบเกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก
ภายใน
โรงพยาบาลอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน โดยในการจัดซื้อ จัดหา อ้างอิงตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 ซึ่งระบบภายในเบื้องต้นมีการจัดการดังนี้
1.หลักเกณฑ์และกลไกในการคัดเลือก/ประเมินเครื่องมือและอุปกรณ์
แนวทางในการรับและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุครุภัณฑ์
1.ฝ่าย/งานที่ขอจัดซื้อครุภัณฑ์ให้แต่งตั้งกรรมการตรวจรับมาพร้อมในบันทึกขออนุมัติ จำนวน 1-3 คน ตามจำนวนราคาการจัดซื้อ 2.การส่งพัสดุครุภัณฑ์การแพทย์ส่งที่คลังยา พัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน/อื่นๆส่งที่คลังพัสดุ(ข้างคลังยา)3.เจ้าหน้าที่ ที่รับสิ่งของ/ครุภัณฑ์ จะต้องลงรายละเอียดการรับในสมุดลงทะเบียนการรับตามรายละเอียดลักษณะสิ่งของ/ครุภัณฑ์ โดยละเอียด4.เจ้าหน้าที่ ที่รับต้องตรวจสอบครุภัณฑ์/สิ่งของ เปิดดู ตรวจสอบตามใบส่งของและประสานงานกับคณะกรรมการตรวจรับที่ฝ่ายแต่งตั้งขึ้น5. คณะกรรมการตรวจรับ จำนวน 1-3 คน ต้องลงลายมือชื่อรับสิ่งของ/ครุภัณฑ์ ขั้นต้นที่จุดรับสิ่งของ/ครุภัณฑ์ กรณีไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของ/ครุภัณฑ์ที่รับให้แจ้งเจ้าหน้าที่พัสดุ 6.เจ้าหน้าที่ ที่รับสิ่งของ พัสดุครุภัณฑ์ต้องส่งเอกสาร/ใบส่งของ/ใบแจ้งหนี้/เอกสารประกอบอื่นๆให้กับเจ้าหน้าที่พัสดุ 7.เจ้าหน้าที่พัสดุจะต้องดำเนินการจัดทำเอกสารจัดซื้อจัดจ้างให้แล้วเสร็จ ภายใน 15 วัน -คณะกรรมการตรวจรับในเอกสารจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ชิ้นนั้นๆต้องเป็นคณะกรรมการตรวจรับสิ่งของ/ครุภัณฑ์ ที่ลงลายมือชื่อในเอกสารการรับในครั้งแรก(ลายมือชื่อในตรายางประทับ) -งานการเงินรับเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างพร้อมจ่ายตามรายละเอียดงานการเงิน เก็บข้อมูลสิ่งของ/ครุภัณฑ์ตามรายละเอียดทะเบียนครุภัณฑ์ ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานทะเบียนครุภัณฑ์ ลงข้อมูล 8.ฝ่าย/งานที่รับครุภัณฑ์ต้องลงลายมือชื่อรับสิ่งของ/ครุภัณฑ์ และลงทะเบียนครุภัณฑ์ เป็นทะเบียนประจำฝ่าย/งาน
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับคณะกรรมการตรวจรับ
(ประจำฝ่าย/งาน)
1.กรรมการหนึ่งในสามควรมีประสบการณ์/มีอาวุโส/มีความรับผิดชอบโดยตรง 2.กรรมการหนึ่งในสามควรเป็นผู้ขออนุมัติซื้อ/มีความต้องการครุภัณฑ์นั้นๆ 3.กรรมการหนึ่งในสามควรเป็นผู้มีความรู้ความใจในลักษณะคุณสมบัติของครุภัณฑ์นั้นๆ 4.การแต่งตั้งอาจน้อยกว่า 3 คนก็ได้หากราคาไม่เกิน 10,000 บาท
3.การสำรองเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ เครื่องมือที่ใช้งานประจำและอาจเกิดปัญหาความไม่เพียงพอต่อการให้บริการ 1.ประเภทช่วยชีวิต เช่น เครื่องช่วยหายใจ , เครื่องกระตุกหัวใจ 2.ประเภทรักษา เช่น เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือด 3.ประเภทวินิจฉัย เช่น เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง 4.ประเภทสนับสนุน เช่น รถยนต์รับส่งผู้ป่วย โดยปกติการใช้งานสำหรับเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ โรงพยาบาลกันทรารมย์ได้ดำเนินการ จัดซื้อ จัดหาตามความต้องการของฝ่าย/งาน ต่อการให้บริการผู้ป่วยอย่างเพียงพอ แต่หากไม่เพียงพอใช้งานเฉพาะจุดสามารถยืมเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ ระหว่างฝ่าย/งานภายในโรงพยาบาลได้หรือหากไม่มีเครื่องมือที่ใช้งานภายในโรงพยาบาล สามารถยืมจากโรงพยาบาลใกล้เคียงหรือดำเนินการส่งต่อการรักษาพยาบาลยังหน่วยงานที่เหมาะสมต่อไป 4.การบำรุงรักษาเครื่องมือ โรงพยาบาลกันทรารมย์ มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้งานประจำให้บริการแก่ผู้ป่วยจำนวนมากพอสมควรทั้งที่เครื่องมือที่ได้รับการจัดซื้อ จัดหามาใหม่และมีอายุการใช้งานมานานพอสมควร แต่ด้วยการดูแล บำรุง รักษาจากผู้ใช้งานและเจ้าหน้าที่งานซ่อมบำรุงทำให้เครื่องมือพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา โดยที่การบำรุงรักษาได้ดำเนินการในลักษณะการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน มีการตรวจสอบ บำรุงรักษาเป็นประจำแม้เครื่องมือนั้นๆจะไม่ได้ชำรุด ปัญหาการชำรุดของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ -เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ทักษะในการใช้งานและการดูแลบำรุงรักษาจากผู้ใช้งาน -มีการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน -ขาดการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการแก้ไข -จัดให้มีการบำรุงรักษาเครื่องมือและสอบเทียบเครื่องมือ เป็นประจำทุกปี -จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมเพิ่มพูนทักษะ เกี่ยวกับการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือทางการแพทย์ -จัดให้มีเครื่องมือที่เพียงพอและเหมาะสมกับภาระงาน -จัดให้มีเครื่องสำรองไฟฟ้าสำหรับเครื่องมือทางการแพทย์
แนวทางในการแสดงความต้องการขออนุมัติซื้อครุภัณฑ์รอบปีงบประมาณ
1.การขออนุมัติซื้อครุภัณฑ์การแพทย์/สำนักงานจะต้องผ่านคณะกรรมการประสานงานด้านพัสดุ 2.คณะกรรมการประสานงานด้านพัสดุจะมีการพิจารณาการจัดซื้อครุภัณฑ์การแพทย์/สำนักงาน จำนวน 2 ครั้ง / รอบปีงบประมาณ (ประมาณเดือนมีนาคมและเดือนกันยายน) 3.รายการครุภัณฑ์ที่ผ่านการคัดสรร กลั่นกรองแล้ว จะต้องนำเสนอคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลและผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิจารณาตามลำดับ 4.ฝ่ายงานที่ขอผู้อนุมัติควรมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับครุภัณฑ์ที่ต้องการ(ถ้ามี)รวมทั้งข้อมูลครุภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องในฝ่าย/งานประกอบการพิจารณา(ถ้ามีการขอข้อมูลเพิ่มเติม) 5.คณะกรรมตรวจรับต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ แนวทางในการรับและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุครุภัณฑ์6.การพิจารณาการจัดสรร คัดกรองครุภัณฑ์ ตามที่ฝ่าย/งานต่างๆเสนอจะพิจารณา 2 รอบ/ปีงบประมาณ โดยครั้งที่ 1 ประมาณก่อนวันที่ 15 ตุลาคม และครั้งที่ 2 ประมาณก่อนวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี โดยที่รายละเอียดเมื่อผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการประสานงานด้านพัสดุแล้วนำข้อมูลเสนอต่อคณะกรรมการบริหารงานโรงพยาบาลต่อไปตามลำดับ(ผังระบบการดำเนินการพัสดุ)
2.การทบทวนความรู้เกี่ยวเครื่องมือและการใช้เครื่องมือ โรงพยาบาลกันทรารมย์ได้ดำเนินการอบรม สาธิต แนะนำวิธีการใช้งานและบำรุงรักษาแก่เจาหน้าที่ของโรงพยาบาลตามลักษณะความจำเป็นและชนิดของเครื่องมือที่มีการใช้ประจำในโรงพยาบาล อีกทั้งได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ดังนี้หลักสูตร | ผู้เข้ารับการอบรม | ระยะเวลา |
วิศวกรรมความปลอดภัยและการจัดการความเสี่ยง | 40คน | 1วัน |
การซ่อมบำรุงเบื้องต้น | 35คน | 2วัน |
การใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์(เอ๊กซ์เรย์) | 2คน | 3วัน |
การสอบเทียบเครื่องมือทางการแพทย์ | 2คน | 3วัน |
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย โรงพยาบาล กันทรารมย์ . ใน โรงพยาบาลกันทรารมย์
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก