หลากชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ


หลากชีวิตที่ออกมาอยู่ที่ถนน หรือตามสวนสาธารณะ เป็นเพียงปลายเหตุของปัญหา แต่สังคมยังเข้าใจแบบผิด ๆ ที่ว่าคนที่มาอยู่บนถนนนั้น เป็นเพียงปัญหาเศรษฐกิจ แค่หาบ้าน หางานให้ก็จบ ถ้ามันใช่การแก้ปัญหาจริง ๆ ทุกวันนี้ก็คงไม่ต้องมีคนออ กมาอยู่ที่ถนน ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวันหรอกค่ะ (สำหรับคนที่คิดเพียงแค่นี้) ปัญหาของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ไม่ใช่แค่ปัญหาเศรษฐกิจ แต่มีปัญหามากมาย หลาย ๆ อย่างในหนึ่งชีวิต ที่สามารถทำให้คนเหล่านั้น ออกมาแสวงหาทางออกด้วยการออกมาเป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ

เมื่อกล่าวถึงผู้ใช้ชีวิตใน ที่สาธารณะ หลาย ๆ คน ยังคงไม่คุ้นชินกับคำ ๆ นี้ เพราะเป็นนิยามที่อิสรชน ใช้เรียก คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน ผู้ป่วยข้างถนน ทุกชีวิตที่อยู่บนถนนและที่ สาธารณะ ว่า ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ เพราะคนเร่ร่อน หรือคำว่า คนไร้บ้านเอง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผู้ใช ้ชีวิตในที่สาธารณะ ไม่ได้ครอบคลุมหมด เพราะยังมีผู้ป่วยบนถนน ที่เราจะพบเห็น คนแต่งตัวมอมแมม หัวฟู ๆ เดินตามถนนทุกสายในประเทศไท ย พูดคนเดียวบ้าง นี้แหละ คือผู้ป่วยที่สังคมต้องช่วย กันทำความเข้ใจว่าเขาเป็นผู ้ป่วย ที่ต้องได้รับการรักษา


หลากชีวิตที่ออกมาอยู่ที่ถนน หรือตามสวนสาธารณะ เป็นเพียงปลายเหตุของปัญหา แต่สังคมยังเข้าใจแบบผิด ๆ ที่ว่าคนที่มาอยู่บนถนนนั้น เป็นเพียงปัญหาเศรษฐกิจ แค่หาบ้าน หางานให้ก็จบ ถ้ามันใช่การแก้ปัญหาจริง ๆ ทุกวันนี้ก็คงไม่ต้องมีคนออ กมาอยู่ที่ถนน ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกว ันหรอกค่ะ (สำหรับคนที่คิดเพียงแค่นี้ ) ปัญหาของผู้ใช้ชีวิตในที่สา ธารณะ ไม่ใช่แค่ปัญหาเศรษฐกิจ แต่มีปัญหามากมาย หลาย ๆ อย่างในหนึ่งชีวิต ที่สามารถทำให้คนเหล่านั้น ออกมาแสวงหาทางออกด้วยการออ กมาเป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธ ารณะ


ที่อิสรชนกล้ากล่าวเช่นนี้เพราะจากการลงพื้นที่ ทำงานกับคนเหล่านี้มากว่า 10 ปี การไปเยี่ยมบ้าน การเข้าไปสัมผัสกับครอบครัว หรือชุมชน นั้น คนบางคนรวยกว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเสียอีก ชีวิตคนเหล่านี้ยิ่งกว่านิยาย บางคนมีที่ดิน 100 กว่าไร่ แต่ออกมาเร่ร่อน กว่า 30 ปี ฟังเรื่องตอนแรกก็จะถามว่า มีจริงด้วยหรือ แต่ที่ทำให้คนทำงานอึ้งไปเลย คือเมื่อเราตัดสินใจเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวที่คนคนนี้ให้ที่อยู่ไว้ ทีมงานได้แต่อึ้งกัน เขาไม่ใช่คนจน แต่เขาออกจากบ้านด้วยปัญหาภายในครอบครัว การแย่งชิงมรดกกันเอง ทำให้คนคนหนึ่งสูญหาย แต่ ณ วันนี้ เขาคนนี้ได้กลับไปมีตัวตนอีกครั้งและไม่ได้อยู่ที่สนามหลวงแล้ว ไปมีชีวิตครอบครัว คนทำงานเป็นเพียงผู้เข้าไปคลี่คลายปมเล็ก ๆ ที่มันพันธ์กันอยู่ ให้มันคลายตัว


หรืออย่าง Case ล่าสุด ที่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาได้ไปเยี่ยมบ้านลุงแกมา หลังจากที่ผ่านการพูดคุยกับแกมาก่อนหน้านี้ประมาณ 1 ปี ลุงอายุ 64 ปี ที่มานอนที่ริมคลองหลอด สนามหลวง มีอาการเริ่มต้นของคนเป็น อัลไซเมอร์ บางครั้งคุยวนอยู่แต่เรื่องเดิม ๆ แกให้ชื่อแรกว่าลุงสมศักดิ์ เจริญเนติ ทีมงานก็ไปหาในเว็บไม่มีชื่อนี้ ก็พยายามถามถึงเรื่องราวของลุงมาโดยตลอดที่ลงพื้นที่ อาสาสมัครผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าไปคุยกับลุง จนเกิดความผูกพัน วันหนึ่งแกหายไปหลังจากเกิดเหตุ เดือน พฤษภาคม และมีแถวคลองหลอดบอกว่า มีลุงที่ลักษณะคล้าย ๆ แก มีรถปอเต็กตึ้ง มาเก็บไป ทำให้คนทำงานเข้าใจว่าเป้ฯแกหรือเปล่า เพราะโดยปกติแกจะมาหาเราที่รถทุกวันที่เราไปจอดรถที่คลองหลอด แต่นี้แกหลายไปเกือบครึ่งเดือน ทำให้อาสาสมัครสอง คนถึงกับน้ำตาไหล เพราะคิดว่าแกเสียชีวิตหรือเปล่า พยายามจะไปหาตาม สุสาน ก็ไม่ได้ข่าว จนแกมาปรากฏตัวอีกครั้งพร้อมถุงยา ที่ทำให้เรารู้ว่า แกชื่อ อีกชื่อหนึ่ง ชื่อสมศักดิ์นั้นเป็นชื่อใครไม่รู้ สุดท้ายแกยอมเอาบัตรประชาชนให้ดู จึงไปหาญาติแกที่บ้าน เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับพี่สาว เพราะตัวลุงไม่มีครอบครัว แกจะกลับมาเอาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุทุกเดือน แต่ไม่อยู่บ้าน (เพราะสาเหตุอะไร ยังคงต้องค้นหาเพื่อ ปลดล็อคให้แกกลับสู่ครอบครัว) ครอบครัวพอมีฐานะ พี่น้องเลี้ยงดูได้ แต่แกไม่ยอมอยู่ที่บ้าน คนในชุมชน บางคนก็ว่าแกสติไม่ดีบ้าง ซึ่งนี้เป็นเพียงข้อมูลในการทำงานที่เป็นเริ่มแรกจากสภาพแวดล้อมในชุมชนและครอบครัวของแก ยังคงต้องหาสาเหตุ ที่ทำให้แกออกมาอยู่ที่ถนน


แต่จากการลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวมานี่ ทุก Case ที่อิสรชนำไปเยี่ยมครอบครัว กลับพบว่า เขาไม่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาคือ ครอบครัว การไม่เข้าใจกันในครอบครัว การดกทับกันในครอบครัว ระหว่างพี่น้อง ที่คนหนึ่งมีงานมีการ คนหนึ่งยังไม่มีหลักแหล่ง เป็นการกดทับกันโดยไม่รู้ตัว มีมีการพูดคุยกันในยามที่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นภายในครอบครัว ที่หลายครอบครัวมองความ เรื่องความรู้สึก เรื่องการกระทำ จนทำให้มันเกิดการสะสม และระเบิดออกมา เมื่อมีคนใดคนหนึ่งออกมาจากครอบครัว แล้วครอบครัวเองก็ไม่ได้ให้ความสนใจ ไม่ติดตาม หรือบางทีติดตามกันแต่ไม่พบ ปัจจัยหลักของคนเหล่านี้ อยู่ที่ภาวะจิตใจ เขาต้องการคนที่เข้าใจ คนที่ฟังเขา เพราะฉะนั้น การทำงานอิสรชน จึงเป็นการชวนให้สังคมมองเห็นคนเหล่านี้ ด้วยใจ มองอย่างเป็นมิตร แล้วการช่วยเหลือจะตามมา

เขียนและเรียบเรียง : อัจฉรา สรวารี
หมายเลขบันทึก: 374431เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท