มนุษยสัมพันธ์


มนุษยสัมพันธ์ในสังคมไทย
  •  
    •  
      •  
        •  
          • มนุษยสัมพันธ์ในสังคมไทย
  • มนุษยสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับมนุษย์ทุกคนในสังคมการมีมนุษยสัมพันธ์ เป็นปัจจัยความสามารถในด้านหนึ่งที่ทำให้การทำงานประสบผลสำเร็จ
  • มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การสร้างความเป็นมิตรหรือความสัมพันธ์เชิงบวกกับบุคคลอื่นโดยการเริ่มต้นทักทาย การสนับสนุนและช่วยเหลือ การรักษาและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลรวมทั้งการให้เกียรติบุคคลอื่น โดยทั่วไปบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีมักจะมีคนอยากเข้ามาหา มาพูดคุยปรึกษาหารือด้วย และที่สำคัญจะได้รับความช่วยเหลือ ความร่วมมือในการทำงาน
  • เทคนิคในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

        จำชื่อของผู้อื่นให้ถูกต้อง     

        ฝึกตนที่จะชอบผู้อื่นและเป็นมิตรกับทุกคน 

        พึงเคารพนับถือผู้อื่น 

        ขจัดความขุ่นข้องหมองใจที่เกิดขึ้นด้วยความคิดในแง่ดี 

        ทำตัวให้เข้ากับใคร ๆ ได้

        รู้จักแสดงความยินดีและสรรเสริญผู้อื่น

        รู้จักกระทำตนให้ผ่อนคลายความเครียดทั้งกายและใจ

        พึงสนใจคนอื่น

        รู้จักพิจารณาความผิดของตนและแก้ไข

        ยิ้มเสมอ 

        เป็นผู้ฟังที่ดี

  • ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการมีมนุษยสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากในการทำงานในทุก ๆสังคม เพราะการมีมนุษยสัมพันธ์จะส่งผลให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับมนุษยสัมพันธ์เป็นสำคัญด้วย
  • ดังนั้นบุคคลทุกคนจึงควรสร้างสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นกับตนเองและปฏิบัติอยู่เสมอๆ จนเป็นนิสัยก็จะประสบความสำเร็จในชีวิตครอบครัว การทำงาน และในสังคมต่าง ๆได้อย่างไม่ยากนัก
คำสำคัญ (Tags): #มนุษยสัมพันธ์
หมายเลขบันทึก: 374366เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณสุภาพร ผมคิดว่าการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นมีแต่เรานั้นได้กำไรเพราะการเป็นมิตรที่ดีย่อมมีประโยชน์กับตนเองอย่างแน่นอนแต่เราก็ต้องคบมิตรที่ดีด้วยดั่งคำกลอนที่ว่า

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคา
ใบก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง
คือคนหมู่ไปหา คบเพื่อน พาลนา
ได้แต่ร้ายร้ายฟุ้ง เฟื่องให้เสียพงศ์

ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา
หอมระรวยรสพา เพริศด้วย
คือคนเสพเสน่หา นักปราชญ์
ความสุขซาบฤาม้วย ดุจไม้กลิ่นหอม

สวัสดีค่ะ คุณอาณัฐ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นนะค่ะ

บทกลอนที่คุณอาณัฐได้นำมาเปรียบเทียบนั้น

เป็นบทกลอนทีดีและเข้าใจง่าย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท