งานวิจัยเชิงคุณภาพ :การจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ Microsoft Office


การจัดการข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ Microsoft Office

   คอมพิวเตอร์ช่วยจัดเรียงข้อมูล ให้เราสามารถกลับไปค้นหาได้เร็วขึ้น ดังนั้นขอให้ยึดหลัก มิใช่ติดหลัก

การอ่าน เพื่อหา Theme

   เป็นการอ่านเพื่อสรุปเป็นหัวเรื่องว่า เป็นประเด็นอะไร มันเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง ดังนั้นต้องเห็นความเป็นทั้งหมดก่อนจึงกำหนดได้ (การอ่านต้องปลีกวิเวก แล้วค่อยรวบรวม )

   Foot Note เฉพาะข้อ 2,3 เป็นการ Remind งานในการบันทึก Field Note นั้นๆ

   การอ่านใส่ Code เป็นการอ่านเพื่อค้นหาข้อความที่มีความหมายเทียบเคียงกับคำจำกัดความที่กำหนดไว้ การตัดข้อความเพื่อใส่รหัสนั้นต้องมีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน หากข้อความนั้นมันแย้งในทีก็ให้แยกออกจากกันแล้วจึงใส่รหัส(เดียวกัน)

ข้อตกลงในการบันทึกfield note โดย Microsoft word

   การพิมพ์ในแต่ละย่อหน้าให้เป็นการพูดของแต่ละครั้งของการพูด

   ห้าม ใช้ปุ่ม tab ในการใช้เว้นวรรค หรือใช้สัญลักษณ์ใดๆ(เช่น , ; : “  ” ) ในการคั่นข้อความ ให้ใช้เฉพาะ การเคาะ Space bar เท่านั้น

   หากมีตามข้อที่แล้ว ให้แก้ไขก่อนนำเข้าข้อมูล

   หรืออาจตรวจสอบโดยการนำเข้าก่อนแล้วกลับมาแก้ไขภายหลังก็ได้ โดย กดปุ่ม “¶” จะปรากฏมีลูกศร หากมีการกด tab หรือมี ¶ ท้ายข้อความที่กดEnter วิธีแก้ไขให้ใช้วิธีดึงข้อความให้เลื่อนไปข้างหน้าโดยใช้ปุ่ม Delete ไม่ควรแก้ไขใน Excel

ขั้นตอนการใส่ Code ในโปรแกรมWord

   ให้Copy File ต้นฉบับมาไว้ที่ Folder ใหม่ แล้วให้เปลี่ยนชื่อให้ตรงกับตารางที่กำหนด

   เปิดไฟล์ที่เปลี่ยนชื่อใหม่ และไปยัง Quotation ที่ต้องการใส่ Code

   หาก Quotation ที่ต้องการอยู่ในหลายย่อหน้า เช่น ต้องนำคำถามมาใช้เป็น Quotation ให้รวมข้อความเหล่านั้นมาอยู่ในย่อหน้าเดียวกัน

   เติม Code ใส่ท้าย Quotation และใส่ ;(Semi-colon) หน้า Code นั้นๆ

   แยกQuotation นั้นออกเป็นย่อหน้าต่างหาก ทำไปจนสิ้นสุดของแต่ละไฟล์

   Save as เป็นไฟล์ ชื่อใหม่ เช่น A1-2 , A2-2 , B1-2 เป็นต้น

หลักสำคัญของการตัดคำ

   ให้พิจารณาดูว่า คำที่ตัดออกไปนั้น เมื่อตัดออกไปแล้วเป็นเศษกระดาษมีเพียงข้อความที่ตัดออกไป แล้วมีคนอื่นไปอ่านแล้วรู้เรื่อง ดังนั้นบางข้อความหากมีเฉพาะคำตอบด้วนๆ ก็ให้คัดลอกคำถามนำมาใส่หน้า ข้อความที่ตัดด้วย

เช่น A ใครเลี้ยงดูเด็กเป็นส่วนใหญ่

      B ไม่ฉันก็เป็นตามัน

ควรตัดข้อความ เป็นดังนี้

A ใครเลี้ยงดูเด็กเป็นส่วนใหญ่ B ไม่ฉันก็เป็นตามัน

    การตัดความขอให้คำนึงถึงเนื้อหาเดิม อยากเลือกมารวมกันโดยไม่คำนึงถึงคำถาม

   กรณี ข้อเสนอแนะท้าย Field Note ขอให้ รวบให้อยู่ในย่อหน้าเดียวกัน เช่น

  2. ข้อมูลที่ได้โดยสรุป

      ครอบครัวโดยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย อยู่กันประมาณ 5-6 คน คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยแยกครอบครัวเพราะมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจเพราะต้องใช้ค่าใช่จ่ายในการสร้างบ้านสูง อาชีพหลักได้แก่ทำสวนยางพารา

ให้ปรับ เป็นดังนี้

2. ข้อมูลที่ได้โดยสรุป ครอบครัวโดยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย อยู่กันประมาณ 5-6 คน คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยแยกครอบครัวเพราะมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจเพราะต้องใช้ค่าใช่จ่ายในการสร้างบ้านสูง อาชีพหลักได้แก่ทำสวนยางพารา; MEMO2

   กรณี เห็นว่า ในข้อความเดียว ควรมี Code 2 ตัวขอให้กลับไปอ่าน นิยามของ Code นั้นอย่างใคร่ครวญและพินิจพิจารณาว่าเป็นอย่างไร ข้อความนั้นสมควรใส่ Code ใด หนึ่งข้อความไม่ควรใส่ Code ได้ 2 ตัว

            นอกเหนือจากข้อความดังกล่าวหรือบางส่วนของข้อความนั้นเป็นส่วนหนึ่งของข้อความอื่นแล้วประกอบกันเป็นและให้ความหมายใน Code ใหม่ดังที่กล่าวมาแล้ว

   หากอ่านแล้วในข้อความในแถวนั้นอาจมี 3 ความหมาย ต้องแบ่งซอยออกมา เป็น 3 ความหมาย สร้างเส้นแบ่งเซลล์ใหม่

   ควรกลับไปอ่าน Foot note และสรุปประจำวัน และควรอ่านทั้งหมด (ทุกวัน) เพราะจะเห็นภาพความเป็นทั้งหมด แล้วเข้าไปสู่ Field Note อ่านจนซึมเข้าไป แล้วจึง Label Code

   ควรรู้จักเลือก อย่าลืมกลับไปถาม วัตถุประสงค์การวิจัย นิยามการทำวิจัย อันไหนไม่เกี่ยวข้องก็ไม่ควรเสียดาย กลับไปทบทวนอีกครั้ง กับ Foot Note และ บันทึกประจำวัน เพื่อให้เห็นความเป็นไปของข้อมูล (ร่างคร่าวๆของ Statement)

 

หมายเลขบันทึก: 374014เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท