งานวิจัยเชิงคุณภาพ:การจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ


สรุปการจัดการข้อมูลเชิงคุรภาพช่วงเช้า

การจัดการข้อมูลเชิงคุณภาพ

สุพัฒน์ สมจิตรสกุล

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

   การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework )

   การบันทึกในสนาม (Field Note)

   การอ่านข้อความที่บันทึก (Text)

   การสร้างระบบรหัสเพื่อจำแนกข้อมูล

   การจัดแสดงข้อมูล (Data Display) และการลดขนาดข้อมูล (Data Reduction)

   การสร้างบทสรุปของข้อมูล (Data Conclusion drawing) และการตรวจสอบความถูกต้อง (Verification)

   การอธิบายความหมายของข้อค้นพบ (Finding interpretation)

กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

   การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย (Conceptual Framework ) ที่มาจากการศึกษาบริบท แต่ไม่ตายตัว ตัวแปรสามารถเพิ่มลดได้ขณะการวิจัย ตัวแปรเหล่านั้นมิได้นำไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติ เป็นจุดเริ่มต้นในการทำงาน เวลาเราไปทำงานจริง เราอาจค้นพบว่า กรอบแนวคิดอาจต้องปรับลดหรือเพิ่ม เพื่อมีการเก็บข้อมูลได้เที่ยงตรงมากยิ่งขึ้น

   ต้องเข้าใจว่า การวิจัยเชิงคุณภาพ กรอบแนวคิดเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัย สามารถปรับเปลี่ยนได้

การบันทึกในสนาม(Foot note)

   บันทึกในสนามจึงต้องละเอียด แม้ว่าเราจะออกแบบตารางแต่ไม่ตายตัว อาจมีเพิ่มปรับได้ นำไปสู่ความชัดเจน

   การบันทึกต้องอย่างชัดเจน หากมีความเห็นควรแยกออกต่างหาก เก็บไว้ใน Footnote การมีความคิดเห็น(สมมติฐานเบื้องต้น)เป็นความจำเป็น ทำให้ให้Form ความคิดเห็นเป็นระบบ และจะสามารถ Recall ขณะวิเคราะห์ข้อมูล

   การบันทึกในสนาม มิใช่การเก็บเฉพาะขณะเก็บข้อมูล แต่ต้องบันทึกทั้งหมด แม้แต่ในการประชุมหลังจากเก็บข้อมูล การให้ความเห็นขณะนำเสนอข้อมูล

   สิ่งที่บันทึก เรียกว่า Text (ข้อความที่บันทึก) เช่น ข้อความที่พูดและบันทึกไว้ในสื่อต่างๆ ข้อความนั้นอาจมาจากสภาพการณ์ต่างๆ ได้ เช่น การพูด เราต้องนำ Text มาวิเคราะห์ ดังนั้นการบันทึกข้อความต้องเที่ยงตรง

   นำมาจากประสาทสัมผัสทั้งห้าที่ไปสัมผัสข้อมูล เช่น เสียงที่ได้ยินเราก็บันทึกตามเสียงที่ได้ยิน มิใช่บันทึกตามที่เราให้ค่า มิใช่มีเพียง FGD IDI

การอ่านข้อความที่บันทึก(Text)

   การอ่านเป็นสิ่งสำคัญมาก อ่านให้เกิดการเรียนรู้(สำคัญมากสำหรับ) อ่านให้เห็นลึกลงไปจากตัวหนังสือที่เห็น และเห็นตามความเป็นจริงของข้อมูลที่บันทึก มีความหมายที่ลึกซ่อนอยู่ภายใต้นั้น

   จึงอ่านให้จับประเด็นให้ได้ เพื่อนำไปสร้างรหัส (มีที่มา 2 แบบ

–    สร้างมาก่อน (มาจาก Conceptual framework) มาจากข้อมูลที่จริงที่เจอ มาจาก Topic หรือ Main Question )

–    สร้างรหัสตามข้อมูล

–    ความหมายอาจชัดเจนขึ้น เราอาจไปปรับนิยามให้คมมากยิ่งขึ้น

   หากต้องกลับไปทำ จำเป็นต้องอ่านให้เห็นทั้งหมด เห็นภาพรวมของข้อมูล

   หากคิดว่า สมบูรณ์แล้วจึงอาจแล้ว Label ข้อความ โดยใช้รหัส โดยใช้คู่มือรหัส โดยมีบันทึกรหัส (เพื่อให้เห็นการปรับเปลี่ยน ขยายความ หรือเพิ่มรหัส ) เพื่อสามารถใช้ให้เป็นปัจจุบัน และเห็นความเป็นมา การอ่านต้องเป็น Close Reading อ่านไปเหลือบดูคู่มือไป

   การให้ Label รหัส ทุกประโยคมิจำเป็นต้องใส่ Code ทุกข้อความไป

   การ Label รหัสอย่าให้สั้นเกินไป ให้ยกมาให้เห็นความสมบูรณ์ของมันเอง และหากอยู่ในข้อความที่ติดกัน ก็จำเป็นต้องใส่รหัสในข้อความนั้นเพิ่มเติม

   หากไม่แน่ใจ Read and Re-read ไม่ใช่ Read and DELETE

   หลังจาก Label Code แล้วนำมาจัดเรียง ให้อ่านในข้อความทั้งหมดใน Code เดียวกันทั้งหมดเพื่อเอาข้อความย่อยๆเหล่านี้ เพื่อนำข้อความเหล่านี้มาเป็น Subset ในCodeเดียวกัน เช่น Code A จะมีข้อความที่เป็นกลุ่มๆใน Code A อาจเป็น A1 A2

หมายเลขบันทึก: 374002เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท