ความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้(3)


 M-Learning การเรียนรู้ผ่านโทรศัทพ์มือถือ

 

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

 

1. m-learning :   Mobile Learning

 

           เป็นการเรียนรู้ผ่านทางโทรศัพท์ โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย พกพาสะดวกและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในทุกสถานที่ ทุกเวลา

2. m-learning :  Wieless Learning

 

           เป็นการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือไร้สาย เครื่องมือไร้สายเป็นที่นิยมในการพกพา 

          การเรียนรู้ทั้งสองแบบนี้สามารถใช้แทนการได้ในการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ แต่มักจะได้ยินคำว่า m-learning

นิยาม : 1 

ความสามารถทำกิจกรรมทางการศึกษาโดยปราศจากสถานที่ทางกายภาพ อาจเกิดนอกชั้นเรียนในสถานที่ต่าง ๆ

 - เรียนจากหนังสือ  สามารถพกพาไปอ่านได้ทุกสถานที่

- ทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ

- สถานที่ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ

- บุคคล วิทยากรท้องถิ่นต่าง ๆ ผู้รู้ที่สามารถไปศึกษาได้  

   นิยาม : 2

     เป็นอุปกรณ์พกพาที่สะดวก เป็นอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา บางครั้งเล็กพอที่จะพอสำหรับฝ่ามือ     อุปกรณ์ในโทรศัพท์มือถือมีความสามารถที่จะทำสิ่งต่าง ๆได้ เช่น

- การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

- หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

- เว็ปต่างๆ

- ฟังเพลง  mp3 และอื่นๆ

- เล่นภาพยนตร์

- เป็นเครื่องมือนัดหมายได้

- เป็นกล้อง

- เล่นวีดิทัศน์

- โทรศัพท์

-บอกทิศทางได้  ตำแหน่งที่อยู่ได้

m-learning 

- สามารถการเรียนรู้ผ่านทางโทรศัพท์นำไปใช้ในการฝึกอบรม

- การเรียนรู้ผ่านทางโทรศัพท์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน

- การเรียนรู้ผ่านทางโทรศัพท์กระบวนการเรียนรู้

- การเรียนรู้ผ่านทางโทรศัพท์ใช้ในการเรียนรู้ผ่านองค์กร

- การใช้ในการจัดการศึกษา

      การเรียนการสอนปัจจุบันนี้สามารถที่จะนำโทรศัพท์มือถือมาช่วย สามารถสร้าง

กระบวนการเรียนการสอนทางโทรศัพท์เคลื่อนที่

 

บทสรุป  

            การบรรจบกันของการเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีแนวทางการสอนอย่างใหม่กับอุปกรณ์ดิจิตอลที่ทรงพลัง และเชื่อมต่อได้ ช่วยกระตุ้นความสนใจในเชิงพิเคราะห์กับส่วนการศึกษาแห่งชาติในลักษณะของ m – learning

            อย่างไรก็ดี ความหลากหลายของนิยามใน m – learning ซอฟต์แวร์ ที่ใช้รองรับ m – learning  และกรอบโครงสร้างอันหลากหลาย ตลอดจนลักษณะของ platform มักจะนิยามอย่างชัดเจนถึงความจำเป็นของระบบและวิธีการที่จะเอื้อประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาแหล่ง m – learning ที่ต้องดำเนินการระหว่างกันของ platform และกรอบโครงสร้าง แนวปฏิบัติ การใช้ และความเท่าเทียมกันทั้งในส่วนของการเข้าถึง และโอกาส

            การสืบหาและการทำเอกสารตามมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติของ m – learning คือ แนวทางที่เอื้อผลประโยชน์เหล่านี้ งานวิจัยนี้จะเสนอผลในช่วงหยุดพักของเอกสารต่างๆเข้าสู่รูปแบบในการส่งผ่านและเข้าร่วมใน m – learning รวมถึงอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านและรูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ และมีแนวโน้มจะแนะนำมาตรฐานทางรูปแบบและแนวปฏิบัติเพื่อการวิเคราะห์และอภิปรายในกลุ่มผู้ปฏิบัติและส่งเสริมความเป็นมืออาชีพ

            เพราะธรรมชาติอันหลากหลายของอุปกรณ์สื่อสารดิจิตอลที่มีฮาร์ดแวร์หลากหลายไว้สร้างองค์ประกอบต่างๆ กลไก ชุดซอฟต์แวร์และการให้บริการ การวิจัยมาตรฐานทางเทคนิคและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นภาระงานที่ต้องพิจารณา ซึ่งมีงานเผยแพร่แล้วประมาณ 110 ชิ้น งานวิจัยก่อนหน้านี้ครอบคลุมการออกแบบและการพัฒนาแนวทาง m – learning ตามทฤษฎี แต่ทั้งที่มีข้อมูลมากมายในส่วนของเทคโนโลยีที่เอื้อประโยชน์ต่อ m – learning กลับไม่มีงานใดกล่าวถึงประเด็นที่เป็นมาตรฐานทาง m – learning

            ทั้งๆที่กรอบของงานต้องใช้มาตรฐานทางเอกสารในเรื่อง m – learning หลักการพื้นฐานของการพัฒนาแหล่งข้อมูลในอุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. สร้างความเชื่อมั่นในแหล่งข้อมูลว่าสามารถเทียบได้กับบริบทการส่งผ่านพื้นฐาน (default) และลดความเรียกร้องในส่วนของหน่วยความจำ ตัวดำเนินการ processot และการนำเสนอ
  2. หาความสามารถของบริบทในการส่งผ่านขั้นสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพและการใช้ประโยชน์ผ่านทางการส่งผ่านที่ปรับแล้วหรือจัดหาแหล่งข้อมูลทางเลือกที่เหมาะสมกับบริบทในการส่งผ่าน

            เมื่อกล่าวถึงหลักการพื้นฐานเหล่านี้ควรจะอำนวยความสะดวกในส่วนของการสร้างแหล่งข้อมูล m – learning โดยประสานกับแนวปฏิบัติสากลในการพัฒนา mobile

 

 บันทึก : แนวทางการวิจัยการสอนโดยใช้ M-Learning

1. การเรียนการสอนบนโทรศัพท์มือถือ

2. การใช้ mms ในการเรียนการสอน

3. การใช้คลิปวีดีโอในการเรียนการสอน

4. การสอนโดยใช้ Mp3

 

http://gotoknow.org/blog/krutuk/35552

http://www.edtechpark.net/nataya/docs/chawanida.html

http://www.onkaseammk22.ob.tc/page5.html

http://m-learning.comyr.com/index6.html

http://www.prachyanun.com/artical/mlearning.pdf

http://www.compgamer.com/news/15055

http://www.moc.moe.go.th/node/267

หมายเลขบันทึก: 373786เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท