การเรียนรู้ในศตวรรตที่ 21


การเรียนรู้ในศตวรรตที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่  21

                                                                                                                                           รศ.มัณฑรา  ธรรมบุศย์

                เมื่อไม่นานมานี้ ไม่มีใครเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถวิ่งติดต่อกันเป็นระยะทาง 1 ไมล์ ได้โดยไม่หยุดพักเลยภายในเวลา 4 นาที  แต่แล้วในปี ค.ศ. 1954  โรเจอร์ แบนนิสเตอร์ (Roger Bannister) ก็เป็นนักวิ่งคนแรกของโลกซึ่งสามารถวิ่งได้ภายในเวลา 3 นาที 59.4 วินาที  และได้รับการยกย่อง ชื่นชมว่าเป็นยอดนักกีฬา   แต่ปัจจุบันนี้ การวิ่งในระยะทาง 1 ไมล์  โดยไม่หยุดพักเป็นเรื่องปกติมากสำหรับนักวิ่ง  และสถิติที่แบนนิสเตอร์ได้เคยทำไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกก็มีผู้ทำลายสถิติไปแล้ว

                ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ได้ปรากฏขึ้นเช่นเดียวกับเรื่องของสมอง กล่าวคือ ในอดีตมีผู้เชื่อว่าพัฒนาการของสมองจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสมองจะพัฒนาได้สูงสุดในวัยผู้ใหญ่  แต่ผลจากการวิจัยเรื่องสมองเป็นจำนวนมาก  ทำให้นักการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองมากขึ้น   เราได้เรียนรู้ว่า กระบวนการของสมองเป็นตัวการที่ทำให้สิ่งต่างๆ มีความหมาย (meaning maker) โดยสมองจะทำหน้าที่ค้นหา รับรู้แบบแผนต่างๆ สร้างความหมายผสมผสานประสบการณ์จากอวัยวะรับสัมผัสทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาทางตา หู การสัมผัสและความรู้สึก  แล้วจึงเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน  ด้วยเหตุนี้การสอนสมัยใหม่ (modern teaching) จึงต้องคำนึงถึงการให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถจากสมองในการเรียนรู้ให้มากที่สุด 

                ศาสตราจารย์โรแลนด์ ไมคาน (Professor Roland Meighan) ซึ่งเป็นทั้งนักเขียน นักจัดรายการวิทยุ บรรณาธิการของหนังสือหลายฉบับ  ที่ปรึกษาและนักวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ได้เขียนบทความเรื่อง “The21st Century learning Initiative” ในบทความนี้  ศาสตราจารย์ ไมคาน ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ประเทศอังกฤษต้องมีการปฏิรูประบบการเรียนรู้ที่ได้เคยใช้มาตลอดระยะเวลาเกือบ 25 ปี ที่ผ่านมา และได้สรุปว่าในศตวรรษที่ 21 นั้น  ควรจะได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบ      การเรียนรู้ในโรงเรียน จากแนวคิดเก่าๆ มาสู่แนวคิดใหม่  ดังนี้

แนวคิดแบบดั้งเดิม

 

 

1. การเรียนรู้เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต  ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต

2.  การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน

3.  ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้

4.  การศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น จึงต้องการหลักสูตรที่มีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาไว้ทั้งหมดแล้ว

5.  มนุษย์ไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง และไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง

6.  คนที่สามารถจดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่สามารถจดจำความรู้ได้น้อย

7.  โรงเรียนต้องกล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และต้องให้พวกเขาได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ

แนวคิดแห่งอนาคต

 

 

1.  การเรียนรู้คือชีวิต เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal) และตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ไปด้วย

2.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้

3.  มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

                4.  การศึกษาเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต โรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อให้     ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้

5.  มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร  และจะเรียนอย่างไร

6. มนุษย์ทุกคนควรได้รับการยอมรับในขีดความสามารถของความจำที่ไม่เท่ากัน  เราจึงควรให้ความสำคัญเรื่องนี้มากที่สุด

7. มนุษย์ทุกคนได้รับการกล่อมเกลา และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว

หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

 

 

                จากความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไป นักการศึกษายุคใหม่จึงได้เสนอหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ ดังนี้

                1. มนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  ผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลายด้วย  หากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลา อาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญา

                2.  ผู้เรียนควรเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ของตนเอง ไม่ใช่นำความรู้ไปใส่สมองผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนดำเนินรอยตามผู้สอน

3. โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัย  มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่น  หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเผด็จการ แบบให้อิสระหรือแบบประชาธิปไตย

                4. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 10 ปี  โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ กัน

                5. ให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า “ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด” และ “ระบบที่ยืดหยุ่นก็จะผลิตคนที่รู้จักการยืดหยุ่น”

                6. สังคมหรือชุมชนที่มั่งคั่ง ร่ำรวยด้วยข้อมูลข่าวสาร  ทำให้การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ สถานที่

                7. การเรียนรู้แบบเจาะลึก (deep learning) มีความจำเป็นมากกว่าการเรียนรู้แบบผิวเผิน (shallow learning) หมายความว่า จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ลึกรู้รอบ ไม่ใช่เรียนแบบ งูๆ ปลาๆ ดังจะเห็นจากในอดีตว่ามีการบรรจุเนื้อหาไว้ในหลักสูตรมากเกินไป  จนผู้เรียนไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร    และสิ่งที่เรียนไปแล้วมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

                8. การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ  ต้องการครูที่มีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่สอน   (instructor) คือต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็น   ผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้  (learning travel agent)  บทบาทของครู  ในโลกยุคใหม่จึงต้องกว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดูแลโปรแกรมการเรียนการสอนเท่านั้น เพราะทำให้เด็กที่จบจากโรงเรียนมีปัญหา   ในเรื่องความรู้ และทักษะ คือรู้ก็รู้ไม่จริง แล้วยังขาดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพอีกด้วย

                9.  การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน (schooling) กับ การศึกษา (education)  ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เคยกล่าวไว้กับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (Mr.R.A. Butler) เมื่อปี ค.ศ.1944 ว่า  “โรงเรียนไม่มีความจำเป็นมากนักในการจัดการศึกษา  เพราะเป็นเพียงสถาบันที่มีงานหลักคือการพร่ำอบรมสั่งสอนเด็กๆ เท่านั้น แต่การศึกษามีความแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงและการศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนน้อยมาก”

           10. โลกอนาคตจะให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่บ้าน (home – based education) มากขึ้น เด็กๆ จะเรียนอยู่ที่บ้าน  โดยเรียนจากประสบการณ์ของนักการศึกษาที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ โดยตรง

 

                นอกจากหลักการเรียนรู้ 10 ประการ ข้างต้นแล้ว  นักการศึกษายังได้เสนอแนวคิดหลักในการจัดระบบการเรียนรู้ (learning system) อีก 7  ประการ สำหรับโลกยุคหน้า คือ

1.       ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเอง

2.       การเรียนรู้จะใช้ระบบเครือข่าย

3.       หลักสูตรจะถูกจัดแยกเป็นประเภท(catalogue curriculum) ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนหลักสูตรที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนเต็มเวลาในสถานศึกษาทั้งหลักสูตร(full time) หรือจะเรียนที่บ้านทั้งหมด หรือจะเลือกเรียนที่บ้านและเรียนที่     โรงเรียนบางเวลาก็ได้ (flexi– time schooling plan)

4.       มีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (personal learning plan)

5.       การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

6.       ครูมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ (learning agent)

7.       ระบบการประเมินจะหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้วัดเฉพาะความรู้ในแบบทดสอบเท่านั้น เช่น การสอบวิชาดนตรี จะไม่สอบเฉพาะภาคทฤษฎี ผู้เรียนต้องสอบภาคปฏิบัติด้วย เพราะผู้ที่ทำข้อสอบได้หมด อาจจะเล่นดนตรีไม่ได้เลย

หลักในการจัดการศึกษา 7 ประการ      

 

 

 แกมสัน และชิคเคอริง  (Gamson and Chickering, 1987) ได้รวบรวมผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาที่เรียนในระดับปริญญาตรี  ในช่วงเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี   และได้สรุปเป็นหลักในการจัดการศึกษา 7 ประการ   หลักทั้ง 7 ประการ นี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการ ปรับปรุงการเรียนการสอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในอเมริกาเหนือ ในอังกฤษก็นำหลักการทั้ง 7 ข้อนี้ มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน  คือ

1.  สนับสนุน/ส่งเสริมให้คณะต่าง ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์กับนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

2.  สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในหมู่นักศึกษา  โดยสอนให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม

3.  สนับสนุนให้เกิดเรียนรู้ที่เรียกว่า Active learning ได้แก่ การฝึกให้นักศึกษารู้จักคิด รู้จักปฏิบัติ และสามารถสะท้อนสิ่งที่ได้ปฏิบัติแล้วออกมาเป็นความคิดได้

4.  ให้นักศึกษาทราบผลการเรียนรู้ทันที  และครูต้องช่วยนักศึกษาให้สามารถบอกได้ว่าต้องการให้ผู้สอนช่วยเหลือตนเองในรื่องใด

5. เน้นเรื่องเวลาในการทำงาน โดยจัดเตรียมสิ่งที่จะเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา  รวมทั้งต้องจัดเตรียมเอกสารคู่มือต่าง ๆ  ให้พร้อม เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติ

6. สื่อสารให้นักศึกษาทราบถึงความคาดหวังของครู  ที่มุ่งหวังจะให้พวกเขาเกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับสูง  ขณะเดียวกันต้องกระตุ้นให้นักศึกษาตั้งความคาดหวังในความสำเร็จของตนเองไว้ในระดับสูงเช่นเดียวกัน

7. ยอมรับในความสามารถพิเศษและวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายของนักศึกษา 

 

         จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ หลักการจัดระบบการเรียนรู้ และหลักใน การจัดการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21  ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  รวมทั้งจากผลการวิจัยจำนวนมาก   ในระยะไม่กี่สิบปีมานี้ ทำให้ทุกประเทศตื่นตัว และตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิรูประบบการเรียนรู้ ในสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อให้พลเมืองในประเทศของตนสามารถแข่งขันในเวทีโลก และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลก อย่างไรก็ตาม  ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลย หากไม่ได้รับความร่วมมือจากครูและผู้บริหารสถานศึกษา   โดยผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน ส่วนตัวครูเองนั้น ก็ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทและต้องเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ด้วย  หากครูหรือผู้สอนยังคงใช้วิธีการเดิม ๆ หรือมีความเชื่อแบบเดิม ๆ ในการสอน ก็จะทำให้นักศึกษาหรือผู้เรียนไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อออกจากสถานศึกษาไปแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากโลกอนาคตนั้น จะมีงานที่ท้าทายผู้เรียนเป็นจำนวนมาก และยังมีปัญหาอีกมากมายที่ผู้เรียนต้องออกไปค้นหา  บูรณาการ  สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และมองหาวิธีการ แก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง  และต้องรู้จักร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่น  ซึ่งการที่จะผลิตคนให้มีคุณลักษณะข้างต้น ได้อย่างครบถ้วน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ผู้เขียนจึงหวังว่า หลักการต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น คงจะช่วยให้ผู้อ่านที่เป็นครูในสถานศึกษา หรือเป็นผู้สอนในสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง  จะสามารถนำหลักการเหล่านี้ไปปรับใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์การเรียนการสอนของตนเองได้ไม่มากก็น้อย

 

 

การเรียนรู้ในศตวรรษที่  21

                                                                                                                                           รศ.มัณฑรา  ธรรมบุศย์

 

                เมื่อไม่นานมานี้ ไม่มีใครเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถวิ่งติดต่อกันเป็นระยะทาง 1 ไมล์ ได้โดยไม่หยุดพักเลยภายในเวลา 4 นาที  แต่แล้วในปี ค.ศ. 1954  โรเจอร์ แบนนิสเตอร์ (Roger Bannister) ก็เป็นนักวิ่งคนแรกของโลกซึ่งสามารถวิ่งได้ภายในเวลา 3 นาที 59.4 วินาที  และได้รับการยกย่อง ชื่นชมว่าเป็นยอดนักกีฬา   แต่ปัจจุบันนี้ การวิ่งในระยะทาง 1 ไมล์  โดยไม่หยุดพักเป็นเรื่องปกติมากสำหรับนักวิ่ง  และสถิติที่แบนนิสเตอร์ได้เคยทำไว้ในการแข่งขันโอลิมปิกก็มีผู้ทำลายสถิติไปแล้ว

                ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ได้ปรากฏขึ้นเช่นเดียวกับเรื่องของสมอง กล่าวคือ ในอดีตมีผู้เชื่อว่าพัฒนาการของสมองจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสมองจะพัฒนาได้สูงสุดในวัยผู้ใหญ่  แต่ผลจากการวิจัยเรื่องสมองเป็นจำนวนมาก  ทำให้นักการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองมากขึ้น   เราได้เรียนรู้ว่า กระบวนการของสมองเป็นตัวการที่ทำให้สิ่งต่างๆ มีความหมาย (meaning maker) โดยสมองจะทำหน้าที่ค้นหา รับรู้แบบแผนต่างๆ สร้างความหมายผสมผสานประสบการณ์จากอวัยวะรับสัมผัสทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาทางตา หู การสัมผัสและความรู้สึก  แล้วจึงเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน  ด้วยเหตุนี้การสอนสมัยใหม่ (modern teaching) จึงต้องคำนึงถึงการให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถจากสมองในการเรียนรู้ให้มากที่สุด 

                ศาสตราจารย์โรแลนด์ ไมคาน (Professor Roland Meighan) ซึ่งเป็นทั้งนักเขียน นักจัดรายการวิทยุ บรรณาธิการของหนังสือหลายฉบับ  ที่ปรึกษาและนักวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ได้เขียนบทความเรื่อง “The21st Century learning Initiative” ในบทความนี้  ศาสตราจารย์ ไมคาน ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ประเทศอังกฤษต้องมีการปฏิรูประบบการเรียนรู้ที่ได้เคยใช้มาตลอดระยะเวลาเกือบ 25 ปี ที่ผ่านมา และได้สรุปว่าในศตวรรษที่ 21 นั้น  ควรจะได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบ      การเรียนรู้ในโรงเรียน จากแนวคิดเก่าๆ มาสู่แนวคิดใหม่  ดังนี้

แนวคิดแบบดั้งเดิม

 

 

1. การเรียนรู้เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต  ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต

2.  การเรียนรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน

3.  ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ หรือผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้

4.  การศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนเท่านั้น จึงต้องการหลักสูตรที่มีการกำหนดรายละเอียดของเนื้อหาไว้ทั้งหมดแล้ว

5.  มนุษย์ไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง และไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง

6.  คนที่สามารถจดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่สามารถจดจำความรู้ได้น้อย

7.  โรงเรียนต้องกล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และต้องให้พวกเขาได้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ

แนวคิดแห่งอนาคต

 

 

1.  การเรียนรู้คือชีวิต เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ (learning animal) และตราบที่ยังมีชีวิตอยู่ มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ไปด้วย

2.  การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง และเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้

3.  มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

                4.  การศึกษาเป็นกิจกรรมตลอดชีวิต โรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีหลักสูตรที่หลากหลาย เพื่อให้     ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลได้

5.  มนุษย์สามารถเรียนรู้ที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้ว่าจะเรียนอะไร  และจะเรียนอย่างไร

6. มนุษย์ทุกคนควรได้รับการยอมรับในขีดความสามารถของความจำที่ไม่เท่ากัน  เราจึงควรให้ความสำคัญเรื่องนี้มากที่สุด

7. มนุษย์ทุกคนได้รับการกล่อมเกลา และมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว

หลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

 

 

                จากความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงไป นักการศึกษายุคใหม่จึงได้เสนอหลักการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ ดังนี้

                1. มนุษย์มีรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  ผู้สอนจึงต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลายด้วย  หากผู้สอนนำรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งไปใช้กับผู้เรียนทุกคนตลอดเวลา อาจทำให้ผู้เรียนบางคนเกิดอาการตายด้านทางสติปัญญา

                2.  ผู้เรียนควรเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ของตนเอง ไม่ใช่นำความรู้ไปใส่สมองผู้เรียน แล้วให้ผู้เรียนดำเนินรอยตามผู้สอน

3. โลกยุคใหม่ต้องการผู้เรียนซึ่งมีวินัย  มีพฤติกรรมที่รู้จักยืดหยุ่น  หรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นแบบเผด็จการ แบบให้อิสระหรือแบบประชาธิปไตย

                4. เนื่องจากข้อมูลข่าวสารในโลกจะทวีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 10 ปี  โรงเรียนจึงต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ กัน

                5. ให้ใช้กฎเหล็กของการศึกษาที่ว่า “ระบบที่เข้มงวดจะผลิตคนที่เข้มงวด” และ “ระบบที่ยืดหยุ่นก็จะผลิตคนที่รู้จักการยืดหยุ่น”

                6. สังคมหรือชุมชนที่มั่งคั่ง ร่ำรวยด้วยข้อมูลข่าวสาร  ทำให้การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายๆ สถานที่

                7. การเรียนรู้แบบเจาะลึก (deep learning) มีความจำเป็นมากกว่าการเรียนรู้แบบผิวเผิน (shallow learning) หมายความว่า จะเรียนอะไรต้องเรียนให้รู้จริง ให้รู้ลึกรู้รอบ ไม่ใช่เรียนแบบ งูๆ ปลาๆ ดังจะเห็นจากในอดีตว่ามีการบรรจุเนื้อหาไว้ในหลักสูตรมากเกินไป  จนผู้เรียนไม่รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไร    และสิ่งที่เรียนไปแล้วมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

                8. การสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ  ต้องการครูที่มีคุณสมบัติมากกว่าการเป็นผู้ทำหน้าที่สอน   (instructor) คือต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็น   ผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้  (learning travel agent)  บทบาทของครู  ในโลกยุคใหม่จึงต้องกว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ดูแลโปรแกรมการเรียนการสอนเท่านั้น เพราะทำให้เด็กที่จบจากโรงเรียนมีปัญหา   ในเรื่องความรู้ และทักษะ คือรู้ก็รู้ไม่จริง แล้วยังขาดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพอีกด้วย

                9.  การศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน (schooling) กับ การศึกษา (education)  ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) เคยกล่าวไว้กับรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (Mr.R.A. Butler) เมื่อปี ค.ศ.1944 ว่า  “โรงเรียนไม่มีความจำเป็นมากนักในการจัดการศึกษา  เพราะเป็นเพียงสถาบันที่มีงานหลักคือการพร่ำอบรมสั่งสอนเด็กๆ เท่านั้น แต่การศึกษามีความแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงและการศึกษาเกิดขึ้นในโรงเรียนน้อยมาก”

           10. โลกอนาคตจะให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่บ้าน (home – based education) มากขึ้น เด็กๆ จะเรียนอยู่ที่บ้าน  โดยเรียนจากประสบการณ์ของนักการศึกษาที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ โดยตรง

 

                นอกจากหลักการเรียนรู้ 10 ประการ ข้างต้นแล้ว  นักการศึกษายังได้เสนอแนวคิดหลักในการจัดระบบการเรียนรู้ (learning system) อีก 7  ประการ สำหรับโลกยุคหน้า คือ

1.       ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเอง

2.       การเรียนรู้จะใช้ระบบเครือข่าย

3.       หลักสูตรจะถูกจัดแยกเป็นประเภท(catalogue curriculum) ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนหลักสูตรที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สามารถเลือกได้ว่าจะเรียนเต็มเวลาในสถานศึกษาทั้งหลักสูตร(full time) หรือจะเรียนที่บ้านทั้งหมด หรือจะเลือกเรียนที่บ้านและเรียนที่     โรงเรียนบางเวลาก็ได้ (flexi– time schooling plan)

4.       มีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (personal learning plan)

5.       การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

6.       ครูมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ (learning agent)

7.       ระบบการประเมินจะหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้วัดเฉพาะความรู้ในแบบทดสอบเท่านั้น เช่น การสอบวิชาดนตรี จะไม่สอบเฉพาะภาคทฤษฎี ผู้เรียนต้องสอบภาคปฏิบัติด้วย เพราะผู้ที่ทำข้อสอบได้หมด อาจจะเล่นดนตรีไม่ได้เลย

หลักในการจัดการศึกษา 7 ประการ      

 

 

 แกมสัน และชิคเคอริง  (Gamson and Chickering, 1987) ได้รวบรวมผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาที่เรียนในระดับปริญญาตรี  ในช่วงเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี   และได้สรุปเป็นหลักในการจัดการศึกษา 7 ประการ   หลักทั้ง 7 ประการ นี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการ ปรับปรุงการเรียนการสอนในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยในอเมริกาเหนือ ในอังกฤษก็นำหลักการทั้ง 7 ข้อนี้ มาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการศึกษาเช่นเดียวกัน  คือ

1.  สนับสนุน/ส่งเสริมให้คณะต่าง ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์กับนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ

2.  สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในหมู่นักศึกษา  โดยสอนให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม

3.  สนับสนุนให้เกิดเรียนรู้ที่เรียกว่า Active learning ได้แก่ การฝึกให้นักศึกษารู้จักคิด รู้จักปฏิบัติ และสามารถสะท้อนสิ่งที่ได้ปฏิบัติแล้วออกมาเป็นความคิดได้

4.  ให้นักศึกษาทราบผลการเรียนรู้ทันที  และครูต้องช่วยนักศึกษาให้สามารถบอกได้ว่าต้องการให้ผู้สอนช่วยเหลือตนเองในรื่องใด

5. เน้นเรื่องเวลาในการทำงาน โดยจัดเตรียมสิ่งที่จะเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา  รวมทั้งต้องจัดเตรียมเอกสารคู่มือต่าง ๆ  ให้พร้อม เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติ

6. สื่อสารให้นักศึกษาทราบถึงความคาดหวังของครู  ที่มุ่งหวังจะให้พวกเขาเกิดผลสัมฤทธิ์ในระดับสูง  ขณะเดียวกันต้องกระตุ้นให้นักศึกษาตั้งความคาดหวังในความสำเร็จของตนเองไว้ในระดับสูงเช่นเดียวกัน

7. ยอมรับในความสามารถพิเศษและวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายของนักศึกษา 

 

         จากแนวคิดของนักการศึกษาเกี่ยวกับหลักการเรียนรู้ หลักการจัดระบบการเรียนรู้ และหลักใน การจัดการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21  ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  รวมทั้งจากผลการวิจัยจำนวนมาก   ในระยะไม่กี่สิบปีมานี้ ทำให้ทุกประเทศตื่นตัว และตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปฏิรูประบบการเรียนรู้ ในสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อให้พลเมืองในประเทศของตนสามารถแข่งขันในเวทีโลก และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลก อย่างไรก็ตาม  ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้เลย หากไม่ได้รับความร่วมมือจากครูและผู้บริหารสถานศึกษา   โดยผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน ส่วนตัวครูเองนั้น ก็ต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทและต้องเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ด้วย  หากครูหรือผู้สอนยังคงใช้วิธีการเดิม ๆ หรือมีความเชื่อแบบเดิม ๆ ในการสอน ก็จะทำให้นักศึกษาหรือผู้เรียนไม่สามารถปรับตัวได้เมื่อออกจากสถานศึกษาไปแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากโลกอนาคตนั้น จะมีงานที่ท้าทายผู้เรียนเป็นจำนวนมาก และยังมีปัญหาอีกมากมายที่ผู้เรียนต้องออกไปค้นหา  บูรณาการ  สังเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และมองหาวิธีการ แก้ปัญหาที่แตกต่างไปจากเดิม นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง  และต้องรู้จักร่วมมือในการทำงานกับผู้อื่น  ซึ่งการที่จะผลิตคนให้มีคุณลักษณะข้างต้น ได้อย่างครบถ้วน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ผู้เขียนจึงหวังว่า หลักการต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอไปแล้วข้างต้น คงจะช่วยให้ผู้อ่านที่เป็นครูในสถานศึกษา หรือเป็นผู้สอนในสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง  จะสามารถนำหลักการเหล่านี้ไปปรับใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์การเรียนการสอนของตนเองได้ไม่มากก็น้อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 373641เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท