เหตุเกิดที่จำปาสัก


ได้เงินมาก้อนหนึ่ง กลับไปสร้างบ้านหลังใหม่ แต่งงานกับแม่ยิงลาว แต่แล้วก็มารู้ว่าตัวเองติดเชื้อ

อ่านเรื่องราวของน้องสาวมาหลายเรื่อง เปลี่ยนอารมณ์เป็นเรื่องของพ่อซายบ้าง 

     ชายหนุ่มสมมตินามไปตามเรื่องว่า "ชัย"  ชัย อายุไม่น่าจะเกิน 30 ปี ท่าทางแข็งแรง ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าได้รับเชื้อ HIV

     เราไปเยี่ยมชัยที่บ้านในเขตของจำปาสัก โดยได้รับความช่วยเหลือในการประสานงานผ่านทางสาธาฯ  ทั้งนี้ในฝั่งจำปาสักนั้น การยอมรับและความเข้าใจต่อผู้ติดเชื้อยังมีน้อยมาก

          บ้านของชัยน่าอยู่ เป็นบ้านชั้นเดียว สร้างด้วยปูนเหมือนบ้านชั้นเดียวทั่วไปของฝั่งไทย ทาสีชมพูอ่อน ข้างในจัดเป็นระเบียบเรียบร้อย รั้วบ้านทำด้วยไม้ไผ่ ติดกับทุ่งนา ด้านข้างๆเป็นบ้านของแม่ เป็นบ้านไม้สองชั้น เจอผู้ที่เป็นแม่ของชัยด้วย แม่ต้อนรับเราด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มและอบอุ่น

        ภรรยาของชัย ดูจะมีอายุมากกว่าชัยนิดหน่อย แต่ช่างเถอะอายุไม่สำคัญ สำคัญตรงที่ว่า เธอคนนี้ได้รับเชื้อจากชัย

       ชัยเล่าความหลังอย่างไม่ปิดบัง ใบหน้ามีความสุข เหมือนกับว่าเรื่องที่กำลังพูดถึงนั้นไม่เรื่องที่เกิดขึ้นกับตัวเอง     โอ้..ช่างน่าอัศจรรย์ใจเสียจริง นับถือๆๆๆ

      "หลายปีมาแล้วผมข้ามไปทำงานที่ฝั่งไทย ทำไปทำมายาวไปถึงชลบุรี อยู่ร้านเฟอร์นิเจอร์ ได้ลูกสาวเถ้าแก่เป็นเมีย อยู่ได้ไม่นานก็แยกทางกัน เพราะครอบครัวเขารังเกียจ แล้วผมก็ได้หญิงบริการมานอนด้วย "

       "ผมเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งเลยอยากกลับบ้าน กะจะมาสร้างครอบครัว ปักหลักปักฐาน มาถึงบ้านเลยแต่งงาน กับเมียคนนี้แหละ สร้างบ้านเสร็จ อยู่กันได้เกือบปี ผมเป็นใส้ติ่งอักเสบ ไปผ่าตัด โอ้ย หมอเพิ่นว่าผมมีเชื้อ เสียใจคับ เมียก็ทิ้ง โกรธผม ย่านผมเอาเชื้อมาให้" 

        เล่าถึงตรงนี้ ผู้เป็นเมียพูดเสริมขึ้นมาว่า "ก็ย่านเนาะ  เสียใจนำ เอาเชื้อมาติดเฮา แต่ก็ไปได้บ่โดนดอก มาฮู่ว่า เฮากะติดแล้ว มีเชื้อคือกัน เพิ่นเอามาติดกะต้องเบิ่งแยง เลยได้กลับคืนมา อยู่นำกันจนฮอดทุกมื่อนี่แหละ"

     ชัย โชคดีที่ร่างกายแข็งแรง ชัยบอกว่าบ่ย่านดอก ไม่เห็นเป็นอะไร ยังกินได้ นอนได้ ถ้าเรารู้วิธีดูแลตัวเองให้ดี ก็อยู่ได้เหมือนคนอื่น

       ในขณะที่ผู้เป็นเมียยังมีอาการทำใจลำบาก พร้อมกับบอกว่า "ตอนแรกๆรับไม่ได้ โกรธมากและเสียใจมาก ตอนนี้ทำอะไรไม่ได้ก็ทำใจ หนีไปก็ไม่รู้จะทำอะไร เราก็เป็นแล้ว"

   คุณยายแม่ของชัยบอกว่า "รู้อยู่ว่าเขามีเชื้อ แต่ก็ไม่เป็นไร ก็อยู่ด้วยกัน สงสาร เบิ่งกันไป ธรรมดา "  

            เวลาผ่านไปหลายปี ยังไม่ได้เจอชัยอีก เพราะการเข้าไปในหมู่บ้านไม่ใช่เรื่องง่าย ขั้นตอนเยอะ แต่ก็หวังว่าชัยและภรรยาจะยังคงแข็งแรง เป็นปกติและมีความสุขในบ้านหลังใหม่ที่แลกมาด้วยชีวิตของตนเอง โชคดีนะอ้ายชัยเพื่อนใหม่ของเรา

  

เพิ่มเติม   

         ที่จำปาสัก  ยังคงมีความต่างจากเวียงจันเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานร่้วมกัน เพราะยังไม่มี MOU เราพยายามผลักดันให้เกิดระหว่าง จำปาสัก กับช่องเม็ก เคยจัดทีมแลกเปลี่ยนและจัดประชุมร่วมกันบ่อยครั้ง แต่ยังไม่สำเร็จ ได้อาศัยแต่ความพัวพันส่วนตัว โดยเฉพาะคุณหยง ที่ช่องเม็กเป็นคนเชื่อม ทำให้งานเดินต่อได้ การการเปิดใจรับผู้ติดเชื้อยังมีข้อจำกัด ไม่ต่างกับสังคมไทยในช่วงแรกๆ

      ขอขอบใจ DR.รัดสะหมี  โฮงหมอจำปาสักและคุณหมอ พร้อมทีมงาน ที่ฮ่วมเฮ็ดเวียกนำกันจนถึงที่สุด แม้จะขัดข้องอย่างแรง  ขอบใจหลายๆเด้อค่า

 

    ประเด็นชวนคิด  คือ ผู้ที่ติดเชื้อในฝั่งลาวส่วนใหญ่เคยมาทำงานที่ไทย ชาวลาวก็รับรู้โจทย์ข้อนี้เหมือนกัน

    พูดถึงประเด็นนี้ มักมีคำถามมากมายว่า ทำไมต้องทำงานกับคนลาว คนไทยที่ยังลำบาก มีปัญหาก็มีอีกเยอะ ทำไมไม่ช่วย ?

     หากท่านใดเคยสงสัยหรือ เคยตั้งคำถามแนวเดียวกัน ไม่รู้ว่าท่านได้คำตอบหรือยัง ถ้ายังคงต้องย้อนไปเปิดอ่าน ชีวิตของเจ้าดอกจำปาทั้งหลาย ถามว่าใครคือผู้ใช้บริการ และทำไมเราจึงห่วงใยเจ้าดอกจำปาเสียเหลือเกิน ???

   

ตอนต่อไปคุณแม่บ้านและคุณผู้หญิงทั้งหลายอย่าพลาดนะคะ มาดูกันว่าทำไมพ่อบ้านขี้เมื่อยกับแม่บ้านขี้บ่น 

   Google  
คำสำคัญ (Tags): #จำปาสัก
หมายเลขบันทึก: 373047เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2010 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับอาจารย์ ชีวิตของ ชัยก็คล้ายๆชิวิตของใครๆในบ้านเรา

รับรู้เรื่องผู้ติดเชื้อ เพราะเคยร่วมงานกับ รักษ์ไทยครับ

#2080282

ช่วงรักษ์ไทยเข้าไป AIDsNet ออกมาพอดีค่ะ รับไม้กันแถวๆ เชียงคาน เลยไม่เจอกัน ดีใจที่เจอแนวร่วม ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยม

ชีวิตที่ติดโรคร้ายเกิดกัยใครก็ได้ถ้าประมาท แม้ชะล่าใจแค่เพียงครั้งเดียวก็ต้องเสียใจไปตลอดชีวิต
การดำเนินชีวิตต้องไม่ประมาท และต้องมีการป้องกันอย่างดี แต่ถ้าจะให้ดีอย่าไปมีชีวิตที่สุ่มเสี่ยงครับ

ใช่จริงๆค่ะ แต่คำว่ากลัวอดมากกว่ากลัวเอดส์ ยังเป็นคำที่ใช้ในกลุ่มคนที่ใช้แรงงาน เหมือนบ้านเราค่ะ คงต้องค่อยๆเรียนรู้และปรับแก้กันไป

จะรออ่านบันทึกต่อไปนะคะ

มีความสุขกับการทำงานค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท