กันทรวิชัยเมืองพระ


กันทรวิชัยเมืองพระ
  • ก่อนอื่นขอแนะนำก่อนนะคะเนื่องจากดิฉันเป็นคนอำเภอนี้โดยกำเนิดและอำเภอนี้ก็ยังเป็นสถานที่ตั้ง
ของมหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงต้องการที่จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่ชาว 
อ.กันทรวิชัยเคารพและศรัทธาให้ทุกคนทราบโดยสังเขปเกี่ยวกับสถานที่
ตั้งของมหาวิทยาลัยเราด้วย  

หลวงพ่อพระยืน

Attention, เปิดในหน้าต่างใหม่.

 พระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง กันทรวิชัย

“กันทรวิชัยเมืองพระ สระบัวคู่บ้าน การเกษตรฟูเฟื่อง พลเมืองอยู่เป็นสุข”

 

 พระพุทธมงคล  

 

จากคำขวัญที่ว่า กันทรวิชัยเมืองพระ สาเหตุเนื่องมาจากว่า อำเภอกันทรวิชัยนั้น มีพระพุทธรูปสำคัญ

 ถือเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอยู่ 2 องค์ คือ พระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง ซึ่งเป็นพระเก่าแก่ เป็นโบราณวัตถุ

และเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัยมาแต่ครั้งโบราณ

 นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์ที่มีเนื้อดีเป็นที่นิยมของผู้สะสมพระเป็นอย่างยิ่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้  

• พระพุทธรูปยืนมงคล

      เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีสร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปมิ่งเมือง พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือเมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ท้องที่นี้เป็นอันมากพระพุทธรูปยืนมงคล 

  พระพุทธรูปยืนมงคลตั้งอยู่ที่ วัดพุทธมงคล ตำบลคันธารราษฎร์ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคามห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑๔ กิโลเมตร   
 
วัดพุทธมงคล
 

  อยู่ที่บ้านสระ ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมงคล

ระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอกันทรวิชัย เป็นพระพุทธรูปหินทราย ศิลปทวาราวดี สูงประมาณ ๔ เมตร

เดิมอยู่ในสภาพชำรุด ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้ทำการต่อเติมให้สมบูรณ์ และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสำคัญของชาติ

เมื่อ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ ปัจจุบันพระพุทธมงคลได้ประดิษฐานอยู่ที่ลานโพธิของวัด รอบลานโพธิมีใบเสมาหินสมัยทวาราวดีปักล้อมอยู่สองชั้นทั้งแปดทิศ ลักษณะใบเสมาเป็นแผ่นเรียบแบน และแบบแท่งเหลี่ยม 

 

   พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี

• พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี

เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีสร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกัน

คือ  เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร  ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พระพุทธรูปยืนมงคล ตั้งอยู่ที่ ม. 1 ต.โคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 

 
      พระพุทธรูปทั้งสององค์ และพระพิมพ์กันทรวิชัย เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์

เป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัย และชาวจังหวัดมหาสารคามทุกคน ไม่ว่าท่านจะกราบไหว้ขอพร หรือบนบานศาลกล่าว

ก็จะได้สมใจนึกทุกประการ

ประวัติ พระพุทธมงคล และพระพุทธมิ่งเมือง

           อันบุญญาบารมีอภินิหารอัน ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงใครจะปฏิเสธเสียมิได้ และแข่งขัน ให้เท่าเทียมกันได้

ทั้งเป็นสิ่งที่เหนือเหตุเหนือผลของการพิสูจน์ดัง พระพุทธองค์ ตรัสไว้ ว่า " สิ่งมหัสจรรย์นั้นเป็นอาจิณไตย" ทรงหมาย ความว่าใคร ๆ

 ไม่ควรคิดความศักดิ์สิทธิ์จะดลบันดาลให้เกิดมีเฉพาะแก่ผู้มีบุญวาสนา เลื่อมใสเชื่อมั่นเท่านั้น หลวงพ่อพระยืน (วัดสุวรรณาวาส)หลวงพ่อพระยืน(วัดพุทธมงคล)

ทั้งสองพระองค์ทรงอานุภาพ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียวัตถุ ที่ควรแก่กาสัก การะเคารพบูชายิ่ง ทั้งสององค์นี้ชาวบ้านนิยมเรียกกัน ว่า " หลวงพ่อพระยืน " เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเป็นมิ่งขวัญ เป็นที่พึ่งพาทางใจของชาวพุทธทุกถ้วนหน้าโดยเฉพาะ ชาว กันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และเป็นที่เคารพบูชาของพุทธ ศาสนิกชนทั่วไป

 พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ เป็นปรางสรงน้ำ มีความสูงตลอดองค์ประมาณ 8 ศอก กว้าง 2 ศอก พระเนตร และเนื้อองค์พระ สร้างด้วยศิลาแลงอย่างดี

 ป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยขอมก่อนยุคสุโขทัยหลวงพ่อพระยืนทั้งสอง ผินพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์อยู่ห่างกันประมาณ 1,250 เมตร เป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่คู่บ้าน คู่เมืองตามตำนาน

 หรือประวัติที่หาหลักฐานยืนยันได้จากใบเสมาที่ฝังอยู่ใกล้องค์พระ เขียนเป็นอักษรขอมว่า สร้างปี ฮวยสง่า พุทธศักราช 1399 ปัจจุบันยัง มีตัวอักษรปรากฏที่ใบเสมาแต่เลอะเลือนมากแล้ว

ตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมาผู้ เฒ่าผู้แก่บอก ว่าได้รับฟังจากบรรพบุรุษเล่า ว่า เดิมที่ดินแถบนี้ขอมได้ครอบครองมาก่อน ต่อมาทางนครเวียงจันทร์มีอำนาจเข้าครอบครอง จากขอม มีเจ้าผู้เข้าครอบครองจากขอม

 มีเจ้าผู้ครองโดยอิสระ เรียกกันว่า " เมืองกันทาง " หรือ " เมืองคันธาธิราช "ก่อนปีมะเส็ง จุลศักราช 147 (ปี พ.ศ. 1328) ผู้ครองเมืองคนสุดท้ายที่นามว่า " ท้าวลินจง "

 ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น " หลวงบริเวณ " มีภรรยาชื่อ บัวคำ ปกครองราษฎรหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา หัวเมืองต่าง ๆ ส่งส่วยขึ้นต่อเมืองคันธาธิราชที่หลวงบริเวณปกครองอยู่เป็นประจำ ท้าวลินจงมีบุตรชายคนเดียวชื่อว่า " ท้าวสิงห์โต " หรือ " ท้าวลินทอง " บุตรชายของท้าวลินจง เป็นผู้มีจิตใจโหดเหี้ยมทารุณมาก

 เจ้าเมืองผู้เป็นพ่อชราลงจึงพิจารณาผู้ที่จะมาปกครอง บ้าน เมืองแทนตน หากจะให้ท้าวลินทองผู้บุตร เป็นผู้ปกครองเมืองแทนตน

ก็เป็นการไม่เหมาะสม เพราะบุตรมีนิสัยโหดร้ายทารุณ ดังกล่าว จะเป็นเหตุให้ราษฎรเดือดร้อนเนื่องจากขาดเมตตาความได้ทราบถึงท้าวลินทอง

จึงมีความโกรธแค้นบิดาอย่างยิ่ง จึงได้ ตัดพ้อต่อว่าบิดาต่าง ๆ นา ๆ แล้วบังคับให้บิดาตั้งตนเป็น ผู้ปกครองเมืองแทน ผู้เป็นบิดาไม่ยินยอม ท้าวลินทองผู้เป็นบุตร จับขังทรมานด้วยการเฆี่ยน ทุบ ตี

 ใช้มีดกรีดตามเนื้อตัว เพื่อบังคับให้ บิดายกเมืองให้แก่ตน บิดาก็หาได้ยอมไม่ บิดาได้รับการ ทรมานต่อไปด้วยการขังในห้องมืด

 ห้ามข้าว ห้ามน้ำ มิให้ผู้ใดเข้าเยี่ยมเด็ดขาด นอกจากมารดาเพียงผู้เดียว แต่ห้ามมิให้นำน้ำและ อาหารไปให้บิดา

 มารดาได้ทัดทานอ้อนวอนอย่างใดท้าวลินทองก็หาได้ฟังไม่ ด้วยความรักและห่วงใยสามี นางจึงทำอุบายนำข้าว น้ำ

 ให้เอาผ้าสะใบเฉียง ชุบข้าวบดผสมน้ำนำไปเยี่ยมสามี ให้สามีได้ดูดกินประทังชีวิตไปวัน ๆ แต่หาได้พ้นสายตาของบุตรไม่

 ท้าวลินทองผู้เป็นบุตร จึงห้ามมารดาเข้าเยี่ยมอีกต่อไป ท้าวลินจงอดข้าว อดน้ำ ได้รับความทรมานแสนสาหัส ถึงแก่ความตาย ในที่สุด

 แต่ก่อนที่จะสิ้นลมปราณ ท้าวลินจงได้ตั้งจิตอธิษฐานฝากเทพยดาผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมผู้สถิตย์ อยู่ ณ พื้นธรณี นั้นว่า " ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า  

เพื่อหวังความสงบสุขของบ้านเมือง อันเป็นที่ตั้งอยู่อาศัยของข้าพเจ้า แต่เหตุการณ์ ในชีวิตกลับมีการเป็นไปได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัสขอให้เทพยดา ฟ้าดิน ผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม

ขอให้ข้าพเจ้าไปเกิดในที่สุขเถิด พระพุทธมิ่งเมือง เทศบาลตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และขอให้มนุษย์มีจิตใจโหดร้าย ทารุณ ขาดคุณธรรม ไม่มีสัจจะ พูดโกหก หลอกลวง ไม่สัตย์ซื่อ นับแต่นี้ไปข้างหน้าจะเป็นผู้ใดก็ตาม หากมาเป็นเจ้าเมืองนี้แล้ว ขออย่าให้มีความสุขความ เจริญเลย ขอให้ประสบแต่ความวิบัติ ความพินาศฉิบหาย ขอให้เกิดความเดือดร้อนหายนะ ต่าง ๆ นา ๆ เถิด เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้วก็ สิ้นลมหายใจ

 เมื่อท้าวลินจงถึงแก่ความตายแล้ว นางบัวคำผู้เป็นมารดาจึงได้ต่อว่าท้าวลินทองผู้บุตรว่าทรมานบิดาของตนถึงแก่ ความตาย ท้าวลินทองไม่พอใจเกิดโทสะจริตกอปรด้วยโมหะจริต จึงฆ่ามารดาของตนอีกคนหนึ่ง เมื่อท้าวลินจงกับนางบัวคำตายแล้ว ท้าวลินทอง ก็ได้ปกครองเมือง " คันธาธิราชสืบมานับแต่ท้าวลินทองปกครองเมืองคันธาธิราชเป็นต้นมา

บ้านเมืองมีแต่ความระส่ำระสาย ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ได้รับความเดือดร้อน ท้าวลินทองเองก็รู้สึกไม่สบายกายใจ ไม่เป็นอันกินอันนอน ทั้งที่มีทรัพย์มากมายก่ายกอง จึงหาโหรมาทำนายทายทักโหรทำนายว่า ท้าวลินทองได้กระทำบาปกรรมมหันตโทษผลกรรมจึงทำให้เดือดร้อน เป็นผลมาจากการอธิษฐาน จิตอันแน่วแน่ของบิดาที่ได้สาปแช่งเอาไว้ก่อนที่จะสิ้นลมหายใจ กอปรกับมาตุฆาตฆ่ามารดาตนเอง

 ทั้งนี้การจะล้างบาปกรรมได้ก็โดยการ สร้างพระพุทธรูปเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลผลบุญ เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา ให้ลุกะทายหายกะโทษดังนั้นท้าวลินทองจึงได้สร้างพระพุทธ รูป 2 องค์ขึ้นไว้เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา พระพุทธรูปองค์หนึ่งสร้างอุทิศเพื่อทดแทนคุณมารดา สร้างที่นอกเขตกำแพงเมือง ทางทิศอุดร ผินพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ (คือพระพุทธมิ่งเมือง) ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุวรรณาวาสเมื่อสร้างองค์หนึ่งเสร็จแล้ว ก็ได้สร้างพระพุทธรูปยืน

องค์ที่ สอง ขึ้นเพื่อทดแทนคุณบิดา โดยสร้างขึ้นในกำแพงเมือง ผินพักตร์ไปเบื้องทักษิณทิศ (การพิมพ์ประวัติหลวงพ่อพระยืนมีการผิด พลาดมาหลายครั้ง การพิมพ์ครั้งนี้นับว่าสมบูรณ์ที่สุด หลวงพ่อพระครูปัญญาวุฒิชัย เจ้าคณะอำเภอซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธมลคลองค์ปัจจุบัน )

ได้ตรวจสอบหลักฐานหนังสืออ้างอิง และสันนิษฐานว่าอยู่วัดบ้านสระ (วัดพุทธมงคล) มีลักษณะหน้าตาคล้าย ๆ บิดา และสร้างอยู่ภายในเขตกำแพง เมือง ซึ่งมีคูคลองปรากฏให้เห็นเด่นชัดอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือคูคลองที่ติดต่อกับบ้านสระ-บ้านคันธาร์

 ระหว่างบ้านสระกับบ้านส้มป่อย ทุกวันนี้ยังคง สภาพคูคลองให้เห็นสภาพเด่นชัดอยู่ พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในกำแพงเมืองก็มีลักษณะคล้ายชายโดยเด่นชัด ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นนอกเขต กำแพงเมืองที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดสุวรรณาวาสมีลักษณะละมุนละมัยคล้ายมารดา ซึ่งสร้างไว้นอกเมืองทางด้านทิศเหนือตามทางสันนิษฐานดังกล่าว แล้วจึงคิดว่า

 การพิมพ์ประวัติหลวงพ่อพระยืนครั้งนี้คงสมบูรณ์ที่สุดเมื่อท้าวลินทองได้ สร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์เสร็จแล้ว ความกระวน กระวายหายใจก็มิได้เบาบางลง ท้าวลินทองก็ได้ล้มป่วยลงอย่างกระทันหันพอดีโหรจากเมืองพิมายเดินทางผ่านมา และขอเข้าทำนายดวงชะตาชีวิต ของท้าวลินทอง โหรได้ทำนายว่า ท้าวลินทองจะตายภายใน 7 วัน ท้าวลินทองได้ยินถึงกับบันดาลโทษะสั่งประหารชีวิตโหรทันที

 แต่พวกข้าราชการ ที่ปรึกษาได้ขอชีวิตไว้โหรจึงได้ทำนายต่อไปว่า หากท้าวลินทองสร้างพระพุทธรูปปางพุทธไสยาสน์ ด้วยทองคำหนักเท่าตัวขึ้นอีกองค์ หนึ่งความทุกข์ ร้อนที่มีอยู่ก็จะบรรเทาเบาบางลง ท้าวลินทองก็ได้สร้างพระพุทธรูปปางพุทธไสยาสน์ด้วยทองคำตามคำทำนายของโหร ขึ้น แล้วจึงสร้างพระอุโบสถ ขึ้นเพื่อครอบองค์พระไว้ แต่ด้วยบาปกรรมของท้าวลินทองเป็นมหันตโทษ คือ มาตุฆาตปิตุฆาต จึงไม่สามารถสร้างให้สำเร็จได้ ท้าวลินทองก็ถึงแก่ ความตาย แต่ก่อนจะสิ้นลมหายใจ

 ท้าวลินทองก็ได้อธิษฐานว่า " ขอองค์พระพุทธรูปทองคำ อย่าให้คนพบเห็นเป็นอันขาด หากผู้ใดมีเคราะห์กรรม ได้พบเห็นขอให้ผู้นั้นล้มป่วย พินาศฉิบหายและให้ถึงแก่ความตาย " ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาก็ไม่มีผู้ใดได้กล้ำกรายพระอุโบสถ (พระพุทธรูปทองคำ) นั้นเลย กาลล่วงเลยมานาน จนเกิดเป็นป่าร้างต้นไม้ปกคลุมหนาทึบพระพุทธรูปทองคำจึงไม่มีใครพบเห็น ถ้าผู้ใดชะตากรรมถึงฆาต พบเห็นก็จะเกิด

 อาเพทป่วยไข้ถึงตายทุกราย ความศักดิ์สิทธิเป็นที่เล่าลือตราบเท่าทุกวันนี้

ปัจจุบันสถานที่ดังกล่าว คณะสงฆ์อำเภอกันทรวิชัย โดยมีท่านหลวงปู่พระครูประจักษ์ธรรมวิชัย(อดีตเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย) กับหลวงพ่อพระครูปัญญาวุฒิชัยเจ้าคณะอำเภอ (เจ้าอาวาสวัดพุทธมงคล) บ้านสระ หลวงพ่อพระครูวิชัยกิตติคุณ รองเจ้าคณะอำเภอกันทรวิชัย ( เจ้าอาวาสวัดสุวรรณมงคล ) บ้านคันธาร์ ได้ปรับปรุงเป็นสำนักเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ของคณะสงฆ์

 และผู้สนใจในการปฏิบัติธรรมสถานที่ร่มรื่น เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง ให้ชื่อว่า วัดพระพุทธไสยาสน์ (วัดดอนพระนอน)

 หลวงพ่อพระยืนกันทรวิชัยเป็นที่เคารพบูชาของชาว อำเภอกันทรวิชัยและใกล้เคียงโดยทั่วไป

 

  การเดินทางโดยรถยนต์ : 
         ไปตามเส้นทางมหาสารคาม-อำเภอกันทรวิชัย–กาฬสินธุ์ วัดพุทธมงคล และพระพุทธรูปยืนมงคล จะอยู่ขวามือถ้าเรามุ่งหน้าไปกาฬสินธุ์ จะอยู่ก่อนถึงอำเภอกันทรวิชัย 
         และเมื่อเดินทางโดยใช้เส้นทางเดิม เข้าอำเภอกันทรวิชัย พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี และวัดสุวรรณาวาส จะอยู่ซ้ายมือ ใกล้ตลาดอำเภอกันทรวิชัย
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มหาสารคาม22
หมายเลขบันทึก: 372590เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

บ้านเรา เมืองเรา เราต้องรู้ดีกว่าคนอื่น ถูกต้องแล้วที่ น้องปุ๋ม สนใจเรื่องประวัติอำเภอตัวเอง แจ๋วมากขอชมเชย

ขอบคุณมากที่นำสาระดี ๆ มาให้อ่าน

แวะมาอ่านประวัติเมืองกันทรวิชัย

พึ่งรู้ประวัติว่าเป็นเมืองพระ

ถ้าทุกคนเขียนแบบครูจิราวรรณ

คงจะดีเพราะจะได้รู้ประวัติของแต่ละอำเภอ จังหวัด

ขอบคุณครับที่เขียนสิ่งดีๆๆให้อ่าน

..สวัสดีครับ

..ไม่เคยรู้มาก่อน

..ละเอียดมากครับ

..หวังว่าจะได้ไปมนัสการสักครั้ง

..ขอบคุณกับเรื่องราว..ดีๆ

ขอบคุณทุกคนนะคะที่สนใจในเรื่องนี้

ประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งผิดนะครับเพราะการสร้างพระนั้นมีจารึกไว้ด้านหลังองค์พระเป็นศิาแลง  ขอให้หาขอมูลเพิ่มเติมด้วยครับเดี๋ยวจะเข้าใจผิดกัน (สร้างปีฮวยสง่าภาษาขอม)  เหตุผลในการสร้าและพระเนตรขององค์พระเป็นนิลครับ...

ผมงงคับคืผมเปนคนกันทรวิชัยทำไมผมไม่เคยเห็นปราสาทโปรานคับผมไม่รุ้ตำแหน่งที้ตั้งเลยแอดช่วยบอกหน่อยคับว่าอยุ่จุดไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท