ชุมชนชาวบก


แคว้นสทิงพระ เกิดขึ้นในบริเวณรอบๆทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่อำเภอหัวไทรลงมาคลุมพื้นที่ทั้งหมดในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุง บริเวณที่เป็นศูนย์กลางของแคว้น คือบริเวณที่เรียกว่า“แผ่นดินบก” เริ่มตั้งแต่เขตอำเภอระโนด ผ่านสทิงพระ มายังหัวเขาแดงในเขตอำเภอสิงหนคร

คว้นสทิงพระ เกิดขึ้นในบริเวณรอบๆทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่อำเภอหัวไทรลงมาคลุมพื้นที่ทั้งหมดในเขตจังหวัดสงขลาและพัทลุง บริเวณที่เป็นศูนย์กลางของแคว้น คือบริเวณที่เรียกว่า“แผ่นดินบก” เริ่มตั้งแต่เขตอำเภอระโนด ผ่านสทิงพระ มายังหัวเขาแดงในเขตอำเภอสิงหนคร

แคว้นนี้เป็นเมืองท่าที่สำคัญ เพราะเรือจากต่างประเทศสามารถแล่นเรือผ่านเข้าไปจอดตามเมืองต่างๆที่อยู่รอบทะเลสาบได้ บริเวณชุมชนที่สำคัญในระยะแรกๆคงอยู่ตามสันทรายแถวปากคลองจะทิ้งหม้อทางด้านทะเลสาบ มากกว่าด้านตะวันออกที่ติดกับอ่าวไทย ร่องรอยของโบราณวัตถุและโบราณสถานชี้ให้เห็นว่า แคว้นนี้ในระยะแรกๆนับถือศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ในสมัยหลังๆลงมามีการนับถือศาสนาพุทธ พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่หัวเขาแดงผ่านอำเภอสทิงพระไปจนถึงอำเภอระโนด  ตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไปจนถึงทวารวดีเป็น “เกาะ”มีชื่อเรียกเกาะนี้หลายชื่อ “เกาะใหญ่” ก็เรียก “เกาะบก”ก็เรียก “เกาะสทิงพระ”ก็เรียก บ้างก็เรียกว่า “เกาะปะการัง” และฝรั่งเขียนในแผนที่ว่า “เกาะแทนทาลั่ม”

ในสมัยศรีวิชัยเกิดเป็นท่าเรือหลายแห่ง ทำให้ต่อมามีการสร้างบ้านแปลงเมืองเกิดขึ้น โดยมี “เมืองสทิงพระ” เป็นเมืองท่าและเป็นศูนย์กลางของบ้านและเมืองในท้องถิ่น โดยมีศาสนสถานทั้งพราหมณ์และพุทธอยู่มากมาย

ในสมัยอยุธยาประมาณรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีการจัดระเบียบการปกครองท้องถิ่นที่อาศัยวัดเป็นกลไกในการปกครอง โดยการสถาปนาวัดใหญ่ให้เป็นศูนย์กลางทั้งด้านการปกครอง และพิธีกรรมทางศาสนาให้ดูแลบรรดาวัดน้อยใหญ่ ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระดับหมู่บ้านและเมืองเล็กๆ (ดังแสดงในแผนที่แสดงเขตกัลปนาวัดบนเกาะสทิงพระในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ว่าเป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์ทางกรุงศรีอยุธยาทรงสถาปนา “วัดพะโคะ” ให้เป็นศูนย์กลาง แล้วพระราชทานที่ดินกัลปนาให้แก่บรรดาวัดทั้งเก่าและใหม่ ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนให้อยู่ภายใต้การดูแลของ วัดพะโคะ และเลื่อนบรรดาศักดิ์ของเจ้าอาวาส วัดพะโคะ จากการเป็น พระครู ของพระสงฆ์ฝ่ายลังกาชาด ให้เป็น สมเด็จพระราชมุนี ดังมีตัวอย่างให้เห็นว่า หลวงปู่ทวด นับเป็น พระราชมุนีองค์หนึ่งที่ปกครองวัดและบ้านเมือง บน “เกาะสทิงพระ” นี้

ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง เกาะสทิงพระ มีความสำคัญขึ้นอีกครั้งหนึ่ง คือมีพ่อค้าชาวอาหรับสร้างเมืองขึ้น ณ บริเวณหัวเขาแดง เป็นเมืองท่าที่เรียกกันว่า เมืองสงขลา แล้วตั้งตัวเป็นอิสระ แต่ถูกปราบปรามได้ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับแต่นั้นมาบรรดาบ้านเมืองบนเกาะนี้ ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองและดูแลของ เมืองพัทลุง ที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของทะเลสาบสงขลา ขณะเดียวกันการทับถมของโคลนตะกอนและทราย โดยการกระทำของคลื่นลม ทำให้แผ่นดินงอกเพิ่มออกไป เปลี่ยนสภาพเกาะให้กลายเป็น คาบสมุทร ที่เรียกกันว่า “คาบสมุทรสทิง”

           คนรุ่นเก่าๆในท้องถิ่นมักเรียกบริเวณที่เคยเป็น เกาะสทิงพระ นี้ว่า “แผ่นดินบก”

 วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนบนแผ่นดินบกหรือ "คาบสมุทรสทิงพระ”จะมีความผูกพันกับ โหนด นา เล  ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมาหลายชั่วคนนานนับพันปี จวบจนถึงปัจจุบัน

 วิถี โหนด

ตาลเอ๋ยตาลโตนด               มากประโยชน์สุดอธิบายมีหลายสิ่ง

คน’ทิ้งพระลึกซึ้งได้พึ่งพิง                เป็นความจริงพิสูจน์ได้หลายประเด็น

ตอนนี้’โหนดยังอยู่อย่างไร้ค่า           หลายคนพามองข้ามไม่แลเห็น

ช่วยกันคิดเพิ่มค่าไม่ยากเย็น            สร้าง’โหนดเด่นอีกคราน่าภูมิใจ

หมายเลขบันทึก: 372586เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท