โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงพยาบาลปลอดบุหรี่:ศูนย์กลางการแก้ปัญหาบุหรี่และสุขภาพ


โรงพยาบาลปลอดบุหรี่

         ปัญหาบุหรี่และสุขภา  สรุปผลการสัมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โรงพยาบาลปอดบุหรี่ : ศูนย์กลางการแก้ปัญหาบุหรี่และสุขภาพ

            จากผลการเข้าร่วมสัมนา เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ทำให้ได้รับบทเรียน ประสบการณ์ จากคนทำงานในรพ.ต่างๆ  จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งผู้เขียน ขอนำเทคนิคเด่นๆ ของแต่ละโรงพยาบาลมาเล่าให้ฟัง สั้นๆดังนี้ค่ะ  

1.การให้คำปรึกษา เน้นการคิดบวก  พูดเชิงบวก  หาคำชม ให้กำลังใจบ่อยๆ เพื่อเสริมพลังให้ผู้ป่วย

2.ยกวัดมาไว้ในโรงพยาบาล  ทำให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมทางพุทธศาสนา เดือนละ 1ครั้ ง 

ผู้นำเสนอ บอกว่าได้ผลดีนัก ทำให้มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ

3.   Feed back ข้อมูล ให้ชุมชนรับทราบ  เมื่อชุมชนทราบข้อมูลปัญหาจากการสูบบุหรี่ ทำให้เขาได้คิด  ตระหนัก หาทางแก้ปัญหาโดยชุมชนเอง   แต่ต้องมีเทคนิคการนำเสนอข้อมูลที่ดีพอควร

4.ทำพันธะสัญญา  โดยให้มีพระ เป็นพยาน   อสม.เป็นคนคอยติดตามให้

5.ใช้สมุนไพรช่วย คือหญ้าดอกขาว ทำให้เลิกบุหรี่ได้  บางแห่งใช้มะนาว ไม่ต้องใช้หมากฝรั่งเลย

6.น้ำยาบ้วนปาก นิโคติน  ผลิตเองได้

7.ประชาสัมพันธ์ ทุกช่องทาง ทำบ่อยๆ  ทำซ้ำๆ  ได้ผลดี

    

ส่วนวันที่ 2 ก.ค.53  ท่านอาจารย์ กรองจิตได้นำความรู้ใหม่ๆ  ที่อาจารย์ได้เรียนรู้จากการดูงานที่ประเทศ ออสเตรเลีย   ได้ทราบว่ามีผลการวิจัย การทำการบำบัด หรือช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเลิกบุหรี่ได้ผล หรือมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น อยู่ที่ตึกIPD  เนื่องจาก การมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้บำบัด กับผู้ป่วย  ซึ่งเวลานั้นไม่มีผลต่อการให้คำแนะนำเลย มีเวลาแม้เพียงเล็กน้อย  แต่การไว้วางใจ ต่างหาก หรือการตระหนักของผู้ป่วยเอง เนื่องจากขณะที่เขานอนป่วยนั้น เป็นช่วงที่เปิดรับข้อมูลมากที่สุด  และที่สำคัญที่สุดคือ 

 Discharge  plan   ถ้าทำได้ดีโอกาสเลิกได้สูงมาก 

 

หมายเลขบันทึก: 372065เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีค่ะ
  • เห็นหลายคน เลิกได้แต่กลับมาสูบอีกก็เยอะเหมือนกัน
  • Discharge  plan ต้องทำอย่างไร จึงจะได้ผลดีคะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณที่สนใจนะคะ Discharge plan หลักสำคัญคือการวางแผนติดตาม ทั้งที่หน่วยบริการ และที่บ้าน การส่งHome health care หรือติดตามโดย อสม. การติตามเพื่อประเมินร่วมกันว่าระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้คำปรึกษา ในระยะการเลิกบุหรี่อยู่ที่บ้าน มีปัญหาอะไรบ้าง การอดทนให้ได้ในระยะแรกสำคัญมาก การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น สำคัญคือไม่ท้อ ถ้าหากยังเลิกไม่ได้ ก็สามารถลองเริ่มใหม่ได้ การที่ผู้ป่วยเลิกไม่ได้ ไม่ได้ถือว่าล้มเหลวนะคะ :การที่เราได้ให้ข้อมูลบ่อยๆ ช่วยกันทุกคน หรือการที่มีคนเลิกได้แค่คนเดียว ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ ไม่ท้อนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท