การวิเคราะห์และประเมินโครงการ ผู้นำกับการวางแผน มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ


การวิเคราะห์และประเมินโครงการ

ผู้แต่ง รองศาสตราจารย์รัตนา  กาญจนพันธุ์

                กำหนดโครงการต้องทำให้รอบคอบ มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ พิจารณาถึงความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงระหว่างโครงการกับแผน มีการประยุกต์ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ชนิดต่าง ๆ ได้มากมายเช่น

                1. การวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ

                2. การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการ

                3. การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากโครงการทั้งรูปที่เป็นตัวเงินหรือผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจและผลตอบแทนที่ไม่ใช้ตัวเงิน

                4. การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือการลงทุนในโครงการ

                5. การวิเคราะห์ความพร้อมของหน่วยงานและปัจจัยสนับสนุนการดำเนินโครงการ

                6. การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการดำเนินโครงการ

                7. การวิเคราะห์ถึงผลข้างเคียงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

                8. สำหรับกรณีที่เป็นโครงการที่ต้องกู้ยืมเงินมาจากต่างประเทศ ควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการวิเคราะห์ในเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนกู้ยืม

                ต้องพิจารณาด้วยความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการนั้น ในระดับพื้นฐาน ส่วนใหญ่วิเคราะห์และพิจารณา 3 ประเด็น คือ

                1. ความเหมาะสมและความเป็นไปได้เชิงบริหาร

                2. ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ด้านเทคนิคการปฏิบัติ

                3. ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ด้านการเงินการงบประมาณ

การวิเคราะห์โครงการ

                ในการวิเคราะห์โครงการที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาและในคำขอตั้งงบประมาณ ควรคำนึงถึงซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้

                1. ความชัดเจน

                2. ความจะเป็น ความน่าจะเป็น ความเป็นไปได้

                3. ความเหมาะสม

                4. ความสอดคล้อง

                5. ความถูกต้อง

                6. ความเชื่อถือได้

                7. ความง่ายต่อการนำไปใช้

                8. ประสิทธิภาพ/คุณภาพ ที่จะเกิดขึ้นจากการนำไปใช้

                9. ความทันสมัย ความน่าเชื่อถือ และความต่างของข้อมูล

ผู้นำกับการวางแผน

ผู้แต่ง  รองศาสตราจารย์ สมพิศ  โห้งาม

                ผู้นำเป็นผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งขององค์กรต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะนำองค์กรสู่ความเจริญก้าวหน้าต้องประพฤติตนให้เป็นผู้เก่งงานและเก่งคน เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา

คุณสมบัติของผู้นำ

ประกอบด้วยคุณลักษณะสำคัญ 5 ประการ

                1. คุณสมบัติ

                2. คุณวุฒิ

                3. คุณภาพ

                4. คุณประโยชน์

                5. คุณธรรม

                ซึ่งแสดงถึงบทบาทและศักยภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถยกระดับของงานให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กรให้เป็นอย่างดี

บทบาทและหน้าที่ของผู้นำ มีดังนี้

                1. มีความรับผิดชอบ กล้าคิด กล้าทำ กล้าริเริ่ม

                2. มีความเสียสละ ผู้นำที่สุขสบายไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง

                3. มีความรักลูกน้อง พร้อมจะร่วมทุกข์ ร่วมสุขในทุกสถานการณ์

                4. มีคุณธรรมเป็นเข็มทิศชี้ทาง สามารถประสานประโยชน์ระหว่างบุคคลกับองค์กร องค์กรกับสังคมให้สมดุล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มนุษยสัมพันธ์ในองค์การ    

ผู้แต่ง ดร. วนิดา  เสนีเศรษฐ

แนวทางสร้างมนุษยสัมพันธ์กับการประสานงาน ที่ผู้บริหารควร ยึดถือ ได้แก่

                1.จะต้องมีการประชุมปรึกษาหารือกันอยู่เนืองนิจ

                2. จัดทำแผนผังและกำหนดหน้าที่ของงานไว้เป็นหลัก

                3. จะต้องจัดให้มีระบบคณะกรรมการ

                4. จะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ไว้คอยให้คำปรึกษาหารือ

                5.ใช้คู่มือในการปฏิบัติงาน

                6. ต้องมีการพบปะสังสรรค์กัน

                7. ต้องมีการฝึกอบรม

                8. ต้องมีเจ้าหน้าที่ติดต่อและประชาสัมพันธ์กัน

                9. ต้องมีการศึกษาและดูงานอยู่ตลอดระยะเวลา

                10. ต้องมีการใช้งบประมาณอย่างถูกต้อง

                11. ต้องมีแผนผังหรือโครงการเอาไว้

                12. ต้องมีระบบทำงานที่ดีและถูกต้อง

                13. คำนึงถึงการบำรุงขวัญของพนักงานในองค์การ

หลักทั่วไปของมนุษยสัมพันธ์

                1. รู้จักทักทายปรายศรัยกับบุคคลทั่วไป

                2. รู้จักยิ้มกับบุคลคลทั่วไป

                3. ให้เรียกชื่อบุคคล

                4. แสดงความเป็นกันเองและให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลทั่วไป

                5. พูดและทำด้วยความจริงใจ  มั่นใจ 

                6. พยามชอบและให้ความสนใจแก่บุคลคลทั่วไป

                7. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา

                8.รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล

                9. พร้อมที่จะให้บริการผู้อื่นอยู่เสมอ

                10.ให้การยอมรับนับถือผู้อื่น ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม

                11.มีความอดทน มั่นคงในอารมณ์

                12. มองโลกในแง่ดี  อารมณ์ขัน

                13.  รู้ตน  รู้ประมาณ

                14. มีความแนบเนียนในการติดต่อและถ่อมตน

                               

หมายเลขบันทึก: 371724เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อาจารย์ค่ะอ่านแล้วนำมาใช้ได้ค่ะ

สวัสดีคร้า...อ่านแล้วนะคะโอเคเลย

ผลงานออกมาต่อเนื่องเลย อ่านแล้วครับ

น่าอ่าน..ได้ใจความ..รวบรัด..ชัดเจน..ดีจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท