กลยุทธ์ธรกิจ "กรณีศึกษา การออกจากตำแหน่งของ ชาตรี โสภณพนิช"


สัญญาณถอยของ "โสภณพนิช"

กรณีศึกษา การออกจากตำแหน่งของ ชาตรี  โสภณพนิช

                สัญญาณถอยของ “โสภณพนิช”

                การประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของเจ้าสัวชาตรี  โสภณพนิช เพื่อดำรงตำแหน่งประธานกรรมการเพียงตำแหน่งเดียวในแบงก์กรุงเทพและได้แต่งตั้งนายโฆสิต  ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารแทน โดยจะมีผลตั้งแต่ต้นปี 2542 นั้น

                ชาตรี  โสภณพนิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือแบงก์บัวหลวง ประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของธนาคาร โดยให้เหตุผลว่า ฐานะของธนาคารกรุงเทพในขณะนี้มีความแข็งแกร่ง อีกทั้งนายชาติศิริ  โสภณพนิช ลูกชายเริ่มมีประสบการณ์ทำงาน หลังจากที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่มานานกว่า 4 ปี (ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2537)

                บทบาทการบริหารธนาคารกรุงเทพของนายชาติศิริ  โสภณพนิชจะเน้นดูแลเรื่องการจัดการภายในของธนาคาร ซึ่งได้รับการผลักดันและประคับประคองเสริมสร้างความแข็งแกร่งจากนายชาตรี  ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารมาโดยตลอด

                อย่างไรก็ตาม การลาออกจากตำแหน่งปรานกรรมการบริหารของนายชาตรี  ไม่ใช่ว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือทิ้งธนาคาร  แต่ยังคงดูแลและติดตามการดำเนินงานของธนาคาร ซึ่งนายชาตรีได้ผลักดันให้นายธีระ  อภัยวงศ์ รองผู้จัดการใหญ่ เข้ามาเป็นกรรมการบริหาร

                ผลการดำเนินงานในช่วยไตรมาส 3 ปี 2541 ของธนาคารกรุงเทพ ปรากฏว่า ขาดทุนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 9,988.09 ล้านบาท เป็นการตั้งสำรอง NPL 6 พันล้านบาท จากยอดสินเชื่อคงค้าง 9.02 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลการขาดทุนต่อเนื่องจากงวดไตรมาส 2 ซึ่งธนาคารขาดทุนหนักที่สุดในระบบคือ 1.64 หมื่นล้านบาท เนื่องจากตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญกว่า 2.54 หมื่นล้านบาท

                ปัจจุบันธนาคารกรุงเทพมีสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างประเทศอยู่ทั้งสิ้น 46,9 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งตัวเลขจากการออกโรดโชว์ในช่วงต้นปี 2541 และด้วยความเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสินทรัพย์ประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท มีขนาดใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศไทย และติดอันดับ 1 ใน 10 ของอาเชียน ซึ่งกำลังประสบภาวะวิกฤตทางการเงินของโลกปัจจุบันทำให้แบงก์กรุงเทพ ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ธนาคารกรุงเทพจึงมีนโยบายที่จะปรับลดขนาดของธนาคารลงมา เพื่อให้มีความคล่องตัว

                การประกาศอำลาตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของนายชาตรี  โสภณพนิช ถือว่าเป็นกรณีศึกษาการเปลี่ยนผ่านผู้นำในช่วงวิกฤตการณ์

                จากรากฐานที่ชิน  โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารที่วางไว้อย่างดีและการสืบต่อผู้นำทางการบริหารจากนายบุญชู  โรจนเสถียร  มาถึงชาตรี  โสภณพนิช อย่างราบรื่นประกอบกับเสรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้ธนาคารกรุงเทพก้าวไปข้างหน้าอย่างไร้ปัญหา  เมื่อชาตรี โสภณพนิช คิดจะวางมือ จึงผลักดันให้ชาติศิริ  โสภณพนิช  ลูกชายขึ้นดำรงตำแหน่งแทนเมื่อสี่ปีก่อน เหมือนกับเมื่อครั้งที่บัญชา  ล่ำซำ  ดันลูกชายดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการก่อนที่ตนเองจะลาโลกไป

                แม้ชาตรีจะผลักดันให้ชาติศิริ  ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่เมื่อหลายปีก่อน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้นเกียรติภูมิของชาติศิริ จึงดูอ่อนด้อยเมื่อเปรียบเทียบกับบัณฑูร  ล่ำซำที่ในเวลาขณะนี้ก็ขึ้นไปเป็นประธานสมาคมธนาคารไทยแล้ว แต่การที่ชาตรีประกาศลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหารในปีหน้านั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเขาจะวางใจให้ลูกชายบริหารเพราะระบบที่วาไว้อย่างดีเยี่ยมจะทำให้การบริหารงานดำเนินไปได้ แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือวันนี้ชาตรียอมรับแล้วว่าถึงที่สุดเขาก็ไม่อาจครองหุ้นใหญ่ของธนาคารกรุงเทพได้อีกต่อไปในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้

                ศตวรรษ 21 เราจะได้เห็นผู้นำยุคใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างมากมายซึ่งต่างจากผู้นำยุคเก่าที่มีแต่จะโรยรา

และชาตรี  โสภณพนิช ก็เป็นตัวอย่างประเภทหลัง

หมายเลขบันทึก: 371668เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"ข้อมูลดีดี" เรามาอ่านก่อน..ได้รู้ก่อน..ดีจ้า..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท