กลยุทธ์เชิงธุรกิจ "กรณีศึกษา กลุ่มบริษัททีพีไอ"


การแก้ไขหนี้สิน สไตล์ผู้ประกอบการ

กรณีศึกษา กลุ่มบริษัททีพีไอ

การแก้ไขหนี้สินของผู้ประกอบการ

ปี 2539 เป็นปีที่กลุ่มทีพีไอได้บงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแบบครบวงจร รอเพียงการจัดการบริหารจัดการด้านการตลาด และการจัดการด้านการเงิน เพื่อรอเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุน แต่สภาพเศรษฐกิจได้ พลิกผันอย่างรวดเร็ว ทำให้กลุ่มทีพีไอได้รับผลกระทบ เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น เนื่องจากอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกต้องประสบปัญหาการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ ยอดจำหน่ายปูนซิเมนต์ตกต่ำ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซบเซา ทำให้การคาดการณ์ของทีพีไอผิดพลาดในขณะที่หนี้เงินกู้เริ่มทยอยครบกำหนดชำระคืนท่ามกลางปัญหาการขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนต้องหาทางออกด้วยการเจรจายืดหนี้

                สำหรับแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของบริษัททีพีไอ ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงดอกเบี้อเป็นทุน คิดเป็นวงเงินประมาณ 300 – 400 ล้าน ดอลลร์สหรัฐ การยือหนี้ระยะสั้น จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทออกไปอีก 5 ปี ส่วนหนี้ที่เหลืออีกประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ระยะกลางและระยะยาวบางส่วนจะยืดออกไป และบางส่วนก็อาจจะลดดอกเบี้ยลง

                ทีพีไอได้ให้นักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญด้านปิโตรเคมีประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจในอนาคต โดยคาดว่าภายหลังจากการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว สัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะลดจาก 2.78 เท่าเหลือ 2.2 เท่า และจะเหลือเพียง 1.7 เท่า หากมีการเพิ่มทุนได้สำเร็จ

                แผนของทีพีไอในครั้งนี้ต้องการที่จะลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุนให้เหลือ 1.5 เท่าภายในเวลา 4 ปี ซึ่งตามแผน 5 ปี ทีพีไอจะจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งจะเริ่มปีแรกในวันที่ 1 มกราคม 2542 และหลังจาก 5 ปี แล้วทีพีไอจะต้องจ่ายเงินต้นล้างหนี้จำนวน 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในงวดเดียว

                และในระหว่างดำเนินการแผน 5 ปี นายประชัย  เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีพีไอเป็นผู้บริหารหลัก เพื่อให้ผลการดำเนินงานมีรายได้มาชำระดอกเบี้ยกับเจ้าหนี้ตามสัญญาที่ระบุไว้ เพราะหากไม่สามารถชำระดอกเบี้ยให้กับเจ้าหนี้ได้ถือว่าผิดสัญญา เมื่อถึงเวลานั้นแล้ว สัญญาระบุไว้ชัดเจนว่า ทีพีไอจะต้องถูกยึดทรัพย์สินทั้งหมด

                ในรอบทศวรรษ 2530 ที่ผ่านไปนั้น เกิดปรากฎการณ์อย่างหนึ่งในสังคมไทย นั่นคือการสะสมทุนของนักธุรกิจระดับธรรมดาซึ่งมาจากอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ก้าวเข้าสู่ธุรกิจที่มีการใช้ทุนมากและมีการแข่งขันแบบน้อยรายซึ่งแต่เดิมมักจะเป็นการทำธุรกิจแบบ CARTEL กึ่ง ๆ ผูกขาดนั่นเอง

                กลุ่มทีพีไอจัดอยู่ในกลุ่มทุนลักษณะนี้เช่นกัน

                ประชัย  เลี่ยวไพรัตน์ เป็นผู้นำของกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ ตัวเขาเป็นกรณีศึกษาที่ดีเยี่ยมของการทำธุรกิจแบบเถ้าแก่(ENTREPRENEUR) นั่นคือทำธุรกิจเชิงรุก เห็นโอกาสทางธุรกิจก่อนคนอื่น ๆ กล้าได้กล้าเสียและพร้อมที่จะเสี่ยงหากเห็นว่าโอกาสทางธรกิจคุ้มค่าในระยะยาว แน่นอนเถ้าแก่คิดการณ์ใหญ่ พร้อมที่จะทำยุทธหัตถีกับเจ้าตลาดที่มีอยู่เดิมโดยไม่คำนึงถึงต้นทุน พวกเขาจึงต้องมีทุนหนา หากไม่มีก็จำเป็นต้องกู้มาเพื่อรบกับเจ้าตลาดที่มีฐานทุนดีกว่า จากการกระทำเช่นนี้จึงทำให้บริษัททีพีไอขาดทุน และเจ้าหนี้ก็ไม่ยอมรับและต้องการให้ประชัย  เลี่ยวไพรัตน์ลาออกจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เพราะเหล่าเจ้าหนี้มองว่าการดำรงอยู่ของเขาไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูกิจการ ในทางตรงกันข้ามอาจเป็นอุปสรรคเสียด้วยซ้ำเพราะประชัยเป็นผู้ก่อตั้งกิจการ จึงมีอิทธิพลต่อการกำหนดกลยุทธ์

                เถ้าแก่จะเหมาะต่อบริษัทในช่วงก่อตั้ง ซึ่งต้องการวิสัยทัศน์และความฮึกเหิมในการเอาชนะคู่แข่งขัน แต่ในยามที่ธุรกิจถดถอย บริษัทต้องการผู้ที่มีความสามารถในการฟื้นฟู ซึ่งควรจะเป็นคนนอกเพราะหากเป็นคนในก็อาจจะยึดติดกับสิ่งที่ตนเองสร้างขึ้นมา และที่สำคัญก็คือหากประชัยยังเป็นเบอร์หนึ่งของที่นี่ ด้วยสไตล์การบริหารของเขา ก็จะทำให้เหล่าเจ้าหนี้ควบคุมการบริหารงานได้ยากเย็นยิ่งขึ้น ดังนั้นโอกาสในการฟื้นฟูกิจการโดยที่ประชัยยังเป็นผู้บริหารสูงสุด ย่อมเป็นสิ่งที่เจ้าหนี้ไม่ยินยอม

                ในยามวิกฤต ผู้ก่อตั้งไม่ใช่โอกาสหากเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูกิจการ

 

หมายเลขบันทึก: 371666เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท