PanDA
นางสาว อัจฉรา แอนนา ชาวชั่ง

การนำเสนอกระบวนการผลิตชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนรู้ เรื่องจำนวนนับ และสมการ ของนักเรียนชั้น ป.4 (2)


การให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน

       1. การนำผลจากผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุง/แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

ผู้เชี่ยวชาญ คนที่ 1 คุณครูบุษบา ญาณเดชากุล

     ได้ให้ข้อเสนอแนะ คือ เพิ่มแบบฝึกหัดให้หลากหหลายยิ่งขึ้น

     การปรับปรุง / แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา คือ เพิ่มแบบฝึกหัดในแต่ละศูนย์ให้หลากหลาย และมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 คุณครูสิริรัญญา

      ได้แสดงความคิดเห็นที่ให้การปรับปรุงแก้ไข คือ ควรมีการสรุปเนื้อหาที่ชัดเจนและมีแบบฝึกหัดมากกว่านี้

      การปรับปรุง / แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา คือ แก้ไขโดยจะสรุปเนื้อหาในชุดการสอนนี้ให้ครอบคลุม และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ส่วนแบบฝึกหัดมีจำนวนข้อมากขึ้น

 ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3  คุณครูรัชชัย   ลุมมา

     ได้แสดงความคิดเห็นที่ให้การปรุปปรุงแก้ไข คือ ควรเพิ่มตัวอย่างให้มากกว่านี้ ให้เด็กเขียนสรุปความรู้ที่ได้ในแต่ละหน่วยเนื้อหาน้อยเกินไป ให้สมาชิกได้มีกิจกรรมทำร่วมกันมากกว่านี้

     ได้ให้ข้อเสนอแนะ คือ ควรเพิ่มสีสันหรือลายการ์ตูนให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

    การปรับปรุง / แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา คือ มีการเพิ่มตัวอย่างในแต่ละศูนย์ให้มากขึ้นกว่านี้ และจะมีกิจกรรมที่ให้เด็กทำร่วมกันมากขึ้น จะได้มีการตกแต่งชุดการสอนให้มีความสวยงามขึ้น       

 

      2. ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ที่เกิดขึ้น

   ตารางค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาในข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามเรื่องความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 3 คน

 

ข้อ 

หัวข้อ 

 

คะแนนผู้เชี่ยวชาญ 

ค่า

IOC

คนที่ 1

คนที่ 2

คนที่ 3

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

การจัดลำดับเนื้อหาครอบคลุมจุดประสงค์

ชุดการสอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนเข้าใจ

ชุดการสอนนี้มีเนื้อหาครบถ้วนตามกำหนด

เนื้อหาวิชาเป็นความจริง มีเนื้อหาคงที่

มีการเน้นและสรุปจุดสำคัญของเนื้อหาวิชาได้อย่างชัดเจน

มีกิจกรรม และทดสอบให้กับผู้เรียน

คุณภาพของชุดการสอน

ความสะดวกในการใช้งาน

ใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสอนของครูผู้สอนในชั้นเรียน

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

1

0

0

1

1

1

1

1

0

1

1

0

1

0

1

1

0

 

1

0.67

1

1

0.33

0.67

0.67

1

1

0.67

สูตรในการคำนวณ             

                IOC = åR

                                                                             N

 IOC   คือ   ดัชนีความสอดคล้อง

   R    คือ   คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

  åR   คือ   ผลรวมคะแนนของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน

   N   คือ   จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

      การกำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

+1    หมายถึง แน่ใจว่าถูกต้อง / สอดคล้อง / ตรงวัตถุประสงค์

 0    หมายถึง ไม่แน่ใจ

- 1   หมายถึง  แน่ใจว่ายังไม่ถูกต้อง / ไม่สอดคล้อง / ไม่ตรงจุดประสงค์

     ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

     ดังนั้น   พิจารณาคัดเลือกในหัวข้อ ที่มีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 0.50 ถึง 1.00 แสดงว่าจุดประสงค์นั้นวัดได้ครอบคลุมเนื้อหาใช้ได้  และถ้าข้อใดได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 0.50 ต้องนำไปปรับปรุงแก้ไข เพราะว่ามีความสอดคล้องกันต่ำ

คำสำคัญ (Tags): #ioc
หมายเลขบันทึก: 371397เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท