ความรับผิดชอบ ( أَمَانَةٌ )


เมื่อเราได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบทำงานใด จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงด้วยดี

 

 

ความรับผิดชอบ

               ความรับผิดชอบ ( أَمَانَةٌ ) หมายถึงความไว้วางใจ ความซื่อสัตย์ การกระทำที่แสดงถึงความรับผิดชอบ มักจะถูกนำมาใช้กับการทำงาน และการกระทำ เช่น ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบต่อการกระทำที่เกิดขึ้น เป็นต้น

                เมื่อเราได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบทำงานใด จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงด้วยดี

                ในฐานะที่เป็นมุสลิมที่ภักดีต่ออัลลอฮฺ ซ.บ. และเป็นผู้ที่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากพระองค์ ทรัพย์สินเงินทอง ลูกหลานและความโปรดปรานที่อัลลอฮฺ ซ.บ.ทรงมอบให้นั้นเป็นความรับผิดชอบ (أَمَانَةٌ) ที่เราจะต้องปกปักษ์รักษาและใช้ประโยชน์ไปในทางที่เหมาะสมตามหนทางที่อัลลอฮฺ ซ.บ.ทรงกำหนดไว้

                ความรับผิดชอบ (أَمَانَة) ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบในเรื่องใดก็ตาม ที่อัลลอฮฺ ซ.บ. ทรงมอบให้หรือที่มนุษย์มอบให้ ผู้รับมอบจะต้องไม่ละเลยหรือบิดพลิ้ว เพราะการกระทำดังกล่าวจะเกิดผลเสียหายกระทบในทุก ๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าการกระทำในระดับบุคคลหรือส่วนรวม ย่อมเกิดผลในลักษณะเดียวกัน

 

عَنْ ‏عَبْدِ اللَّهِ ‏رَضِيَ اللَّهُ عَنْه   أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم  قَالَ : " كُلُّكُمْ رَاعٍ فَمَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ فَاْلأَمِيْرُ الَّذِيْ عَلَى النَّاسِ رَاعٍ وَهُوَ مَسْئُوْلٌ عَنْهُمْ وَالرَّجُلُ رَاعٍ عَلَى أَهْلِ بَيْتِهِ وَهُوَ مَسْئُوْلٌ عَنْهُمْ وَالْمَرْأَةُ رَاعِيَةٌ عَلَى بَيْتِ بَعْلِهَا وَوَلَدِهِ وَهِيَ مَسْئُوْلَةٌ عَنْهُمْ  وَالْعَبْدُ رَاعٍ عَلَى مَالِ سَيِّدِهِ وَهُوَ مَسْئُوْلٌ  عَنْهُ  أَلاَ فَكُلُّكُمْ رَاعٍ وَكُلُّكُمْ مَسْئُوْلٌ عَنْ رَعِيَّتِهِ "

 

            หนึ่ง : เล่าจากอับดิ้ลลาห์ (ร.ด.) ว่าท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า พวกท่านทุกคนมีหน้าที่ และต้องถูกสอบถามงานในหน้าที่ของตน ผู้นำที่มีหน้าที่ปกครองผู้คนมีหน้าที่ และเขาต้องถูกสอบถามงานในหน้าที่ของเขา ผู้ชายมีหน้าที่ดูแลครอบครัว และเขาต้องถูกสอบถามเกี่ยวกับพวกเขา สตรีมีหน้าที่ดูแลบ้านของสามีและบุตรของเขา และต้องถูกสอบถามเกี่ยวกับพวกเขา ข้ารับใช้มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของผู้เป็นนาย และต้องถูกสอบถามถึงเรื่องนั้น  พึงทราบเถิดพวกท่านทุกคนมีหน้าทื่ และทุกคนต้องถูกสอบถามถึงงานในหน้าที่ของตน”

 

ความหมายโดยสรุป

ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ต้องการแจกแจงหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคนทั้งในระดับผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง เพื่อให้เกิดความชัดเจนในหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน โดยท่านได้กล่าวว่า  พวกท่านทุกคนมีหน้าที่ และต้องถูกสอบถามงานในหน้าที่ของตน ผู้นำมีหน้าที่ปกครองผู้คน และเขาต้องถูกสอบถามงานในหน้าที่ของเขา ผู้ชายมีหน้าที่ดูแลครอบครัว และเขาต้องถูกสอบถามเกี่ยวกับคนในครอบครัวของเขา สตรีมีหน้าที่ดูแลบ้านเรือนของสามีและบุตรของเขา และต้องถูกสอบถามเกี่ยวกับพวกเขา ข้ารับใช้มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของผู้เป็นนาย และต้องถูกสอบถามถึงเรื่องนั้น  พึงทราบเถิดพวกท่านทุกคนมีหน้าทื่ และทุกคนต้องถูกสอบถามถึงงานในหน้าที่ของตน

หะดีษบทนี้นอกจากจะสอนให้เรารู้ว่า ทุกคนมีหน้าที่และต้องรับผิดชอบงานในหน้าที่ของตนแล้ว ยังสอนให้เรารู้ดังนี้

  1. ผู้นำมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในระดับกว้าง  ต้องถูกสอบถามทุกเรื่องที่ตนรับผิดชอบ
  2. สามีเป็นผู้นำครอบครัว ต้องรับผิดชอบค่าเลี้ยงดูภรรยาและบุตร
  3. ภรรยามีหน้าที่ดูแลบ้านเรือนและบุตร และต้องรับผิดชอบตามนั้น
  4. คนรับใช้มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินและผลประโยชน์ของเจ้านาย และเขาต้องรับผิดชอบ

عَنْ أَبِيْ عَمْرٍو وَقِيْلَ أَبِيْ عَمْرَةَ سُفْيَانَ بْنِ عَبْدِ اللهِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ  " قُلْتُ يَارَسُوْلَ اللهِ قُلْ لِيْ فِي اْلإٍِسْلاَمِ قَوْلاً لاَ أَسْأَلُ عَنْهُ أَحَدًا غَيْرَكَ ، قَالَ " قُلْ آمَنْتُ بِاللهِ ثُمَّ اسْتَقِمْ " رواه مسلم

 

            สอง : เล่าจากอะบี อัมร์ (บางทัศนะว่า) อะบีอัมเราะห์ เขาชื่อซุฟยาน บุตร อับดิ้ลลาห์ (ร.ด.) ว่า ฉันได้กล่าวแก่ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺว่า ท่านจงบอกฉันประโยคหนึ่งในเรื่องของอิสลาม ซึ่งฉันจะไม่ถามมันกับผู้ใดอีกนอกจากท่านเท่านั้น  ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ ซ.ล. ได้กล่าวว่า “ ท่านจงกล่าวว่า ฉันศรัทธาต่ออัลลอฮฺ  หลังจากนั้นท่านจงทำงานตามหน้าที่ ” 

                                                                             รายงานโดยมุสลิม

               

ความหมายโดยสรุป

บรรดาซอฮาบะห์ของท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) มีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะศึกษาเรื่องราวของศาสนา  และนำหลักคำสอนอันสูงส่งไปปฏิบัติ  ซอฮาบะห์ท่านนี้ได้ขอให้ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) สอนศาสนาและหลักปฏิบัติให้แก่เขาโดยสรุปให้อยู่ในประโยคที่กระทัดรัดครอบคลุมถึงความหมายของอิสลามอย่างชัดเจนในตัวของมันเอง ที่เขาจะไม่ต้องไปถามผู้ใดอีก  ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้ใช้เขาให้ยืนหยัดอยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง ปฏิบัติตามคำบัญชา และออกห่างจากข้อห้ามทั้งหลาย  และท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ยังบ่งบอกด้วยว่า การศรัทธานั้นประกอบด้วย คำพูด  การกระทำ และความเชื่อมั่น หะดีษนี้เป็นหะดีษที่ใช้ถ้อยคำกระทัดรัด แต่มีความหมายลึกซึ้ง เพราะท่านรอซูลุ้ลลอฮฺได้รวมไว้ในคำตอบของท่านเพียงสองคำ ถึงความหมายของศรัทธา (อีหม่าน) และหลักปฏิบัติ (อิสลาม) ไว้ทั้งหมด

 

คำสอนที่ได้รับจากหะดีษบทนี้นอกจากใช้ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ที่แต่ละคนมี ทั้งในการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ และทำอิบาดะห์ต่อพระองค์เพียงพระองค์เดียวแล้วยังใช้ให้เราปฏิบัติดังนี้

  1. ซอฮาบะห์มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะศึกษาศาสนาและปกป้องศรัทธาของพวกตน
  2. การศรัทธา (อีหม่าน) ต้องประกอบไปด้วย การปฏิญาณด้วยลิ้น ความเชื่อมั่นศรัทธาด้วยหัวใจ และการกระทำด้วยเรือนร่าง

                       عَنْ عَمْرِوبْنِ شُعَيْبٍ عَنْ أَبِيْهِ عَنْ جَدِّهِ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ :  قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صلى الله عليه وسلم : " عَلِّمُوْا أَوْلاَدَكُمْ بِالصَّلاَةِ وَهُمْ أَبْنَاءُ سَبْعِ سِنِيْنَ ، وَاضْرِبُوْهُمْ عَلَيْهَا ، وَهُمْ أَبْنَاءُ عَشْرٍ وَفَرِّقُوْا بَيْنَهُمْ فِي الْمَضَاجِعِ " رواه أبو داود

               สาม :  เล่าจากอัมร์ บุตร ชุอัยบ์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา (ร.ด.) ว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า พวกท่านจงสอนบุตรหลานของพวกท่านให้ละหมาด ขณะเมื่อพวกเขามีอายุได้เจ็ดขวบ  และพวกท่านจงเฆี่ยนพวกเขาที่ทิ้งละหมาด ขณะเมื่อพวกเขามีอายุได้สิบขวบ  และพวกท่านจงแยกพวกเขาในที่นอน”

                                                            รายงานโดยอะบูดาวูด

ความหมายโดยสรุป

                ท่านนบี (ซ.ล.) ต้องการอธิบายให้ทราบถึงหน้าที่ของผู้ปกครองที่จะต้องให้การอบรมและสั่งสอนบุตรหลานให้ปฏิบัติละหมาดและเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง เมื่อพวกเขามีอายุได้เจ็ดขวบ เพื่อเป็นการฝึกฝนให้เกิดความคุ้นเคยกับการปฏิบัติรุก่นอิสลามที่มีความสำคัญยิ่ง ตั้งแต่เยาว์วัย และถ้าหากบุตรหลานยังไม่ยอมปฏิบัติจนเมื่ออายุถึงสิบขวบ ผู้ปกครองจะต้องลงโทษด้วยการเฆี่ยนที่ไม่ทำให้เกิดบาดแผลหรือเป็นอันตราย  แต่เป็นการเฆี่ยนเพื่อให้เกิดความหลาบจำเท่านั้น. 

คำสอนที่ได้จากหะดีษบทนี้นอกจากจะสอนให้ผู้ปกครอง มีหน้าที่โดยตรงในการให้การศึกษาแก่บุตรหลาน ในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติทางศาสนาแล้วยังสอนผู้ปกครองดังนี้

  1. ฝึกฝนบุตรหลานให้ปฏิบัติละหมาดตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ เพื่อให้เกิดความเคยชิน
  2. ลงโทษเมื่อบุตรหลานมีอายุสิบปีถ้าทิ้งละหมาด  เพื่อให้เกิดความหลาบจำ

عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ أَنَّ رسولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ : " مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ اْلآخِرِ فَلاَ يُؤْذِ جَارَهُ  ، وَ مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ اْلآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ  وَمَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللهِ وَالْيَوْمِ اْلآخِرِ فَلْيَقُلْ خَيْرًا أَوْ لِيَسْكُتْرواه البخاري ومسلم

           สี่ : เล่าจากอะบีฮุรอยเราะห์ (ร.ด.) ว่าท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า “ ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันสุดท้าย เขาอย่าคุกคามเพื่อนบ้านของเขา  ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันสุดท้าย ให้เขาจงให้เกียรติแก่แขกของเขาที่มาเยือน  ผู้ใดศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันสุดท้าย ให้เขาจงพูดแต่สิ่งที่ดี หรือถ้าไม่เช่นนั้นก็ให้เขาจงนิ่งเสีย” 

                                                   รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม

ความหมายโดยสรุป

ท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ได้บอกให้พวกเราทราบว่า มุสลิมผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และวันสุดท้ายจะต้องมีพฤติกรรมที่ดีงาม ต้องเป็นคนที่มีมารยาท มีจริยธรรมนั่นคือ เขาจะต้องไม่คุกคามเพื่อนบ้านของเขาให้ได้รับความเดือดร้อน  เขาจะต้องให้เกียรติแก่แขกของเขาที่มาเยือน  และเขาจะพูดแต่เรื่องที่ดีงามเช่นแนะนำตักเตือนกันให้ทำความดี และห้ามปรามกันจากการทำความชั่ว ถ้าเขาไม่พูดเรื่องที่ดี เขาก็จะนิ่งเสีย

 หะดีษบทนี้ส่งเสริมให้ทุกคนให้เกียรติแก่แขกที่มาเยือนด้วยการต้อนรับอย่างดี นอกจากนี้ยังส่งเสริม ดังนี้

  1. มุสลิมต้องไม่ทำการใดๆให้เพื่อนบ้านได้รับความเดือดร้อน
  2. มุสลิมต้องพูดแต่ในเรื่องที่ดี  ถ้ามิเช่นนั้นต้องนิ่งเสีย

عَنْ أَبِيْ عَبْدِ اللهِ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللهِ الأَنْصَارِيِّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا : "أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ رسولَ اللهِ صلى الله عليه وسلم فقال : أَرَأَيْتَ إِذَا صَلِّيْتُ الْمَكْتُوْبَاتِ وَصُمْتُ رَمَضَانَ وَأَحْلَلْتُ الْحَلاَلَ وَحَرَّمْتُ الْحَرَامَ وَلَمْ أَزِدْ عَلَى ذَلِكَ شَيْئًا أَدْخُلُ الْجَنَّةَ ؟ قَالَ  :  نَعَمرواه مسلم

 ห้า - เล่าจากอะบีอับดิ้ลลาห์  ชื่อญาบิร บุตร อับดิ้ลลาห์  อัลอันซอรีย์ (ร.ด.)ว่า มีชายคนหนึ่งถามท่านรอซูลุ้ลลอฮฺ (ซ.ล.) ว่า ขอท่านได้โปรดบอกฉันเถิดว่าถ้าหากฉันได้ละหมาด (ห้าเวลา) ที่ตกหนักเหนือฉัน ได้ถือศีลอดในเดือนรอมาดอน ได้อนุมัติสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (ฮาลาล)  และได้ห้ามสิ่งที่ศาสนาห้าม (ฮารอม)  โดยฉันจะไม่เพิ่มเติมไปจากนั้น ฉันจะได้เข้าสวรรค์ไหม ?  ท่านตอบว่า  แน่นอน (ท่านต้องได้เข้าสวรรค์) 

                                                              รายงานโดยมุสลิม

ความหมายโดยสรุป

ท่านญาบิร บุตร อับดิ้ลลาห์ ได้รายงานให้พวกเราได้ทราบว่ามีชายคนหนึ่งจากเหล่าซอฮาบะห์ได้มาหาท่านนบี (ซ.ล.) แล้วถามท่านขึ้นว่า เมื่อฉันได้ปฏิบัติละหมาดห้าเวลาที่ตกหนักเหนือฉันทุกวัน ฉันได้ถือศีลอดในเดือนรอมาดอน ฉันได้กระทำสิ่งอนุมัติโดยเชื่อมั่นว่าเป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ และออกห่างจากสิ่งต้องห้ามโดยเชื่อมั่นว่าเป็นสิ่งที่ศาสนาห้าม  ฉันจะได้เข้าสวรรค์ไหม ? ท่านนบี (ซ.ล.) ตอบว่า แน่นอนท่านต้องได้เข้าสวรรค์  ในหะดีษนี้ไม่ได้กล่าวถึง ซะกาต และฮัจญ์  เป็นไปได้ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนที่ ซะกาต และฮัจญ์จะถูกกำหนดมา  หรือทั้งสองประการนี้ได้รวมอยู่ในคำว่าสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ(ฮาลาล) แล้ว  และท่านนบี (ซ.ล.) ไม่ได้กล่าวสิ่งที่เป็นสุนัตต่างๆ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เขา เนื่องจากเขาเพิ่งเข้ารับอิสลาม และเพื่อไม่ทำให้เขาเตลิดหนีจากหลักการของอิสลามถ้าหากเขาเห็นว่ามีมาก  และท่านนบี (ซ.ล.) ทราบดีว่าเมื่ออิสลามได้หยั่งรากลึกแล้ว เขาก็จะเกิดความรักในการปฏิบัติสิ่งที่เป็นสุนัต ต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่เป็นหน้าที่  หรือเพื่อไม่ให้เขาคิดไปเองว่าสุนัต ต่างๆนั้นเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ  ท่านนบี (ซ.ล.) จึงไม่ได้กล่าวถึงสุนัตต่างๆ.

 คำสอนที่ได้รับจากหะดีษนี้ นอกจากสอนให้เรารู้ว่า เราจำเป็นต้องเชื่อว่า สิ่งที่ศาสนาอนุมัติ เป็นสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ และสิ่งที่ศาสนาห้ามเป็นสิ่งที่ศาสนาห้าม และจะต้องออกห่างไกล นอกจากนี้ยังสอนให้เรารู้ว่า ดังนี้

  1. ซอฮาบะห์มีความต้องการทำความเข้าใจเรื่องศาสนาของพวกเขา
  2. คนที่เสียชีวิตไป โดยเขามีความบริสุทธิ์ใจในการทำอิบาดะห์เพื่ออัลลอฮฺองค์เดียว พร้อมกับปฏิบัติสิ่งที่ศาสนาใช้ให้ปฏิบัติ และออกห่างไกลจากสิ่งที่ศาสนาห้าม เขาได้เข้าสวรรค์
  3. การปฏิบัติตามหน้าที่อย่างครบถ้วนเป็นเหตุให้ได้เข้าสวรรค์

 

 

 

 

แบบประเมินตนเอง เรื่อง “ความรับผิดชอบ

 

คำชี้แจ้ง          แบบประเมินนี้ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการรวบรวมข้อมูล เพื่อการประเมินผลการเรียนรู้ เรื่อง “ความรับผิดชอบ แบบประเมินนี้มี 4 ระดับ  และให้นักเรียนประเมินตนเองให้ตรงกับความเป็นจริง แล้วเขียนเครื่อง (P) ลงในช่องของระดับการประเมินตนเอง เรื่อง “ความรับผิดชอบ” ซึ่งมีจริงมาก,จริง,จริงเป็นบางครั้ง และไม่จริง

ที่

รายการ

ระดับการประเมิน

จริงมาก

จริง

จริงเป็นบางครั้ง

ไม่จริง

1

ทำงานด้วยความรับผิดชอบ

 

 

 

 

2

รับผิดชอบต่องานที่ครูมอบให้

 

 

 

 

3

ละเลยต่อความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

 

4

การขาดความรับผิดชอบ มีผลกระทบต่อบุคคลและส่วนรวม

 

 

 

 

5

มีความรับผิดชอบของต่อเวรประจำวันในห้องเรียน

 

 

 

 

6

ดูแล รักษาทรัพย์สินของโรงเรียน

 

 

 

 

7

มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการเรียน

 

 

 

 

8

มีภาวะการณ์เป็นผู้นำ

 

 

 

 

9

ปฏิบัติตามหน้าที่ ๆ ได้รับหมายจากอัลลอฮ์ ซ.บ.

 

 

 

 

10

ศึกษาศาสนาและปกป้องศาสนา

 

 

 

 

11

ศรัทธาพร้อมปฏิบัติ

 

 

 

 

12

ขาดความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากพ่อ แม่ ครูอาจารย์

 

 

 

 

13

ทำงานที่ได้รับมอบหมายจากครอบครัวได้ครบถ้วยสมบูรณ์

 

 

 

 

14

มีพฤติกรรมดี และมารยาทดีงาม

 

 

 

 

15

ไม่ทำให้เพื่อนบ้านเดือนร้อน

 

 

 

 

16

อยู่ไม่นิ่ง

 

 

 

 

17

ไม่แคร์ กับงานที่ได้รับมอบหมาย

 

 

 

 

18

ทำงานตามสิ่งที่ศาสนาอนุมัติ (ฮาลาล)

 

 

 

 

19

ทำทุกอย่างที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด

 

 

 

 

20

ชีวิต คือความรับผิดชอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 371303เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท