• การทำ KM เริ่มด้วยการทำให้พนักงาน (“คุณกิจ”)มี “ใจเปิด” มีทักษะในการทำให้ใจเปิด
• ทั้งทักษะในการเปิดใจของตนเอง และการสร้างบรรยากาศในการทำให้เพื่อนร่วมงานเปิดใจ
• ตัวกระตุ้นให้ใจเปิดได้ง่ายคือการเล่าเรื่องราวของความสำเร็จ
• การทำ AAR และ BAR เป็นแบบฝึกหัดของการเปิดใจ
• การเปิดใจมีความหมาย ๒ อย่าง (๑) เปิดให้สิ่งที่อยู่ในใจออกมา (๒) เปิดรับความคิด ความรู้สึกของผู้อื่น
• ใจที่เปิด จึงเป็นใจที่มีสติอยู่ตลอดเวลา การทำ KM จึงเท่ากับเป็นการเจริญสติแบบหนึ่ง
• สุนทรียสนทนา (dialogue) เป็นเครื่องมือเปิดใจ และเมื่อใจเปิด จะทำสุนทรียสนทนาได้ผลดี
• การทำ KM แบบจับความรู้ใส่ตุ่ม (ICT) โดยใจยังไม่เปิด จะทำให้ KM นั้นล้มเหลว
• ที่ต้องเปิดใจก่อน ก็เพราะคุณค่าของ KM ร้อยละ ๘๐ อยู่ที่ “ความรู้ฝังลึก” ถ้าใจไม่เปิด ความรู้ฝังลึก เข้า-ออกไม่ได้
วิจารณ์ พานิช
๑๕ เมย. ๔๙
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย Prof. Vicharn Panich ใน KMI Thailand
คำสำคัญ (Tags)#เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 37112, เขียน: 05 Jul 2006 @ 07:53 (), แก้ไข: 11 Feb 2012 @ 15:16 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, ความเห็น: 1, อ่าน: คลิก