Tacit knowledge ของเขา คือ Explicit knowledge ของเรา


Tacit knowledge ของเขา คือ Explicit knowledge ของเรา

เมื่อได้รับ Tacit knowledge ของใครมา ไม่ว่าจะผ่านทางอายตนะใด ๆ ก็ตาม พึงที่จะกลั่น กรอง สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นด้วยจิตใจที่เป็นกลาง เพื่อที่เอาเฉพาะ "แก่น" ที่จะตกลงสู่ก้นบึ้งของจิตใจ

ปัญหาเรื่อง Tacit และ Explicit knowledge นั้นในปัจจุบันอาจจะแบ่งง่าย ๆ เป็นสองอย่างหลัก ๆ คือ ปัญหาแรก คือ "ปัญหาเรื่องการตีความ" คือ อันนี้ใช่ไหม อันนั้นโน้นหรือไม่ ส่งที่เขาพูดมานั้นเป็นอะไร สิ่งที่ฉันทำไปเป็น Tacit หรือ Explicit กันแน่ นี้อย่างหนึ่ง

ปัญหาที่สองคือ "ปัญหาการนำไปใช้" หลาย ๆ ครั้งที่เคยพบเห็น มีการนำ Tacit knowledge ของบุคคลอื่นไปใช้แบบดื้อ ๆ แล้วก็ทำแบบซึมกะทือ หัวดื้อ หัวรั้นว่า สิ่งที่ฉันได้ฟังมานั้นเคยประสบความสำเร็จมาแล้ว

แต่เมื่อทำไปก็ทำสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง แต่ทำสำเร็จก็ยกประโยชน์ให้ตัวเองมา "ฉันเก่ง" แต่ถ้าทำไม่สำเร็จก็ไปโทษผู้ที่ให้ Tacit knowledge มานั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ปฏิบัติงานจริงซึ่งมี "การศึกษาน้อย" น้อยนั้นว่า "โม้" ไม่เห็นจริงตามที่พูด

ปัญหาที่สองนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่รู้จักแยกแก่น แยกกระพี้ คนที่ทำงานจริงจนสามารถนำ Tacit knowledge มาเล่าให้เราฟังได้นั้น เขารู้จักใช้สัดใช้ส่วนระหว่างแก่นกับกระพี้อย่างพอเหมาะ พอเจาะ เวลาใดควรเติมแก่นในสัดส่วนเท่าไห เวลาอะไรควรใช้กระพี้เท่าไหร่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับ "ประสบการณ์"

ปัญหาที่สองนี้เองมีต้นเหตุจากความเชื่อของนักวิชาการที่ว่า เราสามารถนำประสบการณ์ทั้งหลาย ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทั้งปวง มาบันทึกใส่ไว้ในกระดาษและประกาศออกไปตามสารสนเทศต่าง ๆ

ด้วยความเชื่อนี้เอง จึงทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาแบบใหม่ ๆ เพื่อที่จะสกัดเขา Tacit knowledge ทั้งหลายนั้นให้ออกมาในเชิง "รูปธรรม"

ข้อมูลที่ถูกเผยแผ่หรือกระจายออกมานั้นจะแน่น จะดี จะถูก หรือจะผิด ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ที่ลงไปขุด ไปคุ้ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่นำเสนอนั้นหรือไม้

ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดของข้อมูลนั้นคือ ทิฏฐิ มานะ อัตตา และตัวตน ของผู้ที่ลงไปทำงาน ถ้ามีตัวแปรทั้งสี่ที่กล่าวข้างต้นมาก ความผิดพลาดของข้อมูลที่ออกมาย่อมมากตาม แต่ถ้าบุคคลใดที่มีทิฏฐิ มานะ อัตตา และตัวตนน้อย ความผิดพลาดย่อมน้อยตามหรือเรียกได้ว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีความ "น่าเชื่อถือ"

ทิฏฐิ มานะ อัตตา และตัวตนนั้น จะเป็นโปรโมชั่นเสริมจาก "ปริญญา" และถ้าหากบุคคลใดมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง ก็ยิ่งทำให้ "หัวสูง" บุคคลที่หัวสูงย่อมที่จะไปขุดคุ้ยของที่อยู่ต่ำ ๆ อยู่ลึก ๆ ในระดับก้นบึ้งของจิตใจได้

ประสบการณ์ของบุคคลที่เรียนสูงจะเข้าไปกดทับความรู้ของผู้ปฏิบัติ ด้วยการตั้งแง่ทางวุฒิการศึกษาอย่างหนึ่ง ตั้งแง่ด้วยอาชีพอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ด้วยฐานะอย่างหนึ่ง ตั้งแง่ด้วยเกียรติทางสังคมอีกอย่างหนึ่ง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้เป็นกำแพงขวางกั้นตัวเรากับ Tacit knowledge ที่เราพึงจะเจอ...

คำสำคัญ (Tags): #explicit knowledge#tacit knowledge
หมายเลขบันทึก: 371050เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณท่าน อาจารย์ปภังกร ครับ

แวะมาอ่าน และ น้อมรับ

เรื่องราวของ tacit และ explicit knowledge ครับ

ทิฏฐิ มานะ อัตตา เป็นตัวปิดกั้นการเรียนรู้อย่างมากนะครับ...

จะเรียกว่าอะไรไม่สำคัญ เท่าการสะสมความรู้จากการลงมือทำ เป็นการ เรียน+รู้ (รู้ผิด รู้ถูก รู้แก้) = ประสบการณ์ ถ้าทำงานอย่างใดด้วยใจชอบ ทำเป็นประจำเกิดความชำนาญ เป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างถ่องแท้ เพราะ รู้ทำ รู้แก้ รู้พัฒนาไม่หยุดนิ่ง ปรมาจารย์ผู้เชี่ยวชาญชำนาญการในเรื่องนั้นเป็นของจริง ไม่ใช่รู้เสมือน หรือเสมือนรู้ คือดูเขาแล้วเอามาเล่า ลงมือด้วยปาก คงยากที่จะให้ใครที่เขามีปัญญาเชื่อ เพราะการฝึกอบรมเป็นพิธีกรรมที่ขยันทำกันจริง ให้ได้ปริมาณที่เขากำหนดต้องทำ สิ้นเปลืองงบประมาณไปปีละมากมาย หาใช่หนทางพัฒนาศักยภาพ ของมนุษย์ การให้โอกาสให้ทรัพยากรสนับสนุนอย่างพอเพียงเพื่อให้ได้งานที่ต้องการ น่าจะเป็นวิธีการที่น่าให้การสนับสนุน นักพูด นักรับจ้างพูด มีมากเกินพอแล้ว

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

  • เข้ามาอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหา...
  • Tacit knowledge และ Explicit knowledge ที่ท่านกล่าวมา
  • ซึ่งเป็นปัญหาที่เรียกว่าแทบจะเป็นปัญหาโลกแตกไปเสียแล้ว
  • คงต้องใช้เวลานานกว่าจะแก้ไขให้ดีกว่านี้ ซึ่งไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าไร
  • ขอบพระคุณแง่คิดมุมมองคุณภาพดีดีเช่นนี้ค่ะ.

ปัญหาของวงการวิชาการบ้านเราในทุกวันนี้ก็คือ "ปัญหาที่คนช่างคิดมาเถียงกัน" ต่างคนก็ต่างคิด เวลาคนคิดมันก็คิดกันไปได้เรื่อย

แต่ถ้าคนทำงานจริง ๆ เขาไม่เถียงกัน แต่เขา "คุยกัน" นำประสบการณ์ที่ทำมา "แชร์" กัน

การแชร์ความคิดนั้น "วุ่นวาย" แต่การแชร์ประสบการณ์นั้นคือ "การหมุนเกลียวทางความรู้"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท