โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

หลักธรรมคำคมข้อคิดชีวิตรักจากแดจังกึม7


คล้ายกับภาษิตไทยที่ว่า เมื่อไม่มีสิ่งที่เราพอใจ ก็จงพอใจในสิ่งที่เรามี ซังกุงสูงสุดใช้หลักการนี้ในการเลือกซังกุงสูงสุดคนใหม่
หลักธรรมคำคมข้อคิดจากแดจังกึม 7
โสภณ เปียสนิท
........................................
                “แต่ซังกุงชองเป็นผู้รักดนตรี เขียนกวี และใช้ชีวิตอย่างเสรี เรื่องยุ่งยากเช่นนี้ เกรงว่าจะไม่พอใจนัก” (แดจังกึม/หน้า221/เล่ม1)
                นี่ก็มีแง่มุมให้คิด มีคำคมฝรั่งว่า Don’t buy book because its cover. อย่าซื้อหนังสือเพราะว่าปกสวย หรือ All that glitter is not gold. เห็นสิ่งที่แวววาวอย่าเพิ่งนึกว่าทอง ภาษิตทั้งสอง มีความหมายกว้าง ๆ ว่า อย่าตัดสินสิ่งที่เห็นโดยขาดการพิจารณา ซังกุงชองภายนอกแสดงตนว่าเป็นผู้ที่รักดนตรี ชอบบทกวี รักความเป็นอิสระ แต่โดยเนื้อแท้แล้วซ่อนความเก่งด้านอื่นไว้อีกมาก
                “ซังกุงสูงสุดออกอาการไม่ใคร่ยินดีนัก แต่ก็ผงกศีรษะรับทราบ ในภาวการณ์ที่ไม่อาจมีวิธีที่ดีที่สุดเช่นนั้น วิธีที่รองมาก็ย่อมเป็นวิธีที่ดีที่สุดเช่นกัน” (แดจังกึม/หน้า 221/เล่ม1)
                ภาษิตนี้ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ คล้ายกับภาษิตไทยที่ว่า เมื่อไม่มีสิ่งที่เราพอใจ ก็จงพอใจในสิ่งที่เรามี ซังกุงสูงสุดใช้หลักการนี้ในการเลือกซังกุงสูงสุดคนใหม่ เพื่อขัดตาทัพ รอเวลาที่เหมาะสมคัดเลือกคนของตนขึ้นดำรงตำแหน่งในตอนต่อไป
                “...แถวหลังมีไหขนาดใหญ่เรียงอยู่หลายสิบใบ ตรงกลางเป็นไหขนาดรองลงมา ด้านหน้าเป็นไหขนาดเล็ก ส่วนด้านหน้าสุดเห็นเป็นไหขนาดเท่าขวดสุราเรียงจนแน่นบริเวณ ดังคำโบราณว่าไว้ บ้านใดมีไหหมักเรียงรายไว้เต็ม จนดูสวยงาม บ้านนั้นย่อมีแค่ความจริญรุ่งเรือง” (แดจังกึม/หน้า222/เล่ม1)
                คนไทยโบราณนิยมเก็บเกี่ยวข้าวใส่ยุ้งฉางไว้ให้พอเพียงตลอดปี แสดงถึงความมั่นคงมั่งคั่งทางฐานะ เกาหลีใช้ไหหมักอาหารไว้บ่งบอกความมั่นคงทางฐานะเช่นกัน
                “จะเป็นดั่งใจมามาได้หรือ? ข้าน้อยเองก็พยายามอยู่แบบไม่ลำบาก แต่ก็ต้องลำบากอยู่เสมอ” (แดจังกึม/หน้า224/เล่ม1)
                คำสัจจ์ คือคำพูดจริงและตรง ไม่ว่าจะมาจากเด็กหรือผู้ใหญ่ย่อมให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใคร่ครวญได้เสมอ จังกึมในวัยเยาว์กล่าวคำสัจจ์นี้ ทำให้ซังกุงผู้รักความสงบไม่นิยมความวุ่นวายคนหนึ่ง ตัดสินใจรับตำแหน่งซังกุงสูงสุด
                “เล่นอยู่คนเดียวจนเริ่มเบื่อ ครานี้จะลองเล่นบนเวทีผู้อื่นดูบ้าง” (แดจังกึม/หน้า224/เล่ม1)
            เมื่อตัดสินใจรับตำแหน่ง ซังกุงชองยอมรับความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างใจเย็น
                “ขณะที่มองดูด้วยความประหลาดใจซังกูงสูงสุดพลันเดินเข้าหาเครื่องใช้ปรุงอาหาร ทั้งหั่น ทั้งยำ ทั้งปรุง ฝีมือที่เห็นตรงหน้านี้กลับมิคล้ายมาจากผู้ที่เฝ้าห้องไหหมัก” (แดจังกึม/หน้า225/เล่ม1)
                สุนทรภู่เขียนคำกวีไว้ว่า “อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเฉือนฟันให้บรรลัย” ซังกุงชองรับหน้าที่ดูแลไหหมักผักผลไม้มานาน จนผู้อื่นหมิ่นว่าอาจทำอาหารไม่ดี แต่เมื่อถึงคราวแสดงฝีมือกลับทำได้อย่างแคล่วคล่องชำนาญ เหมือนคำของสุนทรภู่ข้างต้น ตรงนี้มีแง่คิดว่า คนเราทุกคนมีนิสัยถาวรประการหนึ่งพึงขัดเกลาคือ “การยกตนข่มผู้อื่น”
                ในการปรุงอาหารอาจมีการแบ่งสูงแบ่งต่ำในเรื่องฝีมือ แต่ในเรื่องการชิมทุกคนล้วนมีโอกาสเท่าเทียมกัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่าอาหาร ถ้าพวกเจ้าพยายามฝึกฝนตนเอง ไม่มีอายุมากหรือน้อย ต่อไปจะได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ต่อให้ตำแหน่งซังกุงสูงสุดนี้ก็สามารถยังให้แก่ผู้ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม ขอให้ทุกคนตั้งใจฝึกฝนให้จงดี” (แดจังกึม/หน้า229/เล่ม1)
                นับเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา เรื่องการทำอาหารอาศัยการฝึกฝน ฝึกมากได้มาก ฝึกน้อยได้น้อย ส่วนเรื่องการชิมอาหารนั้นเป็นเรื่องของพรสวรรค์ ซังกุงชองมีคุณธรรมของผู้ใหญ่ให้ความเมตตาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าเทียมกัน โดยไม่ลำเอียง เพราะรัก หลง เกลียด กลัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี
...ซังกุงฮันได้เรียกจังกึม มอบหมายงานพิเศษหลังจากงานประจำวัน กล่าวคือ สั่งให้ขึ้นเขาให้ครบร้อยวัน และหาสมุนไพรกลับมาร้อยชนิด ในช่วงเวลาร้อยวันดังกล่าว จังกึมได้แต่ขุดสมุนไพร ทั้งต้ม ทังตากแห้ง ทั้งทอด ทั้งผัด และทั้งกินสด ๆ จากนั้น จึงบันทึกรสชาติและกลิ่นไว้โดยละเอียด” (แดจังกึม/หน้า230/เล่ม1)
                พระศาสดาของชาวพุทธตรัสสอนไว้ว่า ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก ซังกุงฮันใช้หลักการเดียวกันนี้มอบการบ้านให้จึงกึมทำ จึงกึมเป็นนักเรียนที่มีอิทธิบาท 4 คือ มีความรักในความรู้ มีความเพียร มีความตั้งใจ มีการใคร่ครวญพิจารณา
...แม้ได้ร่ำเรียนไปมากมาย แต่ความอยากรู้อยากเห็นของจังกึมมิได้ลดน้อยลงแต่อย่างใด ทั้งยังได้ก่อเหตุขึ้นอีกหลายครั้งเช่น เมื่อต้องการคำนวณเวลาที่น้ำเดือดจนปล่อยหม้อให้ถูกเผาไหม้ไปหลายใบ หรือครั้งที่ต้องการหาว่าเชื้อเพลิงประเภทใดดีที่สุด จึงได้เอาไม้ที่มีมาเผาเล่นจนเกิดเพลิงในเตาอยู่หลายครั้ง ยังทำแม้กระทั่งกินถ่านในครัว เพียงเพราะอยากรู้รสชาติว่าเป็นเช่นไร” (แดจังกึม/หน้า231/เล่ม1)
                เนื้อความนี้แสดงให้เห็น “ความรักในความรู้” ของจังกึมอย่างเด่นชัด ไม่ว่าคนคนนั้นจะมีสติปัญญามากน้อยเพียงใด ผิวพรรณเป็นอย่างไร เป็นชนชาติใด หากมีความรักในความรู้ มีจิตใจดีงามเหมือนจังกึม คนผู้นั้นย่อมก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ของชีวิตได้แน่นอน
การทำความดีนั้นมิใช่รอให้โอกาสมา เพราะโอกาสมักมาหาคนมีฝีมือเสมอ” (แดจังกึม/หน้า243/เล่ม1)
                คำสอนในพุทธศาสนามีอยู่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” คือให้ดิ้นรนขวนขวายทุกวิถีทางเพื่อทำตนให้เจริญก้าวหน้าสู่ความสุข ห้ามศาสนิกชนใช้หลักการ “อ้อนวอนแล้วนอนคอย” มีบทกวีสอนใจดังนี้ “จงเตือนตนของตนให้พ้นผิด ตนเตือนจิตตนได้ใครจะเหมือน ตนเตือนตนไม่ได้ใครจะเตือน ตนแชเชือนใครจะเตือนให้ป่วยการ” โอกาสอยู่ที่การแสวงหาครับ
คิดว่าเครื่องเสวยของฝ่าบาทมีไว้เพื่อฝึกปรือมีมือพวกเจ้าหรือไร? เหตุใดจึงไม่คิดฝึกปรือพัฒนาฝีมือ เอาเวลามาวิจารณ์ผู้อื่นกันเช่นนี้?” (แดจังกึม/หน้า243/เล่ม1)
                มีพุทธภาษิตอยู่ว่า คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก การวิจารณ์ผู้อื่นลับหลังคือการนินทานั้นเอง  คนจำนวนมากใช้เวลาไปกับการนินทาผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว (บางคนนินทาทั้งที่รู้ตัว) และไม่มุ่งมั่นพัฒนาตัว มุ่งมั่นหาปมเขื่องให้ตน เพื่อลบปมด้อยในจิตตน คนจำนวนมากตกเป็นทาสของกิเลสข้อนี้จนจิตมืดดำร่านทุรนร้อนเร่า
หลังปฐมพยาบาลเบื้องต้น จึงได้จับชีพจร ถ้าไม่สายเกินการณ์มากนัก บรรดาสหายที่มาพบเห็น คงพอช่วยเหลือได้แม้มิใช่ถูกต้องที่ทิ้งคนบาดเจ็บไว้เช่นนี้ แต่หากสายกว่านี้ตนคงต้องเสียชีวิตเป็นแน่ จังกึมเร่งคว้าคึมเก ก่อนวิ่งจากไปแต่ปัญหาคือ คึมยองได้ออกเดินทางจากที่พักของชเวพันซุลเรียบร้อยแล้ว” (แดจังกึม/หน้า258/เล่ม1)
                ความเมตตาฝังลึกในจิตของจังกึม แม้มีความจำเป็นต้องเร่งรีบมีชีวิตตนเองเป็นเดิมพัน แต่ยังอดห่วงใยคนบาดเจ็บไม่ได้ จิตใจที่ดีงามเช่นนี้ควรใช้วิธีใดปลูกฝั่งสั่งสอนให้เกิดขึ้นในจิตของคนทุกคน การปฏิรูปการเรียนรู้ของไทยครั้งใหม่น่าจักมีแนวทางชัดเจนต่อการสร้างคุณธรรมในใจของเยาวชน
ครั้งที่เป็นนางวัง เรามีสหายผู้หนึ่ง นางเป็นคนที่อยากรู้อยากเห็นและน้ำใจงดงามเหมือนเช่นเจ้า วันหนึ่ง ก็ถูกขับออกจากวัง แต่เราไม่อาจช่วยเหลืออะไรได้เลย” (แดจังกึม/หน้า263/เล่ม1)
                จิตใจเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซังกุงฮันอย่างไรก็ไม่ลืมเพื่อนรักผู้จากไป ความรักความผูกพันเหมือนมีดสองคม เหมือนเหรียญสองด้าน ด้านหนึ่งสวยงามอ่อนหวานน่าพิสมัย ไม่นานผุพังเปลี่ยนแปรจากไปน่าชิงชัง มีหลักธรรมสำหรับเตรียมใจไว้ล่วงหน้า “การพบเป็นสัญญาณของการจาก การพลัดพรากเป็นสัญญาณการคืนหา ไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา ไปแล้วมา มาแล้วไปก็คล้ายกัน”
ซังกุงฮันมิได้หันกลับมามอง บริเวณด้านหลังจังกึม เห็นเป็นซังกุง นางวัง และเซ็งกักชิยืนมองด้วยอาการเสียดาย ยองโนที่สะใจ แต่ก็อดไม่ได้ให้รู้สึกใจหายวาบ เช่นเดียวกับคึมยองที่ยืนอยู่ด้วยอาการสำนึกเสียใจ ไม่ทราบไปอยู่ที่ใด แต่กลับมิเห็นยอนเซ็งอยู่ในที่แห่งนี้ด้วย” (แดจังกึม/หน้า264/เล่ม1)
                ทุกคนมีชะตากรรมเป็นของตน เมื่อเคราะห์กรรมมาถึง ซังกุงฮันยอมรับชะตากรรม หลายคนมีดวงจิตขาดเมตตากลับรู้สึกสะใจ หลายคนได้สำนึกว่า วันหนึ่งอาจได้รับเคราะห์เช่นเดียวกันนี้
ก็ซังกุงสูงสุดและซังกุงฮันช่วยกันขอร้องไว้ แลกกับการไม่รับเงินบำเหน็จ 3 ปี” (แดจังกึม/หน้า265/เล่ม1)
                “อันความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองดุจน้ำฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน” พระราชนิพนธ์แปลของ รัชกาลที่6 นับว่าเหมาะกับคำข้างต้น ผู้ที่เป็นหัวหน้าของจังกึมสองคนยอมเสียสละผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อแลกกับความเป็นความตายของคนในปกครอง นับว่า “เมตตาธรรมค้ำจุนโลก” จริง ๆ
จังกึม ต้องกลับมาให้ได้ เข้าใจใช่ไหม?”แต่จังกึมไม่อาจให้คำมั่นใด ๆ ได้ สิ่งเดียวที่ทำได้คือการจับมือสหายผู้นี้ไว้ให้แน่น” (แดจังกึม/หน้า266/เล่ม1)
                การจากพรากเป็นความทุกข์ โชคร้ายที่ทุกคนต้องพานพบอย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต มีหลักธรรมสอนไว้ให้คิดว่า “ความโศกย่อมเกิดจากสิ่งที่รัก” ดังนั้นนรชนจึงควรเข้าใจ เมื่อคราวมีรักย่อมต้องเตรียมใจไว้ล่วงหน้าว่า วันหนึ่งความทุกข์ต้องมาเยือน
ทาเจฮอนเป็นสวนเกษตรที่ตั้งอยู่ติดกับประตูเมือง เป็นหน่วยงานที่เพาะเมล็ดพันธุ์และปลูกสมุนไพรและไม้เครื่องเทศราคาแพงที่ได้มาจากแดนอีราชา (รัสเซียในปัจจุบัน) ในขณะนั้น แม้มีการห้ามมิให้ประกอบการเกษตรภายในเมืองหลวงฮันยาง แต่การปลูกพืชผักนั้นเป็นหน้าที่ของเนนึงโพ ส่วนการปลูกสมุนไพรนั้นเป็นหน้าที่ของทาเจฮอน” (แดจังกึม/หน้า267/เล่ม1)
                เกาหลีมีสวนเกษตรทาเจฮอนของพระราชวัง เหมือนเช่นที่ไทยเรามีสวนเกษตรในความดูแลของพระราชวังตามโครงการพระราชดำริมากมาย แต่เกาหลีกลับแยกหน่วยงานดูแล ส่วนของพืช และส่วนของสมุนไพร
ทั้งข้าน้อย และใต้เท้า ล้วนแต่รับเงินเดือนของแผ่นดิน เงินเหล่านี้ก็เป็นภาษีที่ที่ราษฏร์ให้มาเพื่อให้พวกเราทำงาน”
                คำกล่าวนี้ของจังกึม ควรนำเสนอให้มวลหมู่ข้าราชการท่องบนทรงจำทุกวันเพื่อความซาบซึ้ง คนที่เป็นคนดี และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนั้นต้องเป็นสัมมาทิฐิเช่นนี้ คือทำงานหนักเพื่อประชาชนให้สมกับที่ประชาชนเสียค่าจ้าง
ถึงเช่นนั้นข้าน้อยก็ต้องมีชีวิตต่อไป ท่ามกลางความผิดหวัง อย่างไรก็ต้องมีเมล็ดหนึ่งที่งอกเงย มิใช่หรือ ใต้เท้า?”
                เมื่ออยู่ส่วนของนางวังห้องเครื่อง จังกึมตั้งใจเรียนรู้ศึกษาอย่างไม่หยุดหย่อน เมื่อถูกขับมาอยู่ที่สวนเกษตร แม้ห่างไกลการตรวจสอบ เธอตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างหนักต่อไป เป็นความเพียรเช่นเดียวกับนิทานชาดกพระมหาชนก แม้อยู่กลางทะเลไม่เห็นฝั่ง ยังว่ายน้ำไม่ยอมแพ้  จังกึมแม้ปลูกพันธุ์ไม้ไม่งอกเงย เธอปลูกแล้วปลูกอีก อย่างไม่ยอมแพ้
หมายเลขบันทึก: 370296เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • มีเปรียบเทียบสุนทรภู่กับเกาหลีด้วย
  • แต่ผมชอบอันนี้มากกว่า
  • "old teachers never die: they simply fade away"

เรื่องราวอมตะของผู้หญิงตัวเล็กคนเดียวที่ใช้คุณธรรมทั้งปวง

พาตนเองก้าวสู้ความสำเร็จของชีวิตได้อย่างงดงาม

งานว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพ อย่าง HA ยังชี้นำหลักการคิด ในเรื่องแดจังกึมมาตามรอย เพื่อค้นหาจุดบกพร่องนำมาแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาให้งานเกิดคุณภาพยิ่งขึ้น

เรียนคุณอุ้มบุญ

งานของ Shakespears และงานแปลของล้นเกล้า ร.6 ยอดเยี่ยมอย่างยิ่งครับ ว่า

“อันความกรุณาปรานี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองดุจน้ำฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน” 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท