การบริหารงานโดยวัตถุประสงค์


การบริหารงานโดยวัตถุประสงค์

 

การบริหารงานโดยวัตถุประสงค์

ความเป็นมา

          การบริหารงานโดยวัตถุประสงค์ (management  by  objective )  เป็นหลักการบริหารที่เริ่มต้นมาจากองค์การอุตสาหกรรมธุรกิจเอกชน   ในสมัยแรก ๆ ที่นักบริหารให้ความสนใจกับขบวนการจัดการทางวิทยาศาสตร์อยู่นั้นองค์กรเอกชนได้มุ่งความสนใจไปยังการค้นหาวิธีการและการปฏิบัติในการควบคุม  การทำงานของคนทุกระดับในองค์การเพื่อที่จะให้การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายและอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

          จุดเริ่มต้นคือการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับผลผลิตหรือผลงาน    ( output)  ให้กับคนงานแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มมาตราฐานงานดังกล่าวนิยมใช้ในโรงงานและการทำงานในเหมืองแร่และนำเอาหลักการนี้เป็นเครื่องมือพิจารณาเงินค่าจ้างด้วย  ภายหลังสงครามโลกครั้งที่  ๑ การควบคุมด้านงบประมาณได้รับความสนใจมากในวงการอุตสาหกรรม

          ต่อมามีวิธีการใหม่ ๆ เกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลทำให้ระบบการควบคุมงานพัฒนาอย่างรวดเร็วกล่าวคือ  มีการรายงานผลการทำงานให้รวดเร็วเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้  ทำให้การตัดสินใจต่าง ๆ กระทำได้ทันที

          ดังนั้นในปัจจุบันนี้จึงเป็นที่ยอมรับกันว่า  การควบคุมที่ได้ผลดีนั้นจำต้องถือว่าการควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของระบบการวางแผน  ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ถึงความมุ่งหมายขององค์การ  ความสามารถและความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ ๆ

          นักบริหารระดับสูงขององค์การส่วนใหญ่ปฏิบัติตามขบวนการดังกล่าวด้วยความระมัดระวังจึงทำให้ประสบความสำเร็จตลอดมา  แต่ในหลายกรณีการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างแน่ชัดเป็นจำนวนหรือปริมาณที่วัดได้มักทำให้การบริหารผิดพลาด  ดังนั้นการบริหารงานในระดับสูงในวงการอุตสาหกรรมและการค้าจึงให้ความสนใจกับระบบการที่อาศัยการกำหนดให้มีวัตถุประสงค์ประจำปี  โดยให้มีวัตถุประสงค์ทุกระดับให้มีระบบการควบคุมที่ใช้การเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์ ( objective )  กับผลงาน

          ในด้านการทำงานมีการให้ความสำคัญต่อมนุษย์สัมพันธ์  โดยยึดหลักการบริหารงานร่วมกันกล่าวคือผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมปรีกษาและตกลงเกี่ยวกับงาน   การมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับบัญชาจึงกลายเป็นลักษณะของการบริหารงานโดยวัตถุประสงค์

          การร่วมมือกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใตบังคับบัญชาทำให้การทำงานดีขึ้น  และในที่สุดระบบการควบคุมจะต้องมีไว้เพื่อจะช่วยกระตุ้นให้ผู้บังคับบัญชาคอยดูความสำเร็จของผู้ใต้บังคับบัญชา

 

 

ลักษณะสำคัญของการบริหารงานโดยวัตถุประสงค์

          ลักษณะทั้งสี่ประการของการบริหารงานโดยวัตถุประสงค์ได้แก่

๑.     ประสิทธิผลการบริหาร  ( managerial  effectiveness ) 

๒.    ขอบเขตของประสิทธิผล ( effectiveness  area )

๓.    มาตรฐานของประสิทธิผล ( effectiveness  standard )

๔.    วัตถุประสงค์ ( objective )

ประสิทธิผลการบริหาร

          ระบบ  MBO  เป้นระบบทางบริหารที่มีลักษณะทั้งคล้ายคลึงและแตกต่างกับระบบอื่น ๆ ความแตกต่างที่สำคัญก็คือ  MBO  ให้ความสำคัญกับประสิทธิผลการบริหาร

          Reddin  ได้นิยามประสิทธิผลไว้ดังนี้  “  effectiveness  is  the  extent  to  which  a  manager  achieves  the  output  requirements  of  his  position ”  งานของนักบริหารจะต้องเน้นอยู่ที่ประสิทธิผลคือจะต้องทำงานให้ได้ผล

ก่อนจะกล่าวถึง  MBO  โดยตรงควรเข้าใจความหมายของประสิทธิผลที่ปรากฏและประสิทธิผลส่วนตัวเสียก่อน

          ประสิทธิผลที่ปรากฎ  หมายถึงนักบริหารหรือห้วหน้างานบางคนที่พิจารณาความสามารถของลูกน้องโดยดูจากความสามารถที่มองเห็นได้ทันทีและเห็นได้ชัดเจนเช่นความสามารถในการติดต่อประชาสัมพันธ์  ร่างหนังสือได้ถูกต้องรวดเร็ว  เป็นต้น

          ประสิทธิผลส่วนตัวหมายถึงการทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตัวของนักบริหารเองแทนที่จะเป็นผลประโยชน์ขององค์การ

          ประสืทธิผลการบริหารหรือการจัดการ  มิได้เกี่ยวข้องกับบุคลิกลักษณะ  พฤติกรรม  แต่มีส่วนสัมพันธ์กับผลงานหรือผลผลิตที่นักบริหารได้กระทำในสถานการณ์หนึ่งโดยใช้วิธีการปฎิบัติงานที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลงานมากขึ้นเรื่อย ๆ  ตามแนวคิดของประสิทธิผลทางบริหารนี้  ผู้ที่จะได้ค่าตอบแทนหริอค่าจ้างจากองค์การมากหรือน้อยจะต้องพิจารณาจากผลงานที่เขาทำ

          ดังนั้นจะเห็นได้ว่าประสิทธิผลทางบริหารจะมีได้จะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำงานแต่ละอย่างในระยะเวลาช่วงหนึ่ง

          ก่อนที่นักบริหารจะดำเนินงาน   Reddin  ได้กำหนดหลักการให้นักบริหารเตรียมตัวดังนี้

๑.     นักบริหารต้องเข้าใจหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้น  และรู้ถึงความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาด้วย

๒.    นักบริหารต้องเข้าใจบทบาทของเขาว่าจะทำอะไร  และผู้บังคับบัญชาต้องการให้เขาทำอย่างไร

๓.    นักบริหารต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนเพื่อจะกระทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

๔.    ถ้ามีอุปสรรคและปัญหาใด ๆ ในการทำงานนักบริหารจะต้องขอให้ผู้บังคับบัญชาช่วยหากตนไม่สามารถแก้ไขได้ไม่ควรปล่อยงานให้ชะงักหรือเก็บงานไว้

๕.    นักบริหารต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมเพื่อทำงานนั้นให้เสร็จ

๖.     นักบริหารจะต้องติดตามผลงานเป็นระยะ  เพื่อตรวจสอบความคึบหน้าของงาน

๗.    นักบริหารจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำทุกอย่างที่ได้กระทำไป

แต่การนำเอาหลักการทั้งหมดไปปฏิบัติอาจไม่ส่งผลออกมาตามที่กำหนดก็ได้  เพราะยังมีปัจจัยอื่น อีกมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

          จะเห็นได้ว่าประสิทธิผลการบริหารให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์และผลงานอย่างมาก  

ดังนั้นในการกำหนดรายละเอียดของงานก็ย่อมต้องเน้นถึงผลงานเป็นสำคัญและควรมีการกำหนดมาตรฐานเพื่อตรวจจสอบผลงานไว้ด้วย

          นอกจากนี้ในรายละเอียดของงานเพื่อประสิทธิผลนี้ควรจะมีการกำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งไว้ด้วย   รายละเอียดของงานดังกล่าวมีลักษณะที่สนับสนุนให้เกิดประสิทธิผลการบริหารและส่วนใหญ่มักใช้ได้อย่างเหมาะสมในหน่วยงานของเอกชนเพราะในองค์การนี้สามารถกำหนดวัตถุประสงค์และผลงานเป็นจำนวนหรือปริมาณที่สามารถวัดได้     แต่หน่วยงานของรัฐบางหน่วยหรือส่วนใหญ่ไม่สามารถจะกำหนดวัตุประสงค์และผลงานเป็นจำนวนที่วัดได้  บางครั้งผลงานปรากฎออกมาเป็นลักษณะของความพอใจ ( stisfaction )  ของประชาชนผู้รับบริการซึ่งอาจวัดได้ยาก

          ดังนั้นการกำหนดรายละเอียดของงานในหน่ยงานของรัฐบาลจึงมักกำหนดโดยเน้นถึงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็รรายละเอียดของงานแบบเก่า (conventinal  job  description )  สำหรับงานแบบเก่านี้มักมีลักษณะพรรณนาที่ต้องใช้คำพูดค่อนข้างยืดยาวและต้องปรับให้ทันสมัยอยู่เสมอ

          Reddin  ได้ยกตัวอย่างถึงรายละเอียดของงานทั้ง  ๒  แบบไว้ดังนี้

Conventional  job  description

Job  effectiveness  description

Do  thing  right

Solve  problems

Safeguard  resources

Disharge  duties

Do  right  things

Produce  creative  alternatives

Optimize  resource  utilization

Obtain  results

 

          การทำงานให้ถูกต้อง  การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทุกอย่าง  การประหยัดทรัพยากรและประหยัดค่าใช้จ่าย  การปฏิบัติตามหน้าที่ทางซ้ายมือเป็นการแบบเก่า  ส่วนทางขวามือเป็นการทำในสิ่งที่ถูกต้องและจำเป็นต้องทำเท่านั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกอย่างเพราะบางอย่างทำไปก็ไม่มีประโยชน์มากนัก  นอกจากนี้ในรายการที่สองได้แก่ริเริ่มคิดหาทางเลือกใหม่ ๆ  และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ขอบเขตของประสิทธิผล

          ได้แก่ข้อกำหนดโดยทั่ว ๆ ไปของผลผลิตหรือผลงานของตำแหน่งทางบริหารแต่ละตำตำแหน่งโดยปกติมักจะเป็นตำแหน่งที่มส่วนในการบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงไป  ดังนั้นองค์การประเภทหนึ่งหรือองค์การหนึ่ง ๆย่อมมีตำแหน่งบริหารสำคัญ ๆ แตกต่างกันไปสุดแล้วแต่นักบริหารระดับสูงขององค์การนั้นจะพิจารณาหรือให้ความสำคัญกับงานด้านใด ๆ ส่วนมากมักจะะคำนึงถึงความสามารถและผลของการตัดสินใจของตำแหน่งนั้น ๆ ด้วยว่ามีส่วนช่วยในการทำงานขององค์การสำเร็จไปได้ดีเพียงใดและมีผลงานอย่างไร

          ในองค์การธุรกิจเอกชนซึ่งมีผู้จัดการด้านต่าง ๆ เป็นนักบริหารที่สำคัญ เช่น  ผู้จัดการฝ่าขาย    ฝ่ายผลิต  ฝ่ายโฆษณาและฝ่ายบุคลากร  เป็นต้น ขอบเขตของประสิทธิผลฝ่ายขายอาจประกอบด้วย

-          นโยบายการขาย

-          ระดับของการขาย

-          ราคาขาย

-          ผลประโยชน์จากการขายสินค้าแต่ละชนิด

มาตรฐานของประสิทธิผล

          ได้แก่ข้อกำหนดที่เฉพาะเจาะจงขงผลผลิตหรือผลงานและเครื่องวัดงานของตำแหน่งทางบริหารตำแหน่งหนึ่ง ๆ มาตรฐานของประสิทธิผลเป็นส่วนย่อยขอบเขตของประสิทธิผล  ถ้าขอบเขตประสิทธิผลของตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายกำหนดไว้ประการหนึ่งว่า  นโยบายการขาย  มาตรฐานของประสิทธิผลย่อมกำหนดได้ดังนี้

-          ผลิตผลที่มีอยู่เดิม  กับ  ตลาดที่มีอยู่แล้ว

-          ผลผลิตที่มีอยู่เดิม  กับ  ตลาดที่หาได้ใหม่

-          ผลิตผลใหม่          กับ  ตลาดที่มีอยู่เดิม

-          ผลิตผลใหม่          กับ  ตลาดที่หาได้ใหม่

       จากความหมายและตัวอย่างเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหาร  ขอบเขตของประสิทธิผล  มาตรฐานของประสิทธิผล  และวัตถุประสงค์ซึ่งเป็นปัจจัยอันสำคัญยิ่งของการบริหารงานโดยวัตถุประสงค์  นอกจากปัจจัยต่ละอย่างจะมีความสำคัญอยู่ในตัวของมันเองแล้วยังมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างปัจจัยดังกล่าวอย่างใกล้ชิดอีกด้วย  กล่าวคือ  วัตถุประสงค์จะสัมพันธ์และเกี่ยวโยงไปถึงการกำหนดขอบเขต  มาตรฐาน  และประสิทธิผลการบริหารด้วย

          ในการกำหนดขอบเขตของประสิทธผลสำหรับตำแหน่งหนึ่ง ๆ ควรจะตั้งคำถามเพื่อหาคำตอบ   Reddin  ได้ตั้งคำถามดังนี้

-          ตำแหน่งหนึ่งนั้นมีลักษณะสำคัญที่ทำประโยชน์อะไรได้บ้าง

-          จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างถ้าไม่มีตำแหน่งนั้น

-          ทำไมตำแหน่งนั้นจึงเป็นที่ต้องการหรือจำเป็นต้องมีอยู่

-          จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้างถ้าผู้ดำรงตำแหน่งนั้นทำงานได้ผลดีเลิศ

-          ถ้าผู้ดำรงตำแหน่งนั้นทำงานได้ผลดีเลิศจะรู้ได้อย่างไรว่าดีเลิศ

-          ตำแหน่งนั้นมีอำนาจหน้าที่แท้จริงอะไรบ้าง

-          ตำแหน่งนั้นจะก้าวหน้าขึ้นได้อย่างไร

-          รายละเอียดของงานสำหรับตำแหน่งระบุอะไรไว้บ้าง

-          ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นใช้เวลาไปอย่างไรบ้าง

          จากคำถามต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ทำให้เข้าใจได้ว่าคำตอบก็ย่อมจะมีจำนวนพอ ๆ กับคำถาม  ไม่ว่าจะกำหนดขอบเขตของประสิทธิผลไว้มากหรือน้อยก็ตาม  ควรมีการตรวจสอบดูได้โดยมาตรการต่อไปนี้

ขอบเขตของประสิทธิผลแต่ละอย่างควรมีลักษณะดังนี้

๑.     เป็นตัวแทนของผลงานไม่ใช่ตัวแทนของทรัพยากรป้อนระบบ

๒.    นำไปสู่วัตถุประสงค์ซึ่งสามารถวัดได้

๓.    เป็นส่วนสำคัญของจตำแหน่ง

๔.    ต้องอยู่ในขอบเขตอำนาจและความรับผิดชอบของตำแหน่งนั้น 

๕.    เป็นตัวแทนของผลงาน  ๑๐๐  เปอร์เซ็นของตำแหน่ง

๖.     จำนวนของขอบเขตของประสิทธิผลไม่ควรมีมากเกินไป

๗.    ไม่ควรกำหนดขอบเขตของประสิทธิผลที่เกินเลยไปก้าวก่ายกับงานของตำแหน่งอื่น

๘.    ควรกำหนดขอบเขตของประสิทธิผลให้ครบถ้วนสมบูรณ์

๙.     ขอบเขตของประสิทธิผลควรมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงสนับสนุนกันในทุกระดับ

          แต่ละด้านของขอบเขตดังกล่าวย่อมมีผู้รับผิดชอบงานอยู่ในตำแหน่งซึ่งกำหนดชื่อได้ว่าเป็นหัวหน้าแผนกฝึกอบรม  หัวหน้าแผนกเงินเดือน  เป็นต้น  ทุกตำแหน่งทางบริหารขององค์การทั้งหลายจะมีขอบเขตของประสิทธิผลเหมือนกันซึ่งได้แก่

๑.     ผู้ใต้บังคับบัญชา (subordinate)

๒.    การเปลี่ยนแปลงใหม่ (innovation)

๓.    โครงการ (project)

๔.    การพัฒนา (development)

๕.    ระบบต่าง ๆ ( systems)

๖.     ผู้ร่วมงาน (co-worker)

นอกจากขอบเขตของประสิทธิผลร่วมกันของตำแหน่งดังกล่างแล้ว  ในแต่ละตำแหน่งบริหารอาจมีขอบเขตของประสิทธิผลโดยเฉพาะอีกต่างหากก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและอำนาจหน้าที่ของตำแหน่งนั้น   ตำแหน่งบริหารโดยทั่วไปจะมีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังกล่าวคือ  การควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา  มีการริเริ่มใหม่ ๆ มีการจัดทำโครงการ  มีการพัฒนา  มีการจัดระบบ  เป็นต้น

การบริหารงานโดยวัตถุประสงค์ (Management  By  Objective)

          การบริหารงานโดยวัตถุประสงค์หรือเรียกสั้น ๆ ว่า  MBO  เป็นเครื่องมือทางบริหารที่สำคัญยิ่ง  บางครั้งมีชื่อเรียกกันแตกต่างออกไปเป็น  Management  By  Results  หรือบางครั้งก็เรียกกันว่า  Goal  Management  เริ่มนำมาใช้ในองค์การธุรกิจเอกชนทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษแต่มีหลักการที่เน้นหนักไปคนละด้าน

              นักทฤษฎีด้านการบริหารบางคนยังอธิบายว่า MBO  เป็นสัญญาระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต่บังคับบัญชา  ดังนั้น  MBO  จึงเป็นวิธีการเพื่อเชื่อมโยงวัตถูประสงค์กับตำแหน่ง  และวัตถุประสงค์กับวัตถุประสงค์รวมทั้งโยงวัตถุประสงค์กับแผนขององค์การด้วย

ลักษณะสำคัญของ MBO มี  ๗  อย่างคือ

๑.     การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง (position) 

๒.    การกำหนดวัตถุประสงค์ควรกระทำร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา

๓.    ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์ในแต่ละตำแหน่งหรือแต่ละงานจะต้องสอดคล้องกัน

๔.    ให้ความสำคัญกับการควบคุมและการวัดผลเพราะเป็นสิ่งสำคัญของ  MBO

๕.    กำหนดให้มีการตรวจสอบ  MBO  ทุกแบบจะมีการตรวจสอบความก้าวหน้า

๖.     ความเกี่ยวข้องของผู้บังคับบัญชา  ซึ่งมักจะมาในรูปของการควบคุมและความริเริ่ม

๗.    ในตอนต้น MBO  ต้องการความช่วยเหลือจากคณะกรรมการที่ปรึกษาอย่างมาก

         ดังได้กล่าวมาแล้วว่า  MBO  มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปในทางทฤษฎีแล้ว  MBOส่วนใหญจะมีลักษณะ  ๗  อย่างดังกล่าวแล้ว  แต่ในทางปฏิบัติขึ้นอยู่กับผู้นำไปใช้

          นอกจากลักษณะทั้ง  ๗  ประการซึ่งเป็นพื้นฐานแล้ว  MBO  ยังมีลักษณะที่แตกต่างออกไปแล้วแต่จะเน้นเรื่องใดหรือให้ความสำคัญด้านไหนในปัจจัยดังต่อไปนี้

๑.     การวางแผนขององค์การ

๒.    การวางแผนของนักบริหาร

๓.    ความเชื่อมโยงติดต่อระหว่างการประเมินผลกับการปฏิบัติงาน

๔.    ความเชื่อมโยงระหว่างรางวัลกับการปฏิบัติงาน

๕.    การวิเคราะห์ตำแหน่ง

๖.     ปัจจัยด้านการกระตุ้นให้คนทำงาน

๗.    ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม

๘.    ปัจจัยสุดท้ายก็คือการคำนึงถึงอนาคตเป็นสำคัญ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวกับปัจจัยของ  MBO  จะเห็นได้ว่า  MBO  มีหลายรูปแบบแตกต่างกันออกไป  จะมีกี่แบบก็ตามลักษณะของ  MBO จะต้องมีปัจจัย  ๗  ประการแรกอยู่เพราะเป็นปัจจัยร่วมที่สำตัญ

          พิจารณาในแง่ของการบริหาร  มีนักเขียนทางบริหารหลายท่านได้กำหนดหน้าที่ของการบริหารไว้ต่าง ๆ กัน

-          Urwick  and  Gulick  กำหนดไว้ว่าการบริหารมีองค์ประกอบดังนี

 

Planning – Organizing – Staffing – Directing – Co ordinating –

Reporting – Budgeting  หรือที่เรียกเป็นตัวย่อว่า  POSDCORB

-          ค.ศ.  ๑๙๖๑  Newman  และ  Summer  ก็ได้กำหนดหน้าที่ของการบริหารไว้ดังนี้

Planning – Orgnizing – Leading – Controlling – Measuring

 

          สำหรับ  Reddin ซึ่งเป็นผู้สนใจการบริหารโดยวัตถุประสงค์ได้ให้หลักเกณฑ์ในการบริหารโดยอาศัยขอบเขตของประสิทธิผลเป็นเครื่องกำหนดโดยเน้นถึง

๑.     ผู้ใต้บังคับบัญชาคือเน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผ้ใต้บังคับบัญชา

๒.    การริเริ่มเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ

๓.    ระบบ (system) 

๔.    ผู้ร่วมงาน (coworker)  เนื่องจาก  MBO  เป็นเทคนิคการบริหารซึ่งใช้ในองค์การธุรกิจเอกชนมาก่อนดังนั้นคำหรือภาษาที่นำมาใช้จึงต้องมีการดัดแปลงให้เหมาะสม

 

 

 

จบเรื่องการบริหารงานโดยวัตถุประสงค์แล้วสวัสดีค่ะ

      

                                                                              

หมายเลขบันทึก: 369926เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 08:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เนื้อหาความรู้..ดีดี...ที่ควรอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท