วิเคราะห์กฎกระทรวง


อดุลย์วิเคราะห์กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

 

 การวิเคราะห์

กฎกระทรวง 

ว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พ.ศ. ๒๕๔๖

 

 

 

 

อดุลย์   ประทุม

รหัส ๕๓๕๓๑๐๑๔๘

 

 

 

นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา

โครงการบริหารการศึกษา บัณฑิตศึกษา

ห้องเรียนที่ ๒ โรงเรียนบ้านท่าวังผา “ประชารัฐวิทยาคาร”

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

    กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. ๒๕๔๖

เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวง ฉบับนี้ คือ

                เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๔๗ วรรคสอง ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๖ ที่บัญญัติว่า ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 การบังคับใช้

              กฎกระทรวงฉบับรี้ใช้บังคับแก่สถานศึกษา ตามมาตรา ๑๘ ( ๒) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนาหรือศาสนาอื่น 

สาระสำคัญ

              กฎกระทรวงฉบับนี้ แบงออกเป็น ๒ หมวด  คือ

หมวดที่ ๑ ว่าด้วย ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  มีสาระสำคัญ ดังนี้

              ๑ ให้สถานศึกษาจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความมั่นใจ ว่าผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งการจัดระบบการประกันคุณภาพ สถานศึกษาต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้หน่วยงานต้นสังกัด คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นฝ่ายส่งเสริม สนับสนุน กำกับ ดูแล

              การจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

(๑)   การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ

(๒) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา

(๓)  การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

(๔)  การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

(๕)  การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา

(๖)   การประเมินคุณภาพการศึกษา

(๗)  การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี

(๘)  การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

 

หมวดที่ ๒  ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีสาระสำคัญ ดังนี้

              ๑. ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารงานที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

              ๒. ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยมีอำนาจดังนี้

                         (๑)  กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา

                         (๒)  กำกับ ติดตาม ให้ความเห็น ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ

                         (๓) เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ  ทบทวน รายงานคุณภาพการศึกษา

              ๓. ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลเพียงพอต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา

              ๔. ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษา ที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่เหมาะกับสภาพของผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่น โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

              ๕. ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักต่อไปนี้

                         (๑) มีการศึกษาข้อมูล สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความจำเป็น นำข้อมูลมาใช้วางแผนอย่างเป็นระบบ และจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ

                         (๒) กำหนดวิสัยทัศน์  ภารกิจ เป้าหมาย และภาพความสำเร็จ ไว้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม

                         (๓) กำหนดวิธีการดำเนินงานโดยอาศัยหลักวิชา หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลที่อ้างอิงได้ ทั้งด้านการจัดประสบการณ์ กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล การพัฒนาบุคลากร การบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

                         (๔) กำหนดแหล่งเรียนรู้ภายนอก

                         (๕) กำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากร ให้สามารถดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

                         (๖) กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

                         (๗) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

              ๖. ให้สถานศึกษา ดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา กำกับติดตาม การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

              ๗. ให้คณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้ง ดำเนินการตรวจสอบ ทบทวน รายงานผลตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม หลากหลาย  และต่อเนื่อง

              ๘. ให้สถานศึกษามีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทั้งวิชาแกนหลัก คุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้วิธีการที่ได้มาตรฐาน

              ๙. ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา พร้อมหลักฐานและผลการประเมินต่อหน่วยงานต้นสังกัดและผู้เกี่ยวข้อง

              ๑๐. ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และร่วมดำเนินการตามระบบการประกันคุณภาพ ดังนี้

                         (๑) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

                         (๒) จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาเป็นรายปีหรือรายภาคเรียน

                         (๓) จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยวิธีการที่ได้มาตรฐาน

              ๑๑. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ

              ๑๒. ให้หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เผยแพร่นวัตกรรม เทคนิค วิธีการ การดำเนินการประกันคุณภาพ รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

              ๑๓. ในวาระแรกที่ไม่มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้อำนาจทั้งหมดของสำนักงานเขตพื้นที่เป็นอำนาจของหน่วยงานต้นสังกัด ระดับจังหวัด

 

                                          ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕  กรกฎาคม  พ.ศ. ๒๕๔๖

                                           นายปองพล   อดิเรกสาร

                                        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

 

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๖  เล่มที่ ๑๒๐ ตอนที่ ๗๔ ก หน้าที่ ๓ - ๗

 

ประโยชน์ของกฎกระทรวงฉบับนี้

๑.       สถานศึกษามีการวางแผน จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ดี เหมาะสมกับสภาพบริบทของตนเอง ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเป็นไปตาม มาตรา ๔๗ วรรคสอง ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๖

๒.     ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษามีความมั่นใจในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ส่งบุตรหลานเข้าศึกษา

๓.     สถานศึกษามีโครงสร้างการบริหารงาน คณะกรรมการ ตลอดถึงแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม

๔.     หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษา ตลอดถึงการมีส่วนร่วมในการทบทวนตรวจสอบ

๕.     สถานศึกษามีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรรวมทั้งความรับผิดชอบในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน" หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา "การศึกษาตลอดชีวิต" หมายความว่า การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสาน ระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
"สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
"สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน" หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
"มาตรฐานการศึกษา" หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
"การประกันคุณภาพภายใน" หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

หมายเลขบันทึก: 369745เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 08:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ เรียนรู้กฎกระทรวงฉบับนี้แล้วได้อะไรบ้าง เอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร... เท่าที่ศึกษาหลักการมา ตามหลักกฎหมายมหาชน ต้องพิจารณาจากที่มาของอำนาจในการออกกฎกระทรวง นั่นคือ ตามมาตรา ๑๘ ( ๒) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยต้องไปศึกษาว่า กฎหมายฉบับนี้บัญญัติไว้อย่างไรก่อน อาจารย์เรียนรู้หรือยัง ถึงคำว่า กฎ มีความหมายอย่างไร กระบวนการออกกฎกระทรวงมีลำดับขั้นตอนอย่างไร ส่วนรายละเอียดของกฎกระทรวงเป็นวิธีการที่จะนำบทบัญญัติมาให้รายละเอียดเป็นขอบเขตในการไปบังคับใช้กับใคร ในที่นี้คือ เฉพาะสถานศึกษาหรือบุคคลอื่นอีก ใครที่ทำนอกขอบเขตนี้ อาจจะละเมิดกฎที่รัฐมนตรีวางไว้ มีอีกคำหนึ่งที่ใช้กันในหมู่กฎหมายมหาชน ฝากไว้พิจารณา คือ "เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจเท่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ(ทำอะไรก็ได้)เท่าที่ไม่มีกฎหมายห้าม"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท