เข้าร่วมโครงการพัฒนาแกนนำการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการถอดองค์ความรู้ กศน. ณ จ.สมุทรสงคราม


การจัดการความรู้ในชุมชน

กศน.อำเภอพระยืน (โดย ผอ.สุรินทร์ หว่างจิตร/นายประยุทธ ขันหนองโพธิ์ หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านโต้น/นายประชา เอื้องสัจจะ หัวหน้า กศน.ตำบลพระยืน และกศน.หนองเรือ นายรัชวุฒิ ลิโป้ หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านผือ นางจินตหรา อ่อนดี หัวหน้า กศน.ตำบลจระเข้) เข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาแกนนำการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการถอดองค์ความรู้ กศน. ณ บ้านสวนมะพร้าวอ่อน จ.สมุทรสงคราม ระหว่างวันที่ 22 - 25 มิถุนายน 2553

จัดโดย สถาบันการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร และมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 60 คนจาก กศน.อำเภอจากจังหวัดต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรระดับอำเภอให้มีความรู้ในการถอดองค์ความรู้ กศน.

โดยวันแรกได้รับความรู้จากวิทยากร (อ.ภัทรชัย ทรัพย์จำนง และ อ.อุษา เทียนทอง) 

วันที่สองแบ่งกลุ่มถอดองค์ความรู้กลุ่มเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ กลุ่มเกษตรผสมผสาน กลุ่มอาหารขนม กลุ่มน้ำตาลปลอดสารพิษ กลุ่มสวัสดิการชุมชน สภาองค์กรชุมชนตำบลคลองเขิน

วันที่สามแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการ "ฟ้าหลังฝน" กศน.หนองเรือ โดย รัชวุฒิ ลิโป้ และจินตหรา อ่อนดี

ผลจากการอบรมครั้งนี้ ได้รับความรู้และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแกนนำในชุมชนตำบลคลองเขินเกี่ยวกับการพัฒนากลุ่มองค์กรต่างๆของตำบล โดยเฉพาะสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองเขิน(อ.อุษา เทียนทอง เป็นประธาน) ซึ่งเป็นต้นแบบของการทำงานที่มองเห็นผลชัดเจนและเป็นรูปธรรมในการจัดการและพัฒนากลุ่มเศรษฐกิจชุมชนเพื่อนำสู่เศรษฐกิจพอเพียง โดยทำให้คนในชุมชนได้เรียนรู้การพึ่งพาตนเอง  ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้มีส่วนทำให้ ครู กศน.ได้รับความรู้ในครั้งนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 369386เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2010 07:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ได้มีโอกาสไปกราบไหว้นมัสการ หลวงพ่อพุทธนิลมณี วัดบางกุ้ง(Unseen in Thailand)ภาคกลางคืนครับ เพราะการอบรมภาคกลางวันเข้มข้นมาก

สวัสดีครับคุณกศน.พระยืนP

  • เล่าให้ฟังเพื่อการลปรร.ด้วยครับเรามีModelการถอดความรู้อย่างไร
  • ผมสนใจการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ด้วยแผนภูมิต้นไม้(The Tree Model)ของ Peter  Sengeครับ.......
  • เป็นการถอดโดยหลักการถอดบทเรียนแบบAI(สุนทรียสาธก)ซึ่งผลการถอดบทเรียนในตอนท้ายจะได้ออกมาเป็น “เรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง”ครับ
  • ผมบันทึกไว้ที่ถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ด้วยแผนภูมิต้นไม้(The Tree Model).......การถอดบทเรียนแบบAI(สุนทรียสาธก)

http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369414

และเรื่องเล่าเร้าพลังนำการเปลี่ยนแปลง .....จากการถอดบทเรียนแบบAI(สุนทรียสาธก)

http://gotoknow.org/blog/suthepkm/369330

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับ ขอเวลาศึกษาและเรียนรู้ก่อนนะครับ โดยปกติเวลาถอดบทเรียนและองค์ความรู้ ผมก็ไม่มีขั้นตอนอะไรมาก แค่ลงไปคลุกอยู่กับพื้นที่และตัวบุคคล สัมภาษณ์ ถาม-ตอบ ตามแบบปุจฉา-วิสัชชนา อยากถามตรงไหนก็ถาม แล้วให้เขาเล่าเรื่องตามที่เขาอยากเล่า เราก็จด ถ่ายภาพ แล้วค่อยมาวิเคราะห์เรียบเรียง ถ้าไม่เรียบร้อยเป็นที่พอใจก็ติดตามขอข้อมูลไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ

สำหรับที่ได้ไปอบรมและได้เรียนรู้การถอดองค์ความรู้ของ"กลุ่มต่างๆ"และองค์กรสภาชุมชนตำบลคลองเขินนั้น เขามีรูปแบบและหัวข้อที่ชัดเจน แล้วผมจะนำมาเล่าภายหลังและจะได้ทดลองในพื้นที่ ขยายผลให้กับครู กศน.ในโอกาสต่อไป

ขอบคุณอีกครั้งครับ สำหรับข้อเขียนดีๆสำหรับการถอดบทเรียนเป็นองค์ความรู้ด้วยแผนภูมิต้นไม้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท