กลยุทธ์ การตลาด กรณีศึกษา การปรับตัวของ 3 บริษัทรถยนต์อเมริกา


กลยุทธ์การปกป้องส่วนแบ่งตลาดของยักษ์ใหญ่อเมริกัน “บิ๊กทรีโจมตีรถดัดแปลง...” “หยุดแต่ไม่อยู่”

กลยุทธ์  การตลาด

กรณีศึกษา การปรับตัวของ 3 บริษัทรถยนต์อเมริกา

กลยุทธ์การปกป้องส่วนแบ่งตลาดของยักษ์ใหญ่อเมริกัน “บิ๊กทรีโจมตีรถดัดแปลง...” “หยุดแต่ไม่อยู่”

                ต้นพฤษภาคม 2542 กลุ่มบิ๊กทรี หรือกลุ่มบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สหรัฐอเมริกา คือ เจเนอรัล มอเตอร์ (GM), ฟอร์ด และเดมเลอร์ไครสเลอร์ รวมตัวกันร้องเรียนต่อการทางไทยเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสพรรสามิตรถดัดแปลงของ “โตโยต้า  สปอร์ตไรเดอร์” ว่าหลบเลี่ยงช่องโหว่ของกฎหมายโดยเสียภาษีในอัตาที่ต่ำ ซึ่งทำให้การประกอบรถยนต์ของกลุ่มบิ๊กทรีในไทยไม่ได้รับความเป็นธรรม

                การเคลื่อนไหวของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนตร์จากสหรัฐดังกล่าว คือ วาระการรุกคืบเข้าโจมตีรถยนต์สายพันธุ์ซามูไร ซึ่งเป็นผู้นำตลาดรถยนต์ในไทยและอาเซียนอย่างเป็นระบบ และนับเป็นการรุกครั้งที่ 2 โดยใช้กลวิธีกดดันผ่านระดับนโยบายรัฐบาล หลังจากครั้งแรกประสบความสำเร็จกับข้อแลกเปลี่ยนกาเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ และตั้งสถาบันยานยนตร์ของบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ ณ จังหวัด ระยอง แต่มีข้อแม้ว่า คณะรัฐมนตรีต้องมีมติยกเลิกข้อบังคับการใช้ชิ้นส่วนรถยนต์ภายในประเทศ สัดส่วนร้อยละ 54:46 ออกไป ทำให้มีผลเกิดข้อเสนอในการแก้ปัญหา ช่องโหล่ของกฎหมายดังกล่าว 3 แนวทาง

  1. ยกเลิกภาษีรถดัดแปลง
  2. สร้างภาษีรถดัดแปลงใหม่ และรถดัดแปลงต้องเสียภาษีทั้งคันตามอัตราภาษีใหม่
  3. คงภาษีรถดัดแปลงไว้ แต่ให้จัดทำคำจำกัดความของรถดัดแปลงให้เหมาะสม

                ทำให้การจัดเก็บภาษีรถยนต์เปลี่ยนไป โดยมีเหตุวิเคราะห์ ดังนี้

  1. รถยนต์กระบะต้องเสียภาษี 5 เปอร์เซ็นต์ หากมี่การนำไปดัดแปลงต่อเติม ก็จะจัดเก็บภาษีสรรพสามิตส่วนที่ต่อเติมเพิ่มอีกขั้นตอนหนึ่ง
  2. รถดัดแปลงมิได้ระบุว่า ขับเคลื่อน 2 ล้อ หรือ 4 ล้อ ซึ่งจากจุดนี้องที่ “โตโยต้าสปอร์ตไรเดอร์” สามารถดัดแปลได้ทั้งขับเคลื่อน 2 ล้อ และ 4 ล้อ แต่เสียภาษีขั้นต้น บวกกับภาษีสรรพสามิตที่ต่อเติมทำให้อัตราภาษีรวมต่ำกว่าการนำเข้ารถทั้งคัน

                ทางฝ่ายโตโยต้าออกมาตอบโต้กลุ่มบิ๊กทรีและให้ข้อมูลรัฐบาลว่า ไทยออโต้เวิร์คส มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวไทย หากรัฐบาลจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นตามที่กลุ่มบิ๊กทรีร้องเรียนมา อุตสาหกรรมรถยนต์ต่อเนื่องภายในประเทศ อาจต้องปิดกิจการลงและยังทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยชะงักงัน

 

บทวิเคราะห์

  • ยุทธศาสตร์การรุกตามตำราพิชัยสงคราม เขาให้โจมตีผู้นำตลาดให้น้อยจุดที่สุด (Focus) เพื่อให้เกิดประสิทธิผลคุ้มค่ากับการระดมสรรพวุธเข้าไปในสมรภูมิ
  • เมื่อผู้นำตลาดถูกโจมตีในทิศทางที่มิได้คาดคิดมาก่อน ก็บังเกิดความกังวลว่า จะถูกโจมตีในจุดอื่นๆ อีกหรือไม่ และอย่างไร
  • หาจุดอ่อนโจมตี
  • การโจมตีผู้นำตลาดเป็นอันดับแรก หากประสบผลสำเร็จด้วยการแย่งส่วนแบ่งตลาดได้สัก 10 เปอร์เซ็นต์ ย่อมได้มากกว่าส่วนแบ่งที่ได้จากอันดับรองๆ ลงไป
หมายเลขบันทึก: 368367เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โอ้สั้นดีนะ สวยด้วย มีสีสรร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท