นิทานเซนของท่านพุทธทาส เรื่องที่ 3


โลกนี้น่าอยู่เพราะมีคนดีมากกว่าคนเลว

เรื่องที่ 3 ชื่อเรื่อง “พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง”

                        ในนครโตเกียว สมัยศักราชเมจิ มีอาจารย์ที่เก่งๆ อยู่ 2 คน  คนหนึ่งชื่ออันโช เป็นครูบาอาจารย์ในนิกายชินงอน คนนี้ไม่ดื่มเลย อีกคนหนึ่งชื่อ แตนแซน หรือตานซาน ก็แล้วแต่จะเรียก เป็นครูบาอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ด้วยไม่เคยถือศีลเลย จึงดื่มจัดหรือละโมบ ในการบริโภค

                         วันหนึ่ง อาจารย์อันโชไปเยี่ยมอาจารย์ตานซาน เขากำลังดื่มอยู่พอดี อาจารย์ตานซานก็ถามว่า “จะไม่ดื่มบ้างเทียวหรือ” คือกล่าวชักชวนให้ดื่มนั่นเอง อันโชก็บอกว่า “ไม่เคยดื่มเลย” ตานซานก็ว่า “คนที่ไม่เคยดื่มเลยนั่นละไม่ใช่คน” ฝ่ายอันโชก็ฉุนกึก นิ่งเงียบไปขณะหนึ่ง ในที่สุดก็พูดขึ้นมาว่า “ท่านว่าฉันไม่ใช่คนเพราะเพียงแต่ฉันไม่ดื่ม ถ้าฉันไม่ใช่คนแล้ว ฉันจะเป็นอะไร” อาจารย์ตานซานก็บอกว่า “เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง” แล้วนิทานของเขาก็จบลง

                          นี่เราจะฟังเป็นเรื่องการโต้ตอบด้วยโวหารก็ได้ แต่ความจริง มันเป็นเรื่องที่มุ่งหมายจะสอนตามแบบวิธีของเขา  ที่ให้คนสำนึกว่า คนนั้นยังไม่เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งต่างหาก ที่ว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งก็เพื่อจะสอนให้รู้ว่า ยังไม่เป็นพระพุทธเจ้าเลยมากกว่า ซึ่งทำให้อาจารย์คนนั้นก็ชะงักกึกไปอีกเหมือนกัน เพราะมันก็รู้ตัวอยู่ว่า เราก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าสักที แล้วเราก็ไม่ใช่เป็นคน แล้วมันจะเป็นอะไรกัน คนก็ไม่เป็น พระพุทธเจ้าก็ไม่เป็น แล้วเป็นอะไร

                           ฉะนั้นเราเองก็เหมือนกัน เราเป็นครูตามอุดมคติแล้วหรือยังหรือว่าถ้าไม่เป็นครู มันก็ไม่ใช่ครู ถ้าเป็นครูก็ต้องเป็นครูและการที่เขาว่าเราไม่ใช่คน เราก็ไม่ควรจะโกรธเลย หรือแม้ว่า ครูจะถูกกล่าวหาว่าอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็ไม่โกรธ ถ้าจะพูดถึงพุทธะตามแบบนิกายเซนก็คือว่า ถ้าเรายังเป็นครูตามอุดมคติไม่ได้ เราก็ยังเป็นพุทธะไม่ได้อยู่เหมือนกัน

                           เพราะฉะนั้น เราจะพยายามทำตนไม่ให้เป็นอะไรเลย ให้มีจิตว่าง ไม่รู้สึกเป็นอะไรเลย ซึ่งหมายความว่าให้อยู่เหนือการถูกว่า หรือเขาว่ามามันก็ไม่ถูกเรา เราจะเป็นชนิดนั้นกันดีไหม  คือว่าเราเป็นอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งใครจะว่าอะไร อย่างไรมา มันก็ไม่ถูกเรา มันก็คงไม่มีอะไรนอกจากเราเป็น “ว่างจากตัวเรา” ถ้าเราเป็นอย่างนี้ มันก็จะเป็นอย่างภูเขาซึ่งลมจะพัดมากี่ทิศกี่ทาง ก็ไม่สามารถทำให้ภูเขาหวั่นไหวได้

                          ในบาลีมีคำกล่าวอยู่ว่า ถ้าภูเขาเป็นหินแท่งหนึ่ง ฝังอยู่ในดิน 16 ศอก โผล่อยู่บนดิน 16 ศอก ลมไหนจะพัดให้หวั่นไหวได้  ถ้าเราว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ว่าเรามีเกียรติอย่างนั้นอย่างนี้ เราเป็นอะไรอย่างนั้นอย่างนี้ เมื่อนั้นแหละ เราจะเป็นบุคคลที่ลมไหนพัดมาก็ไม่ถูกเรา

 

 

 

   จากหนังสือ เซนบอกว่า โดยอนุพล รักษ์สกุล

คำสำคัญ (Tags): #บุรีรัมย์6
หมายเลขบันทึก: 368298เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ อาจารย์เพชรลดา

       เรื่องเกี่ยวกับเมฆ & ท้องฟ้า มีเว็บ ชมรมคนรักมวลเมฆ ที่ผมสร้างไว้สักพักหนึ่งแล้ว ที่นี่ครับ

       http://portal.in.th/cloud-lover

       ลองแวะไปเยี่ยมเยียนดูครับ ข้อมูลบางอย่างน่าจะเป็นประโยชน์กับอาจารย์

สวัสดีค่ะอาจารย์เพชรลดา

    แวะมาตอนดึกๆคงไม่ว่ากันนะคะ ตอนนี้ดิฉันกำลังดูบอลค่ะก็อ่าน blog ไปด้วยพอดีมาเจอเรื่องราวดีๆ ต้องขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะที่นำมาแบ่งปัน ได้กุศลเยอะเลยค่ะ ยกให้เต็มๆเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์บัญชา จะลองเข้าไปศึกษาความรู้จากเว็บที่ส่งมาให้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณยาย ขอบคุณค่ะที่เข้ามาเยี่ยมช่วงนี้นอนดึกเช่นกันค่ะ ปั่นงานส่งทั้งที่ทำงานและที่เรียนค่ะ เพลียมากๆค่ะ คงต้องเข้าไปอ่านบันทึกของคุณยายเผื่อจะมีวิธีการผ่อนคลายความเพลียกับคลายเครียดค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

P
 สวัสดีครับ เพชรลดา
   นิทานเซนของท่านพุทธทาส เป็นสิ่งผมชอบอ่านมากที่สุดเลยครับ
ติดตามอ่านมานานแล้ว
ขอบคุณที่นำมาให้อ่านอีกครั้ง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท