แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

กายวิภาค ของ หฐโยคะ ; บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว (5/7)


 


เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ


กายวิภาค ของ หฐโยคะ

แปลจาก Anatomy of Hatha yoga
แปลโดย ณัฏฐ์วรดี ศิริกุลภัทรศรี และ ศันสนีย์ นิรามิษ

 บทที่ 1 ท่าทางและการเคลื่อนไหว .

@ กล้ามเนื้อโครงกระดูก_

@ จุดเกาะต้น (Origins) และจุดเกาะปลาย (Insertions)_

@ กล้ามเนื้อทำการ (Agonist) และกล้ามเนื้อต้าน (Antagonist)

กล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆข้อต่อนั้นทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อม แต่จะมีอยู่ตัวนึงนั่นคือกล้ามเนื้อทำการ (Agonist) ซึ่งปกติแล้วทำหน้าที่เป็นแรงผลักสำคัญ จะช่วยในเรื่องการทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อที่ส่งเสริมกัน ขณะที่กล้ามเนื้อทำการและกล้ามเนื้อส่งเสริมทำงานอยู่กับข้อต่อทางด้านนึง กล้ามเนื้อด้านตรงข้ามจะเป็นกล้ามเนื้อต้าน (Antagonist) ทีทำหน้าที่เป็นตรวจสอบ, ทำให้เรียบ และแม้แต่เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อ Biceps Brachii และกล้ามเนื้อ Brachialis ที่อยู่ในแขน (ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อทำการและกล้ามเนื้อส่งเสริม) หดขึ้นเพื่อให้งอข้อศอก กล้ามเนื้อแขน Triceps Brachii (อยู่ด้านตรงข้ามของแขน) จะต่อต้านการงอขณะที่เป็นการพยุงข้อต่อให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องอย่างไม่ได้ตั้งใจ (ตามรูป)

กล้ามเนื้อยังทำหน้าที่ต่อต้านแรงโน้มถ่วงของโลกด้วย ในช่วงปลายขากล้ามเนื้อเหยียดจะทำหน้าที่เป็นกล้ามเนื้อต้านแรงโน้มถ่วงเพื่อให้เราตั้งตรงและต้านไม่ให้ล้มลงกับพื้น เช่น กลุ่มกล้ามเนื้อควอดไดรเซฟ (Quadriceps Femoris muscles) บนต้นขาด้านหน้า (ตั้งแต่ข้อสะโพกจนถึงข้อเข่า) ที่เหยียดข้อเข่าออกไปขณะที่คุณยืนอยู่บนเวที และกล้ามเนื้อน่องที่ช่วยเหยียดข้อเท้าของคุณขณะที่กำลังยกส้นเท้าเพื่อหยิบของบนชั้นสูง กล้ามเนื้องอ (Flexor muscles) เป็นกล้ามเนื้อต้านกับกลุ่มกล้ามเนื้อเหยียด (Extensor muscles) กล้ามเนื้อเหล่านี้สามารถมีบทบาทได้ 2 อย่าง อย่างแรกคือการช่วยแรงโน้มถ่วง ดังเช่นขณะที่คุณกำลังอยู่ในท่ายืนเหยียดตัวไปด้านหน้า (Stand forward bend) และเหยียดยืดตัวเองลงไปด้วยการพับที่สะโพก (ด้วยกล้ามเนื้อ Iliopsoas) แต่กล้ามเนื้อเหล่านี้ก็ยังช่วยต่อต้านแรงโน้มถ่วงด้วยเช่นกัน ถ้าคุณต้องการวิ่งอยู่กับที่ กล้ามเนื้อ Iliopsoas จะช่วยงอข้อต่อสะโพก, ยกต้นขาขึ้น และหัวเข่าขึ้นมาที่หน้าอก และถ้าคุณต้องการจะเตะบั้นท้ายคุณเอง กล้ามเนื้อต้นขาหลังจะช่วยงอหัวเข่า ดึงขา (ตั้งแต่ข้อหัวเข่าไปจนถึงข้อเท้า) ไปที่ต้นขา ถึงแม้ว่ากล้ามเนื้องอในบริเวณปลายขาไม่ได้ถูกจัดเป็นกล้ามเนื้อที่ต้านแรงโน้มถ่วงเพราะอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าปกติ แต่กล้ามเนื้อนี้ก็เป็นกล้ามเนื้อต้านที่ช่วยพยุงน้ำหนักทั้งตัวไว้

สำหรับบริเวณปลายแขนจะมีสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพราะถ้าคุณไม่ทำอะไรบางอย่างที่ผิดปกติเช่นการเดินด้วยมือที่มีการงอข้อศอกเล็กน้อย (ซึ่งจำเป็นต้องมีกล้ามเนื้อ Triceps Brachii ที่แข็งแรง) กล้ามเนื้อเหยียดจะไม่พยุงน้ำหนักทั้งหมดของเรา ในสถานการณ์ส่วนใหญ่แล้วที่บริเวณปลายแขน กล้ามเนื้องอจะทำหน้าที่ต้านแรงโน้มถ่วงมากกว่ากล้ามเนื้อเหยียด เช่น เวลาคุณงอข้อศอกเพื่อยกของหรือเงยคางขึ้นขณะว่ายน้ำ

 


  

 
มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 368161เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท