"แคร่" ภูมิปัญญาเพื่อการรักษาแผลกดทับ


ดิฉันอ่านเจอบันทึกที่คุณอุไรวรรณเขียนไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/uraiwan/34884  น่าจะมีประโยชน์มากสำหรับคุณพ่อของดิฉันคะ
หมายเลขบันทึก: 36794เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

อาจารย์คะ ดีใจมากค่ะที่บันทึกเล็กๆ จากเหตุการณ์ที่พบเจอ แล้วมีประโยชน์กับผู้อื่น โดยเฉพาะอาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ให้กำเนิด "ขุม" ความรู้แห่งนี้

อาจารย์ลองปรับใช้ดูนะคะ "แคร่" แบบดัดแปลงเป็นแบบที่อุไรวรรณ "คิดว่า" น่าจะดีกว่าแบบดั้งเดิม แต่ยังไม่ได้นำมาใช้งานจริงค่ะ

ก็รู้สึกไม่ดีต่อตัวเองอยู่บ้างเหมือนกันค่ะที่ ความรู้ที่เอามาเผยแพร่เป็นแค่ "ความคิด" (แคร่แบบที่2) ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงค่ะ แต่ก็ไม่อยากเก็บความคิดไว้คนเดียวค่ะ

 

 

ขอขอบพระคุณอาจารย์จันทวรรณ... ได้แสดงข้อคิดเห็นไว้ในบล็อกของอาจารย์อุไรวรรณไว้อย่างนี้ครับ... ---> ขอขอบคุณอาจารย์อุไรวรรณ... (1). เป็นการอธิบาย "แคร่" ด้วยหลักการง่ายๆ + มีภาพประกอบ > ทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นมาก (2). เพื่อนที่กรุงเทพฯ มีคุณแม่เป็นมะเร็งปอด (เสียชีวิตไปแล้ว) อาจารย์แพทย์ท่านหนึ่งแนะนำให้ใช้ห่วงยางชูชีพ เป่าลมนิดหน่อย ให้พองออกบางส่วน ปรากฏว่า ช่วยให้แผลกดทับหายเร็วขึ้นได้เหมือนกัน (3). เรียนเสนอว่า ถ้าจะใช้ห่วงยาง... ควรซื้อไว้อย่างน้อย 2-3 ห่วง เพื่อจะได้ล้างสบู่ เช็ดให้แห้ง ผึ้งลมไว้ สลับเปลี่ยนกันใช้ และควรใช้สลับที่กัน เพื่อกระจายแรงกดทับ

ยายของผมเป็ฯโรคเบาหวาน

เกิดมีแผลที่ขาโดยอุบัติเหตุมอเตอร์ไซด์โดนท่อไอเสีย

อยากทราบว่าทำอย่างไรแผลจะหายไวขึ้น

นี่ก็ปาเข้า5 เดือนแล้วแผลยังไปไม่ถึงไหนเลยครับ

ผมห่วงอาการของคุณยายมาก

ช่วยบอกวิธีดีๆหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท