การเตรียมตัวก่อนสมัครงาน


การเตรียมตัวก่อนสมัครงาน

การเตรียมตัวก่อนสมัครงาน

1.ทำความรู้จักกับตนเอง ว่าคุณชอบอะไร ถนัดอะไร มีความสามารถ ทางด้านไหน และอยากทำงาน ในธุรกิจ ประเภทใด เพื่อที่คุณ จะได้ส่งใบสมัคร ไปยัง งานที่ตนเองสนใจ และมีความถนัด เท่านั้น เพื่อเป็นการ ประหยัดเวลา และ ค่าใช้จ่าย ในการที่จะต้อง ไปสัมภาษณ์ในงาน ที่คุณไม่ได้มี ความสนใจเลย

2.มองหาแหล่งงาน เมื่อทราบความชอบและความถนัดของตนเองแล้ว ควรเริ่มมองหาแหล่งงาน โดยภาวะการณ์ปัจจุบันมีทางเลือกมากมาย ขึ้นอยู่กับความสะดวกดังนี้


          2.1 ญาติสนิทและเพื่อนฝูง วิธีนี้ใช้ได้ดีทีเดียวสำหรับคนที่มีญาติสนิท และเพื่อนฝูง เยอะและคุณเอง ก็จะ ได้เปรียบกว่าคนอื่น ตรงที่คุณ จะได้ รับรู้รายละเอียด และระบบงาน ของบริษัทนั้น จากปากของ คนที่เราสนิทเอง ทำให้คุณสามารถใช้ข้อมูลนั้น ในการ ประกอบ การตัดสินใจได้

          2.2 หนังสือพิมพ์ ดูจะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด เพราะใน ปัจจุบันนี้ หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ต่างก็มีการ จัดทำ Section เกี่ยวกับ ประกาศรับสมัครงาน หรือที่ เรียกว่า หน้า Classified ออกมาด้วย เช่น บางกอกโพสต์ กรุงเทพธุรกิจ ฯลฯ ซึ่งก็ต้อง เลือกดูกันว่า จะอ่านจาก หนังสือพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษดี แต่ขอบอก นิดนึงว่า ส่วนใหญ่บริษัทที่ลงประกาศ ในหนังสือพิมพ์ ภาษาอังกฤษนั้น จะค่อนข้าง อินเตอร์ซักหน่อย ถ้าจะเขียน จดหมายสมัครงาน บริษัทประเภทนี้ ก็ควรจะเขียน ภาษา อังกฤษด้วย


         2.3 บริการจัดหางานโดยกรมการจัดหางาน ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่ง ที่น่าสนใจ มีทั้งงานของภาครัฐ และ เอกชนให้คุณเลือก โดยคุณสามารถ ไปเขียนใบสมัคร ทิ้งไว้ได้ที่ สำนักงานจัดหางาน ใกล้บ้านคุณ หรือจะไปถึงที่ เลยก็ได้ และปัจจุบันนี้กรมการจัดหางาน ก็ยังอำนวย ความสะดวก ให้คุณมากขึ้นด้วยการจัดทำเว็บไซต์ เพื่อ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และบริการหางานผ่านทาง Internet โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เลย

สมัครงานอย่างไรให้ได้งาน

1. ทำไมคุณคิดว่าคุณจะรู้สึกพอใจ เมื่อได้ทำงานในตำแหน่งนี้

    ควรตอบว่าเป็นงานที่มีความก้าวหน้า เป็นงานที่ทำได้ทำในสิ่งที่เรียนมา เป็นงานที่ชอบมานาน กิจการดีมีความมั่นคง ได้ยินว่ากิจการมีชื่อเสียงที่สุดด้านนี้หรืออยากทำงานในกิจการเล็ก ๆ ที่อบอุ่น มีโอกาสเรียนรู้งานได้มาก

2. เคยมีประสบการณ์งานด้านนี้หรือไม่

    มีหรือไม่มีประสบการณ์ก็ ให้ตอบตามความเป็นจริง หากผู้สมัครงานเคยมีประสบการณ์มาก่อนก็จะเป็นประโยชน์กับตัวผู้สมัครงานเอง หากไม่มีก็ควรบอกว่ามีประสบการณ์อื่นที่ใกล้เคียงหรือเคยฝึกงานมา หรือเคยทำงานแบบนี้กรณีไม่มีประสบการณ์ใด ๆ เลยก็ควรบอกไปตรง ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้เพราะมีใจชอบงานลักษณะนี้

3. ใช้คอมพิวเตอร์ หรือพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้หรือไม่

    ทำได้หรือไม่ควรตอบไปตามความจริง หากไม่ได้ควรตอบว่ากำลังจะไปเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะรู้ว่าจำเป็นและมีประโยชน์ในการทำงานมาก

4. ทำไมจึงออกจากงานเดิมที่ทำอยู่ หรือทำไมจึงคิดเปลี่ยนงาน

    ไม่ควรตำหนิที่ทำงานเดิม ม้จะทราบว่าที่ทำงานเดิมเป็นคู่แข่งที่สำคัญที่ทำงานใหม่ที่กำลังสมัครงาน เพราะจะถูกมองในแง่ลบ ควรตอบว่าไม่ชอบบรรยากาศหรือวิธีการทำงานแบบธุรกิจ หรืออะไรที่กว้าง ๆ และเน้นว่า คิดว่าที่ทำงานใหม่จะให้โอกาสและประสบการณ์ที่ดีกว่า หรือต้องทำงานที่ท้าทายกว่า

5. สิ่งที่เรียนมาไม่ตรงกับงานที่ทำ และจะทำงานได้อย่างไร

    ควรยอมรับความจริงว่าใช่ ไม่ตรงจริง ๆ แต่ผู้สมัครงานมีความสนใจในงานลักษณ์นี้มากกว่างานที่ตรงกับความรู้ที่เรียนมาจริง ๆ

6. อยากจะถามอะไรเกี่ยวกับบริษัทบ้างไหม

    ไม่ควรตอบว่าไม่มี แต่ควรถามเกี่ยวกับความรับผิดชอบในงานที่ผู้สมัครงานต้องทำ หรือถามเกี่ยวกับบริษัท ให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความสนใจในกิจการของบริษัท หรือถามเกี่ยวกับสวัสดิการ โครงการฝึกอบรมของบริษัท เพื่อให้เห็นว่าผู้สมัครงานมีความต้องการ มีจุดประสงค์ใดบ้างในอนาคต

7. ต้องการเงินเดือนเท่าไร

    ไม่ควรตอบว่าไม่รู้ แต่ควรตอบว่าไม่ต่ำกว่าเท่าไร โดยสอบถามอัตราเงินเดือนของพนักงานระดับนี้ จากคนรู้จักหรือกิจการใกล้เคียงหรือเพื่อนฝูง ู้สมัครงานควรต้องรู้ว่าตัวเองต้องได้เงินเดือนเท่าไรจึงจะสามารถดำรงชีพได้และมีเงินเหลือเก็บบ้าง หากไม่รู้จริง ๆ ว่าตนเองต้องการเงินเดือนเท่าไรจึงจะเหมาะสม ควรตอบว่าแล้วบริษัทจะเห็นสมควรขอให้ดูความสามารถก่อน จะพยายามทำงานอย่างเต็มความสามารถ

กรณีไม่เข้าใจคำถาม ควรบอกผู้สัมภาษณ์ไปตรง ๆ ให้ถามคำถามใหม่อีกครั้ง และหลังจาการสัมภาษณ์แล้ว ควรมีการติดตามข่าวว่าได้งานหรือไม่แม่บริษัทจะบอกว่าจะติดต่อกลับมาเอง เพื่อแสดงความสนใจจริงที่ต้องการจะทำงานบริษัทนั้น ๆ

ข้อที่ควรปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์

1. ศึกษารายละเอียดของบริษัทก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อจะได้มีเรื่องสนทนาขณะสัมภาษณ์และเป็นการแสดงความสนใจที่มีต่อบริษัท

2. ไปรับการสัมภาษณ์ตรงตามเวลา โดยไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที หากไปช้าหรือไปไม่ได้ต้องรีบโทรศัพท์เพื่อขอเลื่อนนัดการสัมภาษณ์ออกไป

3. นั่งรออย่างเรียบร้อย ไม่ควรเดินไปเดินมาหรือส่งเสียงดัง

4. ควรยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์ ขณะเริ่มทักทายและกล่าวคำว่า “ สวัสดี ”

5. ควรถามผู้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับงานที่จะให้ทำว่าจะให้ทำอะไร ทำที่ไหน ถ้าไม่มีคำถามเลยผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่าผู้สัมภาษณ์ไม่มีความสนใจในงานที่จะสมัคร แต่ไม่ควรถามมากจนผู้สัมภาษณ์รำคาญ

6. พูดให้ชัดเจนมีความเป็นธรรมชาติ และด้วยความมั่นใจ

7. ใช้กริยา วาจาสุภาพขณะตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์อาจใช้วิธีแหย่ให้โกรธ หรือใช้คำพูดดูถูก เพื่อดูอารมณ์ของผู้สมัครงานขณะที่โมโห หรือไม่พอใจ ดังนั้นผู้สมัครงานต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า

8. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่พับแขนเสื้อทั้งแขนยาวและแขนสั้น

9. ควรตัดผมสั้นไม่ปล่อยไว้จนยาว และโกนหนวดให้เรียบร้อย (สำหรับผู้ชาย)

10. ควรใส่รองเท้าให้เรียบร้อย และไม่ควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าสานหรือรองเท้าแตะ ไม่ควรใส่ถุงเท้าสีสด ๆ หรือสีที่เป็นจุดเด่น

11. ควรมองหน้าผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรหลบตาและนั่งตาลอย มองนอกหน้าต่าง มองโต๊ะหรือแสดงอาการขวยเขิน

12. ถ้าจะไอควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก และกล่าวคำขอโทษ ขณะสัมภาษณ์ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง

13. ถ้าประตูห้องปิดควรเคาะประตูก่อนเข้าห้อง และกล่าวขออนุญาตนอกจากนั้นต้องระวังอย่าลากเก้าอี้ให้มีเสียงดัง

14. คำถามที่ควรถามผู้สัมภาษณ์คือ ถามว่าในสายตาของผู้สัมภาษณ์
เราเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง
เพราะการทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครงานในครั้งต่อไป

หลังจาการสัมภาษณ์แลัว สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์จะใช้พิจารณาผู้สมัครงานจะพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ ความประทับใจครั้งแรก ความฉลาด มีไหวพริบ ความคิดริเริ่ม ความกระตือรือร้น
ความขยันหมั่นเพียร ความสามารถในการสื่อข้อความ และมีจุดมุ่งหมายของชีวิต หวังว่าหลังจากที่ได้ทราบถึงวิธีการเลือกงานให้เหมาะสมกับตนเองแล้ว การเตรียมตัวสมัครงาน วิธีการสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน คำถามและข้อปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์งานแล้ว
จะสามารถช่วยทำให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการสมัครงานและสัมภาษณ์งานทุกท่าน

 

 

หมายเลขบันทึก: 367672เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2010 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท