บทเรียนและประสบการณ์จากการเข้าร่วมประชุมต่างประเทศ ” เรื่อง EUROGIN 2010 Cervical Cancer Prevention


จากเวที K-Sharing Day (การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้) ครั้งที่ 5/2553 วันที่ 10 มิถุนายน 2553

         การเข้าร่วมประชุมต่างประเทศนั้นบุคลากรทั่วไปในองค์กรนั้นมีโอกาสได้ไปน้อย เนื่องจากงบประมาณมีจำนวนจำกัดและค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง ดังนั้นสถาบันมะเร็งแห่งชาติจึงมีนโยบายให้คนที่ได้ไปนั้นให้กลับมาเล่าประสบการณ์เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในองค์กรแก่บุคลากรอื่นที่ไม่มีโอกาส

 

 

       นพ.อนันต์ กรลักษณ์  ได้เล่าถึงประสบการณ์ที่ไปประชุมต่างประเทศเรื่อง “ EUROGIN 2010 Cervical Cancer Prevention : 20 years of Progress & a Path to the Future “  ณ. ราชรัฐโมนาโก ซึ่งมีเรื่องที่น่าสนใจมากมายหลายเรื่อง เช่น

**** 1) viral molecular biology and pathogenesis : The state of art. (น่าสนใจนำมาต่อยอดที่สถาบันมะเร็งฯ)

       2) Global prevention of cervical cancer new paradigms for development and developing countries.

      3)  HPV Vaccines :Current status of ongoing trials

      4)  Building a strategy for cervical cancer prevention

**** 5) HPV DNA testing in primary screening.(น่าสนใจนำมาต่อยอดที่สถาบันมะเร็งฯ)

      6)  Genotyping

      7)  HPV vaccine programs and monitoring. (น่าสนใจเฉพาะในหญิง)

      8)  New trends in HPV testing methods.

**** 9) Molecular biology. (น่าสนใจนำมาต่อยอดที่สถาบันมะเร็งฯ)

 

 

            EUROGIN (European Research Organization on Genital Infection and Neoplasm) องค์ความรู้เหล่านี้มีเนื้อหาที่ละเอียดและน่าสนใจมากมาย ถ้าผู้สนใจก็สามารถมายืมหนังสือในการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำมาต่อยอดในงานวิจัยได้ซึ่งได้ประโยชน์มาก

 

 

                รูปแบบของการประชุม

1) มีการจัดการประชุมที่กระชับและเรียบง่าย ในส่วนของเวทีนั้นจะมีเวลาแสดงให้เห็นชัดเจนทางด้านหน้าเวทีซึ่งทุกคนรวมทั้งผู้บรรยายสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและมีการเข้มงวดสำหรับสิทธิ์ของผู้เข้าร่วมประชุมด้วย

2) การประชุมนั้นจะมีรูปแบบที่แน่นอน และรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับการนิยมคือ ไม่ต้องมีพิธีกรแนะนำตัวและประวัติการทำงานของวิทยากรผู้บรรยาย ซึ่งผู้บรรยายจะแนะนำตัวเองสั้นๆว่าชื่ออะไร มาพูดเรื่องอะไร แล้วเริ่มบรรยายต่อเลย

3) เน้นมารยาทการรักษาเวลามาก ผู้บรรยายต้องตรงเวลา

4) สถานที่ประชุมเลือกภูมิทัศน์ของเมืองที่งดงาม น่าอยู่ วิวทิวทัศน์สวยรวมทั้งด้านสถาปัตยกรรมและศิลปะที่น่าสนใจ ทำให้คนส่วนมากประทับใจ

 

 

การแลกเปลี่ยนในประเด็นที่น่าสนใจกับวิทยากร

          ดร.สุนันทา  ทำไม?ที่ประเทศออสเตเรียมีการฉีดวัคซีน HPV ในผู้หญิงที่อายุ 18-26 ปีสำหรับทุกคนทีสนใจฟรี แต่วัคซีนของบริษัท Merck บอกว่าควรฉีดในผู้หญิงที่มีอายุ 9-16 ปี

          นพ.อนันต์  ประเทศทางตะวันตกที่มีเซ็กซ์ค่อนข้างเร็ว ทางรัฐบาลจึงมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันให้ประชากร แต่ที่ต้องฉีดในผู้หญิงที่มีอายุ18-26 ปีนั้น เพราะว่าถ้าอายุต่ำกว่า 18 ปีนั้นต้องขออนุญาตผู้ปกครองเซ็นต์ยินยอมก่อน ดังนั้นจึงมีความยุ่งยากเลยทำให้ไม่ได้ฉีดในอายุที่ต่ำกว่านี้

 

 

สิ่งที่ได้จากการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. นำสิ่งที่ได้เห็นจากรูปแบบการจัดงานประชุมในระดับนาๆชาติ ซึ่งมีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถรองรับคนได้มากแต่ก็มีความเข้มงวดด้านความปลอดภัยและสิทธิ์ของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางการจัดงานประชุมในอนาคต

  2. องค์ความรู้และหัวข้อในการประชุมนี้จะเกิดประโยชน์มากสำหรับผู้ที่จะนำองค์ความรู้นั้นมาต่อยอดทางการวิจัย ซึ่งมีหลายหัวขัอที่น่าสนใจสำหรับสถาบันมะเร็งฯ

  3. วิทยากรได้กระตุ้นให้ผู้ที่สนใจในการทำการวิจัย ตื่นตัวพร้อมชี้แนะแนวทางในการคัดเลือกหัวข้อวิจัยที่น่าสนใจใหม่ๆ ไปทำการวิจัยต่อยอด

  4. บรรยากาศและภูมิทัศน์ของเมืองมีความสวยงามมีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ

 

          สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เห็นประโยชน์และความสำคัญของบุคลากร จากการไปประชุมหรืออบรมดูงานที่ต่างประเทนั้นได้นำองค์ความรู้ในด้านต่างๆที่ได้รับมาถ่ายทอดให้บุคลากรอื่นๆที่ไม่มีโอกาสได้ไป มีโอกาสได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นั้นรวมถึงทำให้ได้ทราบถึงความก้าวหน้าใหม่ๆที่เกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 367437เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท