สุขใจ ที่ เลย


ไม่ไปไม่รู้ จำไว้เลย .............เชียงคาน

ไป….เลย…ผู้บันทึกเองได้มีโอกาสไปเยือนมากกว่า 10 ครั้ง  ครั้งแรกที่ไป

เมื่อปี 2539  เมื่อครั้งที่เรียน  มหาวิทยาลัยนเรศวร  ด้วยกันเพื่อนรุ่นพี่  ไปเยือนช่วงหน้าหนาวอากาศเย็นสบาย เมื่อไปสัมผัสทำให้หลงใหล ในบรรยากาศ เพื่อนๆ พี่ๆน่ารักทุกคน  มีความอบอุ่น   มีความสุขจริงๆเกินที่จะบรรยาย ตามปกติผู้บันทึกก็ไม่ได้มีอารมณ์อย่างนี้ ไม่ค่อยละเอียดอ่อนเรื่องการสัมผัสและการบรรยาย  แต่มีความสุขเมื่อได้สัมผัสกับธรรมชาติ วิถีชีวิตของชาวบ้าน

 

จึงไม่เป็นสิ่งที่แปลกใจที่จะกลับมาเยือนจังหวัดเลยอีกครั้ง  แต่ในครั้งนี้เลือกไปเยือนช่วงหน้าฝน อาจจะด้วยวันหยุดที่สั้น และการเดินทางน่าจะสะดวกที่สุด เดินทางก็ไม่ไกลอย่างที่คิด

 

ตามปกติเพื่อนๆพี่ๆ จากจังหวัดเลย  ได้ติดต่อกันอยู่เสมอเรื่อยมา และเป็นโอกาสที่ดีในวันหยุดน่าจะได้พบปะกันบ้าง  จะได้หายคิดถึงกัน    จึงได้วันในการจะไปเที่ยวหา เป็นช่วงงานประเพณีของชาวด่านซ้าย คือ ขบวนแห่ผีตาโขนเป็นงานประเพณีของชาวด่านซ้าย  ก็น่าสนใจ จึงได้นัดน้องๆเพื่อที่จะไปทริปนี้กัน   

 ตามโปรแกรม ที่จะไปเที่ยวงานผีตาโขนได้จะต้องเป็นวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน 53 จะได้ชมขบวนการแห่ผีตาโขน จากแต่ละเทศบาล หรือจากต่างอำเภอ

 

เจ้าถิ่น  พี่แจ่ม (วชิรา เกษทองมา) พยาบาลโรงพยาบาลวังสะพุง ได้วางแผนในการเที่ยวทริปนี้ โดยผู้บันทึกกับน้องๆที่ไปด้วยกัน 4 คน เมื่อไปถึงจังหวัดเลยในเย็นหรือดึก ของวันศุกร์ที่  11  มิถุนายน 2553

ทีมนี้ ไปด้วยกันจาก จังหวัดมหาสารคาม (อนงค์,นิลอร,วาสนา  และ นิภาพร ) ไปด้วยกัน 4 คน  และจะไปสมทบกับเพื่อนๆที่ จังหวัดเลย  ก่อนออกจากจังหวัดมหาสารคาม มุ่งหน้าไปผ่านจังหวัดขอนแก่น น้องๆ พาแวะไหว้ศาลหลักเมืองขอนแก่น ก่อนเดินทางต่อไปผ่าน อำเภอชุมแพ  อำเภอผานกเค้า อำเภอวังสะพุง เป้าหมายในวันแรก

และยังได้แวะไปเที่ยวและถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก   ณ    สวนผาหินงาม อ.วังสะพุง จ.เลย   ก่อนตะวันจะลับขอบฟ้าไป

 

ไหว้ศาลหลักเมืองจังหวัดขอนแก่น

        สวนผาหินงาม อ.วังสะพุง

จุดชมวิว

นมัสการหลวงปู่หลุยส์ อ.วังสะพุง

 ทะเลภูเขา(ภูหลวง)

แก่งคุ้ดคู้ อ.เชียงคาน

เฮือนหลวงพระบาง (ริมโขง) เชียงคาน

ชมธรรมชาติ เชียงคาน

มุมสบายๆ  ร้านสะบายดี เชียงคาน  ขายของที่ระลึก ของฝาก

นักท่องเที่ยวขาดไม่ได้ ในการออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน รอบริมโขง

 

ชมขบวนแห่ ผีตาโขน ชาว  อำเภอด่านซ้าย

 

จากนั้น พี่ตุ๊ก(อรดี) พี่ไก่(สวาสดิ์) พี่สุ (สุภาพร) พี่ๆจากสำนักงานสาธารณสุขเลย และ พี่ๆ จากโรงพยาบาลเอราวัณ  ให้การต้อนรับและเลี้ยงอาหารเย็นอย่างอบอุ่น 

  ณ ครัวมะเดื่อ  จังหวัดเลย   ด้วยความขอบคุณและอิ่มอร่อยไปทั่วหน้ากัน 

 

 จากนั้นสารถีพี่ใหญ่ (พี่แจ่ม)  ได้ขับรถพาท่องเที่ยวในเมืองยามค่ำคืน ชมวิถีชีวิตของคนกลางคืน การดำเนินชีวิต   และแวะฟังเพลง ณ  ครัวคุณยาย  ยิ่งเติมพลังความสุข ในวันผ่อนคลายให้กับน้องๆที่ไปด้วยกัน เพลงไพเราะ อาหารอร่อย

 

และสำหรับการพักผ่อนคืนนี้ ที่บ้านนาแก อำเภอวังสะพุง บ้านพี่แจ่มเอง ซึ่งเป็นพยาบาลสาว ที่มีความสุขในการให้บริการกับน้องๆ และมีความตื่นเต้นทุกครั้งที่มีผู้ไปเยือนและค้างคืนที่บ้าน

 

ได้เวลาเช้าวันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน 2553 เวลา ตีสี่กว่าก็ได้ยินเสียงคุณยาย แม่ของพี่แจ่มวัย 92 ปี ตื่นนอนเช้าตรู่  ออกมาเปิดประตูหน้าบ้าน ทำให้ลูกๆนอนต่อไปได้ยังไง”อยู่บ้านท่านอย่างนิ่งดูดาย”

ตามปกติจะนอนตื่นเมื่อไหร่ก็ได้ แต่ด้วยเวลามีจำกัด ต้องรีบทำเวลา จะได้ไม่ต้อเสียเวลาในการท่องเที่ยว

ทั้งหมดที่ไปด้วยกันมีความกระตือรือร้นด้วยเช่นเดียว

 

กิจกรรมเช้านี้ที่บ้านพี่แจ่ม  พี่แจ่มและน้องๆลุกขึ้นมาหุงหาอาหารสำหรับเช้านี้ ผู้บันทึกได้นอนฟังเสียงในการสั่งการ หรือในการให้น้องๆมีส่วนร่วมในการทำข้าวต้มเช้านี้ แม่ครัวและลูกมือเยอะเอาการ  ดูเจ้าของบ้านมีความสุขมาก

เจ้าของบ้านตั้งใจโชว์ฝีมือทำกับข้าว คือ ผัดหน่อไม้หวาน แต่หาซื้อที่ตลาดไนท์ ในเมืองเลยไม่มี เลยอดโชว์ฝีมือ

 

 

ที่โชว์ได้ข้าวต้มที่ต้มโดยเอาใบเตยใส่เข้าไปด้วย ทำให้กลิ่นหอมกรุ่น เพิ่มความอร่อยได้อีก ที่ต้องทานกับ อาหารที่เตรียมไว้

 

จากนั้นเมื่อเสร็จอาหารเช้าแล้ว พี่แจ่มได้ขับรถยนต์คู่ชีพ  ได้นำทีมขับรถมุ่งหน้าไปไหว้พระ ณ วัดผาบี้ง นมัสการหลวงปู่หลุยสส์   เกจิอาจารย์

 

ทริปต่อไปคือ  ไปเที่ยวที่ภูหลวง ไปชมธรรมชาติ

การเดินทางขึ้นภูหลวง  ขับรถไปเอง ตามปกติการเดินชมธรรมชาติ โดยมีมัคคุเทศก์  จะนำเที่ยว  จะพบดอกไม้ป่าที่หลากหลาย เช่นกุหลาบขาว  และกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ บริเวณผาโหล่นแต้ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูหอ

 

ช่วงที่เหมาะเดินป่า อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม-พฤษภาคม   ช่วงเดือนเดือนมิถุนายน-กันยายน ภูหลวงจะปิด แต่ทริปนี้ยังพยายามเดินชมธรรมชาติ พร้อมกับการไปถ่ายรูปเป็นที่ระลึก หรือ เก็บไว้ในความทรงจำ ทำให้อิ่มเอิบใจ มีความร่มเย็น สัมผัสธรรมชาติ ความเขียวขจี และแมกไม้นานชนิด

 

และเวลาเที่ยง ได้ทานอาหารจานเดียว ณ ท่าลี่ เพิ่มความสะดวกและไม่เน้นเรื่องการกินมากนัก

 

เป้าหมายคือ ที่พักผ่อน คืนนี้ ณ เชียงคาน

ได้ไปถึงเชียงคานช่วงเย็น หลังจากจัดแจงสิ่งของเข้าที่พัก  ณ แซมเกสเฮาส์   เป็นห้องแอร์ ราคา ห้องละ 500 บาท/คืน ตั้งอยู่ริมโขง มองเห็นทิวทัศน์ ธรรมชาติที่สวยงาม มองเห็นวิถีชีวิตของคนเชียงคานด้วย 

 

 พอมีเวลา นำทีมไปเที่ยวแก่งคุ้ดคู้ ที่อยู่ริมแม่น้ำโขงเดินชมธรรมชาติ ถ่ายรูปและเดินชมสินค้าท้องถิ่น ช่วงได้อารมณ์ ของนักท่องเที่ยวเสียเหลือเกิน ทุกนาทีมีค่า  ไปให้ได้ ไปให้ถึง และก็ถึงจริงๆ

 

แก่งคุ้ดคู้เป็นแก่งหินใหญ่ขวางอยู่  กลางลำน้ำโขง ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กม. ประกอบด้วย หินก้อนใหญ่ ๆ เป็นจำนวนมากจากการที่หินเหล่านี้อยู่ใต้น้ำเป็นเวลานาน ทำให้หินเหล่านี้มีสีสัน ไปต่าง ๆ ตัวแก่ง กว้างใหญ่เกือบจรดสองฝั่งแม่น้ำโขง มีกระแสน้ำไหลผ่านไปเพียงช่องแคบ ๆ ใกล้ฝั่งไทยเท่านั้นเอง ซึ่งกระแสน้ำเชี่ยวกราก เวลาที่เหมาะจะชมแก่งคุดคู้ที่สุดคือ เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเวลาที่น้ำแห้ง มองเห็นเกาะแก่งชัดเจน บริเวณแก่ง มีร้านอาหารจำหน่าย มากมาย

หลังจากที่กลับจากแก่งคุ้ดคู้  แล้วก็ได้เวลาอาหารเย็น ทีมนี้เลือกทานอาหารเย็น ณ เฮือนหลวงพระบาง เป็นอาหารภาคกลาง ที่ให้ความอร่อยมาก เพราะอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นเฮือนเก่าโบราณ คลาสสิค

 

การท่องเที่ยวของ อ.ชียงคานจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่หาไม่ได้จากชีวิตเมืองกรุง เชิญสัมผัสบรรยากาศที่ชื่นฉ่ำหัวใจ

 

เชียงคาน เมืองคนงาม ข้าวหลามยาว มะพร้าวแก้ว เพริศแพร้วเกาะแกง แหล่งวัฒนธรรม น้อมนำศูนย์ศิลปาชีพ เชียงคานเป็นอำเภอเล็กๆในจังหวัดเลย เนื่องจากเป็นอำเภอที่ติดชายแดนของประเทศลาวและในสมัยก่อนชาวหลวงพระบางเองก็ได้อพยพมาตั้งรกราก ที่ อ.เชียงคานและได้นำวัฒนธรรมเข้ามาด้วย หรือจะเรียกได้ว่าเชียงคานเป็นเมืองคู่แฝดหลวงพระบาง ก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นประเพณี อาหารการกิน ภาษาพูด ก็มีความคล้ายเคียงกัน

 

 มีพื้นที่ ติดริมฝั่งแม่น้ำโขง มีที่พัก ร้านอาหารและบริการล่องเรือชมทิวทัศน์สองฝั่งโขง นอกจากนี้ยังมีของที่ระลึกที่ขึ้นชื่อของอำเภอคือผ้านวม มะพร้าวแก้ว ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ไปเยือนไม่ควรพลาดที่จะซื้อเป็นของฝากและยังมีแหล่งท่องเที่ยวให้นักเดินทางได้สัมผัสอีกด้วย มีสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจเช่น แก่งคุดคู้,วัดศรีคุณเมือง,พระพุทธบาทภูควายเงิน,พระใหญ่

 

เช้าตรู่ของวันที่ 12 มิถุนายน 2553 ได้ตื่นนอน มาสัมผัสความเป็นอยู่ของชาวเชียงคาน ตามถนนริมโขง จะมีนักท่องเที่ยวปั่นจักรยาน ไปตามเส้นทางริมโขง  แวะทำบุญตักบาตร ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน อีกทั้งชมเฮือนเก่าๆ มีจักรยาน จอดอยู่หน้าบ้าน ให้ความคลาสสิกจริงๆ  

 

เมื่อใครมาสัมผัส ทำให้หลงใหลในความมีเสน่ห์ ผู้บันทึกมีเวลาในการปั่นจักรยานในช่วงเช้า ชมบ้านเรือน การดำเนินชีวิต  สัมผัสถึงจิตใจของเจ้าถิ่นมีน้ำใจ ยิ้มแย้ม เชิญชวนในการเข้าชมบ้านแต่ละหลัง  พร้อมกับการต้อนรับที่อบอุ่น คอยเพลิดเพลินไปด้วย

 

ความมีเสน่ห์ ของคนเชียงคานที่มีน้ำใจ และโอบอ้อมอารี และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับนักท่องเที่ยว เชื่อว่าถ้าหลายอำเภอ หลายจังหวัดได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างนี้ เชื่อว่า คนไทยมีความสุขจริงๆ “เที่ยวที่ไหนก็ไม่สุขใจ เท่ากับบ้านเรา”  เมืองเรา เมืองไทยนี่เอง

 

ข้าวเช้า ได้ทาน ข้าวปุ้น น้ำแจ่ว  เป็นสูตรเอกลักษณ์เพิ่มรสชาติความอร่อย ณ ถนนเชียงคานซอย 14  หลังจากอิ่มอร่อยแล้ว  ทีมงานได้ขับรถไปรับ พี่แต๋ว (อังษณา) พี่สาวอีกคน ที่จะเดินไปด้วยกันในทริปผีตาโขน  กลางวันเป็นเจ้าภาพเลี้ยงข้าวทีมงานอีกต่างหาก

 

และได้เดินทางไปที่อำเภอด่านซ้าย เพื่อที่จะไปเที่ยวงาน ผีตาโขน จังหวัดเลย ไปชมขบวนการแห่ ที่มีความหลายหลาย  มีผีตาโขนน้อย ผีตาโขนใหญ่ เต็มไปหมดตามถนนที่จัดงาน

 

ประเพณีแห่ผีตาโขน จัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุเจดีย์สองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย

ต้นกำเนิดผีตาโขน

 

การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้น เมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า "ผีตามคน" หรือ "ผีตาขน" จนกลายมาเป็น "ผีตาโขน" อย่างในปัจจุบัน

ชนิดของผีตาโขน

 

ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก

 

ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

 

ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน

 

การแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ ทำจากกาบมะพร้าวแกะสลักและ สวมศีรษะด้วยกระติ๊บข้าวเหนียว ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน

มีความตื่นตา ตื่นใจเมื่อนักท่องเที่ยวได้ไปพบเห็น แต่เสียดายที่อากาศร้อนมาก ทำให้ชมความอลังการ์ ไม่ทั่วถึง แต่ก็มีความมั่นใจว่า ได้ไปชมแล้วประเพณีแห่ผีตาโขนในปีนี้เมื่อวันที่ 11-12 มิถุนายน 2553 ด้วยความอิ่มเอม และสุขใจ  ไปกี่คร้งก็ไม่ผิดหวัง ด้วยความขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ ทุกคนที่ทำในการเดินทางของน้องๆ ทริปนี้เต็มอิ่มค่ะ

 

 ภาพสนับสนุนการถ่ายภาพโดย น้องอร ,วาส และแหม่ม

                      (12-06-53 ทริปเที่ยวจ.เลย)

 

อนงค์  ปะนะทัง

18 มิ.ย. 2553

หมายเลขบันทึก: 367371เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2010 09:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะพี่นงค์

เมืองเลย มีอะไรน่าสนใจเยอะแยะจริงๆ นะคะเนี่ย เป็นความประทับใจเช่นกันค่ะ ไปหลายๆ ครั้งก็ยังไม่ครบสักที ขอบคุณค่ะพี่

สวัสดีค่ะน้องP

สุขใจ.จัง.. ที่ได้ไปเที่ยเลย ด้วยกัน
ขอให้มีความสุขในวันหยุดนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท