"ข้าวฮาง" ทางเลือกของคนรักสุขภาพ


 User33208_K5YDEZ.jpg

 

  คำว่า "ฮาง" เป็นภาษาถิ่นที่คนทั่วไป หรือแม้กระทั่งคนอีสานหลายคน ยังหาคำอธิบาย หรือตีความไม่ได้ อีกทั้งไม่รู้จักคำ "ฮาง" ว่าหมายถึงอะไร เคยได้ยิน แต่คำ "เงินฮาง" เงินสมัยโบราณ "ฮางหมู" หรือ "ฮางเกือหมู" อันเป็นภาชนะไม้ที่ทำเป็นรางสำหรับให้อาหารหมูเท่านั้น

สำหรับ "ข้าวฮาง" นั้น อาจารย์รุจีรัตน์ได้ข้อมูลจากการสอบถามพี่น้องผู้ไท ผู้เฒ่า ผู้แก่ ในพื้นที่อำเภอวาริชภูมิ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวฮาง จนกระทั่งเป็นที่รู้จักและกลายเป็นสินค้าพื้นถิ่นที่มีอนาคตของจังหวัดสกลนคร จนสามารถขยายตลาดสู่กลุ่มคนรักสุขภาพทั่วประเทศ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน นาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จำนวนไม่น้อย

ในความเป็นจริงแล้วพี่น้องผู้ไทแถบวาริชภูมิยังคงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ในด้านวิธีการแปรรูปข้าวได้อย่างหลากหลาย และทำต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ข้าวฮาง ข้าวเม่า ข้าวเกรียบ เป็นต้น โดยใช้พันธุ์ข้าวโบราณที่เรียกว่า ข้าวดอ มี ข้าวมันวัว ข้าวป้องแอ้ว (ข้าวหางยี) ข้าวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นข้าวที่จะสุกก่อนข้าวงัน (ข้าวหนัก) ส่วนพันธุ์ข้าวงัน ประเภทข้าวกาบหมาก (เปลือกแดง แต่เมล็ดขาว) ข้าวขี้ตมแดง ข้าวขี้ตมขาว (เปลือกจะมีสีขาวคล้ายตม) โดยปกติแล้วข้าวดอหรือข้าวเบานี้ จะสุกไม่พร้อมกันโดยทิ้งระยะห่างกันประมาณ 10-15 วัน ตามลำดับ

โดยธรรมชาติของข้าวดอ มีลักษณะอ่อนนุ่ม คนผู้ไทจึงนิยมนำมาทำข้าวเม่า โดยเฉพาะข้าวป้องแอ้ว หรือข้าวหางยี ที่ออกรวงเป็นน้ำนมข้าว ก็นิยมเก็บเกี่ยวมาทำข้าวเม่าเช่นกัน เรียกกันว่า "เข๊าโค้", "ข้าวคั่ว" หรือ "ข้าวเม่า" จึงเป็นอาหารกินกันเล่น ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ดีกว่ารับประทานอาหารเสริมจำพวกน้ำนมข้าวที่ได้ปรับเปลี่ยนกรรมวิธีแปรรูป แต่งสี แต่งกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติจนขายดิบขายดีตามท้องตลาด ตลอดจนห้างสรรพสินค้าทั่วไปที่ดึงดูดผู้คนชาวเมือง ชาวกรุงผู้มีรสนิยม

ส่วนข้าวสารที่คั่ว แล้วบดป่นให้ละเอียด นำไปใส่คลุกเคล้ากับลาบนั้น คนผู้ไทเรียก "เข๊าไม้" หรือ ข้าวไหม้

"ข้าวเม่า", "เข๊าโค้", "ข้าวคั่ว" เป็นวิธีการแปรรูปข้าวตามวิถีแบบธรรมชาติ ไม่ต้องใส่สารเคมีปรุง แต่งสร้างเสริมอะไรให้วิจิตรพิสดาร หากต้องการเปลี่ยนรสชาติให้กลมกล่อมและนุ่มลิ้น ก็อาจขูดมะพร้าวอ่อน และโรยน้ำตาลทราย หรือน้ำอ้อยคลุกเคล้าลงไป ก็จะได้รสชาติอีกแบบหนึ่ง กลุ่มแม่บ้านนาบ่อ ยังคงใช้วิถีดั้งเดิมห่อข้าวเม่าใส่ใบตองเร่ขายตามบ้าน หรือนำไปขายที่ตลาดสดวาริชภูมิ ผู้ที่ได้ลิ้มรสชาติต่างยอมรับว่า รสชาติดีกว่าข้าวเม่าในพื้นที่อื่น

ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เครื่องมือตำข้าวแบบใหม่ โดยใช้เครื่องรถไถมาดัดแปลงทำสายพาน แล้วต่อเหล็กยื่นออกมาด้านหน้า 2 ตัว เป็นตัวกด ทำให้ครกกระเดื่องตำข้าวสลับกันไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องใช้แรงงานคน เนื่องจากข้าวเม่านั้นเป็นข้าวอ่อน เมล็ดข้าวจะยังไม่แก่เต็มวัย จะใช้วิธีการสีเหมือนข้าวแก่ไม่ได้ ต้องใช้วิธีการตำเท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #สกลนคร3
หมายเลขบันทึก: 366514เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับ

-แวะเข้ามเพิ่มเติมความรู้เรื่อง "ข้าวฮาง" ครับ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท