Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ระดับป.4 การมีสติสัมปชัญญะและพรหมวิหาร ๔ ในชีวิตประจำวัน


๑.  วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้

                เพื่อให้ผู้เรียน

๑.๑  มีสติสัมปชัญญะในการใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า

๑.๒ รู้จักและเข้าใจพรหมวิหาร ๔ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

๑.๓ รู้จักการละเว้นอบายมุข  การละเว้นอกุศลและปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

๑.๔ รู้จักและเข้าใจวุฒิธรรม  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

 

๒. รายละเอียดของเนื้อหาการเรียนรู้

                ๑.สติสัมปชัญญะกับความพอประมาณ

                ๒.พรหมวิหาร ๔ กับความมีเหตุผล

                ๓.การเว้นอบายมุขกับการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

                ๔.วุฒิธรรมกับการมีความรู้

                ๕.การละเว้นอกุศลกับการมีคุณธรรม

 

๓. แนวทางการเรียนการสอน (กิจกรรมการเรียนรู้)

๓.๑  การสร้างความพร้อม

๑)  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสร้างกติกาในการเรียนรู้เพื่อถือปฏิบัติเป็น “วินัยประจำวิชา” เช่น การแต่งกายให้เรียบร้อย การตรงต่อเวลา การตั้งใจเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้

๒)  อธิบายเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยก่อนเรียนจะต้องมีการการบูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล นั่งสมาธิ และแผ่เมตตาก่อนการเรียน (ประมาณ ๕ นาที) ในทุกชั่วโมงเรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการกระทำดังกล่าว

๓)  ให้ผู้เรียน ๑ คน เป็นผู้นำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย และสมาทานศีล (โดยต้องวนเวียนกันไปไม่ซ้ำบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์อย่างทั่วถึง)

๔) นำผู้เรียนเจริญภาวนาด้วยวิธีง่ายๆ  คือ การดูกาย  ดูจิต

 

๓.๒  การสร้างปัญญา

                ๑. ขั้นเสวนาผู้รู้

-  ผู้สอนกล่าวชื่นชมและอนุโมทนาในการทำความดีของผู้เรียน

-  ผู้สอนแจ้งรายละเอียดของเนื้อหาโดยภาพรวมทั้งหมดว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง

-  ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้เรียนระบุพฤติกรรมของตนเองที่แสดงออกว่ามีสติสัมปชัญญะในการใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า

-  ผู้สอนให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดว่า พรหมวิหาร ๔  และวุฒิธรรม คืออะไร  มีความสำคัญอย่างไรกับชีวิต

-  ผู้สอนตั้งคำถามว่า นักเรียนสามารถละเว้นอบายมุข  ละเว้นอกุศลและปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไรบ้าง

-  ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

 

๒. ขั้นสดับคำสอน

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของการมีสติสัมปชัญญะในการใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของพรหมวิหาร ๔

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของการละเว้นอบายมุข  การละเว้นอกุศลและปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของวุฒิธรรม

 

๓. ขั้นสร้างสรรค์ความคิด

-  ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนกลุ่มประมาณ ๕ คน

-  ผู้สอนแจกใบงานให้ทุกคน

-  ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันระดมความคิดโดยยกตัวอย่างลักษณะของการมีสติสัมปชัญญะในการใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า  นำเสนอภายในกลุ่ม  คนละ 1 นาที

-  ให้ผู้เรียนแต่ละคนบอกเล่าเรื่องราวของตนเองที่เกี่ยวกับการละเว้นอบายมุข  การละเว้นอกุศลและปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ในใบงาน  ให้เวลา 10  นาที

-  ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มออกมานำเสนอผลงานการวาดรูปและบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองภายในกลุ่ม  คนละ 2 นาที

-  ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันคัดเลือกเรื่องราวและรูปภาพที่ดีที่สุดในกลุ่ม  ส่งเป็นตัวแทนกลุ่ม  เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนต่อไป

 

 

๔. ขั้นนำเสนอและสรุป      

-  ผู้สอนให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 

-  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมีสติสัมปชัญญะในการใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า  พรหมวิหาร ๔ และวุฒิธรรม กับนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  การละเว้นอบายมุข  การละเว้นอกุศลและปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการถามตอบและแสดงความคิดเห็น

-  สรุปความรู้และประโยชน์ที่ได้จากการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

-  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย

-  ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

 

๔. สื่อการเรียนการสอน

๑.  หนังสือเรียนวิชา ธรรมะกับเศรษฐกิจพอเพียง

๒.  รูปภาพโครงการพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียง

๓.  วีดีทัศน์ / สื่อเสียง 

๔.  สื่อประดิษฐ์

๕.  ใบความรู้ เรื่อง การมีสติสัมปชัญญะและพรหมวิหาร ๔ ในชีวิตประจำวัน

๖.  การนำเสนอด้วย  PowerPoint

๗.  E-Learning  วิชา ธรรมะกับเศรษฐกิจพอเพียง

 

๕.  การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน

 

๑.  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การนำเสนอ

๒.  ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย

๓.  ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายทั้งระดับรายบุคคลและกลุ่ม

๔.  ประเมินจากการรับฟัง และการปรับปรุงแก้ไขผลงาน

๕.  ประเมินจากการแสดงความคิดเห็น

๖.  ประเมินจากการทำกิจกรรมกลุ่มและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

๗.  ประเมินจากการสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน

 

 

 

 

๖. หนังสืออ่านประกอบ   http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=326

หนังสือ "หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

จำนวนหน้า : (40 หน้า)

 

หนังสือ "เรียนรู้หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

 

จำนวนหน้า : (78 หน้า)

 

หนังสือ "เส้นทางสู่ความพอเพียง"

จำนวนหน้า : (82 หน้า)

 

หนังสือการ์ตูน "เศรษฐกิจพอเพียง"

 

จำนวนหน้า : (200 หน้า)

 

หมายเลขบันทึก: 366429เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2010 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท