Episode 7 หน้าตา ของงานออกแบบ


...หลังจากพินิจพิเคราะห์ดูแล้ว จะเห็นว่า งานออกแบบมันมาจากองค์ประกอบ สามอย่างนี้ นี่เอง...

งานวิศวกรรม ถ้าจะมองภาพรวมก็จะเป็นว่ามีอยู่สองส่วนหลักๆ ...

อันแรกเป็นเรื่องของการออกแบบ ...เรียกว่าฝ่ายบุ๋น

อันที่สองเป็นเรื่องของการเข้าไปทำเข้าไปติดตั้ง ...เรียกว่าฝ่ายบู้

เวลาจัดทีมงาน ก็จะแบ่งออกเป็นสองทีมนี่แหล่ะ ..แต่ละทีมก็มีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบแตกต่างกันไป...

...ต้องต่างนะครับ ไม่งั้น ก็จะไม่รู้ว่าจะแยกออกจากกันทำไม..

 

ทีมแรกที่ทำงานออกแบบ ก็ต้องรู้ก่อนว่าจะต้องเริ่มต้นที่ไหน และ จบที่ไหน

เท่าที่ทำงานมา ก็คงไม่หนี Step ต่อไปนี้ ที่เราต้องตอบคำถามตัวเองแต่ละข้อให้ได้

อาจจะดูกวนๆ แต่ ก็ทำให้จำง่ายดี  

1. ทำไปทำไม? อันนี้ เป็นการถามความต้องการของลูกค้าน่ะครับ ว่า "ต้องการ" อะไร หรือที่ผมพูดถึงบ่อยๆ ว่า Requirement ของลูกค้า

2. ใช่อันนี้หรือเปล่า? เป็นการสรุปส่ิงที่ลูกค้าอยากใด้ ให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน อาจจะออกมาในรูปของ แบบ Model หรือ แบบคำนวณต่างๆ อัีนนี้ จะรวมเรียกว่า Conceptual design

3. จะทำดีมัี๊๊๊ั๊ย ? ใช่ว่าแนวความคิดทุกเรื่องจะต้องได้รับการนำไปทำให้สำเร็จนะครับ บางเรื่อง ก็ "ไม่น่า" จะทำ แต่สิ่งที่จะบอกว่า "น่าทำ" หรือ "ไม่น่าทำ" คือความคุ้มค่าครับ ซึ่ง คนที่มีหน้าที่ในการออกแบบ จะต้องคิดออกมาสองเรื่องคือ 

 

  • ต้องลงทุนเท่าไหร่
  • ทำออกมาแล้ว กลับมาเป็นเงินเท่าไหร่ หรือ ต้นทุนที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างไร

 

ตรงนี้ต้องมีกระบวนการคิดออกมาให้เป็นตัวเลขก่อน ซึ่งต้องทำให้ได้เร็ว และ ถูกต้อง ดังนั้น ต้นทุนหลักๆ จะต้องถูกนำมาคิด และ สรุปภาพออกมา อาจจะเรียกว่า เป็น Performa Proposal ก็ได้

4. เตรียมตังส์ไว้เท่าไหร่? ขั้นตอนนี้เป็นการคิดละเอียด ซึ่งเป็นการนำเอา conceptual design ไป คิดว่าจะออกแบบเพื่อการจัดสร้าง และ ใช้งานได้จริง ออกมาอย่างไร และัจัดทำ "แบบสำหรับสร้าง (Fabrication drawing) ออกมา ตรงนี้จะต้องมี รายการของที่จะต้องเตรียม หรือ Bill of Material (BOM) ไว้ด้วย ซึ่งเืมื่อรวมทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว เราจะเรียกว่า Project Proposal

ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการของบฯประมาณ ต่อไป

หลังจากพินิจพิเคราะห์ดูแล้ว จะเห็นว่า งานออกแบบมันมาจากองค์ประกอบ สามอย่างนี้ นี่เอง คือ Requirement, Conceptual design, Budget preparation

แต่ถ้าเป็นงานที่ยังไม่เคยจัดทำ หรือ เป็นการออกแบบครั้งแรกนั้น เราจะเรียกว่า "ต้นแบบ" หรือ Prototype ซึ่ง เอาไว้จะนำมาเล่าให้ฟังในโอกาสต่อไปครับ ..

คำสำคัญ (Tags): #design#ออกแบบ
หมายเลขบันทึก: 366166เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2010 06:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมดูกระบวนการทางวิศวกรรมเเล้วก็เหมือนกับงานทั่วไปที่ต้องมี Right view -Right Concept ก่อนที่จะ Right Action นะครับ

-------------------------------------------------------------------------------------

ช่วงหลังผมไม่ค่อยได้บันทึกใน gotoknow เท่าไหร่ เเต่ก็เขียนอยู่เป็น offline ส่วนใหญ่เป็นเรื่องงานเเละเรียนครับ อาจต้องคิดใหม่ว่าการเขียนอาจเน้นประเด้นเล็กๆเเล้วนำมาขยายความคิดก็น่าจะดี เพราะเเนวการเขียนส่วนใหญ่ของผมก็เป็นเรื่องเป็นราว พอคิดขนาดนี้เเล้วเวลาเขียนใช้พลังสูงมาก ใช้ใน FB ก็สะดวกดีกับประเด็นเล็กๆมีเพื่อนมาเเลกเปลี่ยนระดับหนึ่ง ผมเลยมีเพื่อนใน FB ค่อนข้างเยอะ คอเดียวกันทั้งนั้นเลย

นานเหมือนกันนะครับที่ไม่ได้เข้ามาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ คุณป๋องคงสบายดีนะครับ

สบายดีครับ...

นานมากแล้วที่ไม่ได้มาเีขียนใน Go To KNOW

คงจะได้เห็นผมบ่อยขึ้นในนี้ครับ ...

ยินดีที่ได้เจอเพื่อนเก่าอีกครั้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท