ไปเรียนรู้การเลี้ยงแมลงช้างปีกใสในเวที DW( 2 )


การผลิตและขยายแมลงช้างปีกใส

  

 

สำหรับการผลิตและขยายแมลงช้างปีกใส ที่นักส่งเสริมการเกษตรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัย ประจำศูนย์บริหารศัตรูพืชพิษณุโลกนั้น จะมีอยู่ 2 วิธีดังนี้

 

         วิธีที่1.การเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ 

        ขั้นที่1 ทำการคัดเลือกฟักทองที่แก่ มีขนาดลูกละ 400-500 กรัม ทำความสะอาดโดยใช้แปลงปักฝุ่นแลแมลงออกใช่พู่กันเขี่ยถุงไข่ และตัวอ่อนของเพลี้ยแป้งลงบนฟักทอง ประมาณ 100-200 ตัว เลี้ยงไว้ 3-4 สัปดาห์ เพลี้ยแป้งจะขยายพันธุ์ประมาณ 75 เปอร์เซ็นต์ ถึงเต็มลูกฟักทอง จากนั้นจึงนำไปเลี้ยงแมลงช้างปีกใสได้

 

 

        ขั้นที่2. เตรียมน้ำผึ้ง 20 เปอร์เซ็นต์ ใช้สำลีจุ่มให้พอเปียก แล้วโรยด้วยยีสต์ผง และสำลีชุบน้ำสะอาดวางในท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ความยาว 25 เซนติเมตร (ภายในกรุด้วยกระดาษสีดำ) เพื่อเป็นอาหารของตัวเต็มวัยแมลงช้างปีกใส

 

 

 

        ขั้นที่3. นำตัวเต็มวัยแมลงช้างปีกใส ที่เก็บมาจากธรรมชาติ หรือที่เลี้ยงไว้ในท่อพีวีซีท่อนละ 100-200 ตัว โดยคัดเลือกตัวผู้และตัวเมียอย่างละเท่าๆกัน

 

 

       ขั้นที่4. เมื่อแมลงช้างปีกใสวางไข่ (ประมาณ 2 วัน) ย้ายแมลงช้างปีกใส ใส่ท่อพีวีซีหรือกล่องใหม่ และนำท่อพีวีซีที่มีไข่มานับจำนวนไข่ บันทึกจำนวนไข่ จากนั้นก็จะต้องเก็บไข่ 2 วันต่อครั้ง

 

       ขั้นที่5 ใส่ฟักทองที่มีเพลี้ยแป้งลงในกล่อง โรยไข่แมลงช้างปีกใสบนฟักทองที่มีเพลี้ยแป้ง ลูกละ 100-200 ฟองเมื่อเพลี้ยแป้งบนฟักทองหมด ให้ทำการเปลี่ยนฟักทองที่มีเพลี้ยแป้งใส่แทนฟักทองเดิม

 

       ขั้นที่ 6. การปล่อยแมลงช้างปีกใสในแปลง ควรใช้จำนวนตัวอ่อนวัย2 ในอัตราไร่ละ 250 ตัว โดยทำการปล่อย จำนวน 10 จุดๆละ 25 ตัว

 

 

        วิธีที่2.การเลี้ยงเพื่อปล่อยในพื้นที่

        หากมีเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังที่สนใจสามารถติดต่อขอเข้าร่วมศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในเขตพื้นที่ของท่านหรือติดต่อทางศูนย์บริหารศัตรูพืชใกล้บ้านท่าน โดยขอรับพ่อแม่พันธุ์แมลงช้างปีกใส หรือ เก็บจากธรรมชาติ เมื่อเลี้ยงในกรงจนถึงระยะตัวอ่อน หรือตัวเต็มวัย ปล่อยในแปลงมันสำปะหลังที่เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้ง

 

 

 

          ท้ายนี้ผมจะขอเพิ่มเติม การเลี้ยงแมลงช้างปีกใสปล่อยอย่างง่าย   คือควรเก็บยอดมันสำปะหลัง ที่มีเพลี้ยแป้งและแมลงช้างปีกใสจากธรรมชาติ มาใส่ในกะละมังถังพลาสติก หรือภาชนะที่มีมุ้งคลุม เมื่อเป็นตัวเต็มวัย ควรปล่อยให้อยู่ในกะละมัง 4 วัน เพื่อให้ตัวเต็มวัยไข่ลงยอดมันสำปะหลัง ในกะละมังก่อน แล้ววันรุ่งขึ้น (วันที่ 5) ก็ยกกะละมังไปเปิดในไร่มันสำปะหลัง เพื่อให้ตัวเต็มวัยบินไปใข่ในไร่มันสำปะหลังต่อไป

 

 

เขียวมรกต 

12 มิย.53

หมายเลขบันทึก: 366068เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2010 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท