กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค


ลดโรคเรา ลดโลกร้อน
 
ชื่อเรื่อง          กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคในหมู่บ้านต้นแบบ
ชื่อผู้ศึกษา    นางสิริญา       ฉิมพาลี       ตำแหน่ง  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
                      นางสิริรัตน์    สุขอร่าม      ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ        
กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน  โรงพยาบาลท่ายาง  อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี
ความเป็นมาและความสำคัญ
         ปัญหาสุขภาพที่ทำให้คนไทยป่วยเป็นโรคมากขึ้น ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน หากรวมทุกโรคมีจำนวนสูงนับแสนคน โรคที่คนไทยป่วยมากขึ้นและมีอัตราเสียชีวิตสูง คือ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งการดูแลรักษาต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูง โดยเฉพาะโรคมะเร็งเพียงอย่างเดียว ค่ารักษานับล้านบาท  โรคเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่เหมาะสมและเพียงพอ ถึงแม้หลายคนจะมีความรู้ แต่ก็ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง จากการสำรวจของกรมอนามัยพบว่า ในปี 2550 คนไทยจากจำนวน 60 กว่าล้านคน มีเพียง 5 ล้านคนเท่านั้น ที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องหันโรคได้ ในด้านการรับประทานอาหาร ผลการศึกษาของภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ และภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  ที่ทำการศึกษาโดยเก็บตัวอย่างจากประชากรที่มีอายุมากกว่า  15  ปี จำนวนเกือบ 4 หมื่นราย พบว่า กลุ่มศึกษารับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้น้อยมาก
                จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ได้ระบุว่าประชากรโลกมีแนวโน้มป่วยและตายจากโรคไร้เชื้อเรื้อรังมากขึ้นทุกปี  จากการคาดการณ์การตายของประชากรโลกจากโรคไร้เชื้อเรื้อรังในปี 2548  พบร้อยละ 60  ของการตายทั้งหมด และในจำนวน 17.5 ล้านคน ตายจากโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด หากไม่มีมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ในปี 2565 การตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มขึ้นเป็น 25 ล้านคน  สำหรับผลสำรวจในประเทศไทยปี 2547 พบว่า โรคไร้เชื้อเรื้อรังเป็นสาเหตุแห่งการสูญเสียมากถึงร้อยละ 60 ของการสูญเสียจากสาเหตุอื่น  และพบว่าปัจจัยของการเกิดโรคเกิดจากพฤติกรรมด้านสุขภาพไม่ถูกต้อง เช่น การไม่ออกกำลังกาย บริโภคอาหารไม่ถูกต้อง รับประทานผักผลไม้น้อย และยังพบว่า คนไทยมีพฤติกรรมบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น  คนไทยในเขตเมืองเกือบครึ่ง ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวานทุกวัน และ 1 ใน 10  รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงทุกวัน เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนผู้ทีดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลากว่า 20 ปี เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับ เป็นต้น ดังนั้นทำให้เห็นว่าการรับประทานผักผลไม้ในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ  และการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง รวมทั้งลดรับประทานอาหารที่มีไขมัน  ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ จะทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้
                กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ขึ้นทั่วประเทศ ทั้ง 76 จังหวัด รวม 152 หมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ  ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานพระราชานุญาติให้เป็นกิจกรรมหนึ่งในโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวในพระราชูปถัมภ์ฯ และเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุ 57 พรรษา ใน ปี 2552
                งานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ   กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน   มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนทุกเพศทุกวัย   จึงได้จัดทำโครงการ  “ พัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด  ”  ขึ้น โดยเลือกพื้นที่เป้าหมายคือ  บ้านหนองแฟบ หมู่ที่  5  ตำบลท่ายาง  ซึ่งเป็นหมู่บ้านในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาล
ท่ายาง  เป็นหมู่บ้านที่มีปัจจัยเอื้อ คือ มีถนน  มีสถานที่สำหรับออกกำลังกาย  มีพื้นที่และแหล่งน้ำเพื่อการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเอง   มีครัวเรือนจำนวน  633  ครัวเรือน และมีประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 2,263 คน  ในการดำเนินการพัฒนาครั้งนี้ ใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่มีต้นทุนน้อย และมีใช้กันอย่างแพร่หลายในชุมชน  ทั้งนี้มุ่งหวังให้หมู่บ้านหนองแฟบที่มีประชาชนจำนวนมากเป็นหมู่บ้านต้นแบบหรือเป็นแหล่งเรียนรู้แก่หมู่บ้านอื่น ๆ   ในการที่จะบริหารจัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในหมู่บ้านให้มีสุขภาพที่ดี   และมีความเข้มแข็งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชน เพื่อ ที่จะลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม   การออกกำลังกายไม่เพียงพอ และที่สำคัญคือ  เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี
 วัตถุประสงค์
                1. เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรคมะเร็ง 
โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
                2. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่พัฒนาขึ้นและหาประสิทธิผลในเรื่อง
                2.1  ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกาย
                2.2 ความรู้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
                3. เพื่อศึกษาผลการรับรู้ข่าวสาร/ความรู้ ของประชาชน  และความพึงพอใจต่อการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
 วิธีการศึกษา
รูปแบบการศึกษา
                การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรเป็นประชาชนหมู่ที่ 5 ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี อายุ 15 ปีขึ้นไป
ซึ่งมีจำนวน  2,263   คน  การสุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ใช้วิธีการกำหนดเกณฑ์การได้มาของกลุ่มตัวอย่างโดยคัดเลือกหลังคาเรือนละ 1 คน สรุปผลจาการคัดเลือกได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 436 คน
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชุด คือ
                     ชุดที่ 1 แบบสัมภาษณ์การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลัง  แบ่งออกเป็น  3  ส่วนคือ
                     ส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไป
                      ส่วนที่ 2  ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพชุมชน
                      ส่วนที่ 3  ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
                      ส่วนที่  4  ความรู้และพฤติกรรมการออกกำลังกาย
                     ชุดที่ 2 แบบสอบถามการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ และความพึงพอใจต่อการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ในโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ  แบ่งออกเป็น  3  ส่วน  คือ
                     ส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไป
                     ส่วนที่ 2  การรับรู้ข่าวสาร ความรู้
                     ส่วนที่ 3 ระดับความพึงพอใจที่มีต่อการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ในโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ การให้คะแนนเป็นแบบประเมินค่า 5 ระดับ กำหนดเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
                     พึงพอใจน้อยที่สุด         ให้          1              คะแนน
                     พึงพอใจน้อย                  ให้          2              คะแนน
                     พึงพอใจปานกลาง        ให้          3              คะแนน
                     พึงพอใจมาก                   ให้          4              คะแนน
                     พึงพอใจมากที่สุด          ให้          5              คะแนน
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                1. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์การเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย จำนวน 436  คน   ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 1 ในช่วงวันที่  1  –  6   มีนาคม   2552
และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งที่ 2 ในช่วงวันที่  8  -  19  มิถุนายน  2552
                2. เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ และความพึงพอใจต่อการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ในโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ  โดยสัมภาษณ์ประชาชนที่มาเข้าร่วมกิจกรรมตลาดนัดสุขภาพ จำนวน  100  คน
                วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                    วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ และร้อยละ
 ขั้นตอนการดำเนินงาน
 

  1. 1.       ประชุมชี้แจงแกนนำชุมชน คัดเลือกคณะทำงาน/คณะกรรมการรับผิดชอบหมู่บ้านปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจและหลอดเลือด และประสานการนำทรัพยากรมาใช้ในการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้าน
  1. 2.       จัดอบรม พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ
  2. 3.       ศึกษาบริบท/สถานการณ์การเจ็บป่วย พฤติกรรมสุขภาพ ตลอดจนปัจจัยเอื้อในการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมของประชาชนในหมู่บ้าน และดำเนินการเฝ้าระวังโดยใช้เครื่องมือการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ
  1. 4.       จัดประชุมเวทีชาวบ้านร่วมกับชุมชน ในการจัดทำแผนโครงการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมลดโรค ฯ และกำหนดมาตรการทางสังคม/ข้อตกลงของหมู่บ้าน
  1. 5.       เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อวิทยุชุมชน สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น สื่อโทรทัศน์ 
และผลิตสื่อเสื้อประชาสัมพันธ์
  1. 6.       จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้โดยใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้เทคโนโลยีที่มีต้นทุน
น้อย และมีใช้กันอย่างแพร่หลายในชุมชน  โดยใช้วิธีการส่งหนังสือเวียนแจ้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับประชาชน เมื่อประชาชนท่านใดได้รับหนังสือเวียนแจ้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเนื้อหาในจดหมาย กล่าวถึงข้อมูลด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างกระแสและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนัก นอกจากนี้เนื้อหายังให้ความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารที่ถูกต้อง กินผัก ผลไม้สด วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัม หรือผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน เค็มจัด หวานจัด  เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และเกิดทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  เมื่อประชาชนท่านใดได้รับหนังสือเวียนแจ้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อได้อ่านและปฏิบัติตามแล้ว  ขอให้ท่านส่งหนังสือเวียนต่อไปให้กับคนที่คุณรักอีก 2 ท่านได้ปฏิบัติตาม โดยที่ประชาชนจะสามารถไปรับหนังสือเวียนที่จะส่งต่อได้ที่ อสม. ที่อยู่ใกล้บ้านและเมื่อได้ส่งหนังสือเวียนแล้วทั้ง 2 ฉบับ  ให้ประชาชนนำหนังสือเวียนที่ถืออยู่ไปรับเมล็ดพันธุ์ผักในวันตลาดนัดสุขภาพ   ซึ่งเป็นการจัดปัจจัยเอื้อในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง
  1. 7.       จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ ในตลาดนัดสุขภาพดังนี้
            ประกวดการแข่งขันการออกกำลังกาย
            ประกวดการแสดงละครเวทีเกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
            แจกเมล็ดพันธุ์ผักให้กับครัวเรือน เพื่อให้ครัวเรือนได้ปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง และ
ส่งเสริมการขยายผลผลิตในการหารายได้
 
 

            จัดสถานที่แหล่งจำหน่ายผักปลอดสารพิษให้กับชุมชนในพื้นที่โรงพยาบาล
            แจกสมุดบันทึกพฤติกรรมของฉันเพื่อร่วมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับประชาชน ได้บันทึก
พฤติกรรมของตนเองและร่วมกันทำพันธะสัญญา
            แจกป้ายประกาศเกียรติคุณให้กับครัวเรือนที่มีสมาชิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเป็นแบบอย่าง
ที่ดีให้กับครัวเรือนอื่น ๆ ต่อไป
            อสม. ร่วมกับเจ้าหน้าที่เคาะประตูบ้านทุกครัวเรือน เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สมาชิก
  1. 8.       ดำเนินการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพหลังการดำเนินโครงการโดยใช้เครื่องมือการเฝ้าระวัง
พฤติกรรมสุขภาพของกองสุขศึกษา
  1. 9.       จัดสถานที่ให้ประชาชนสำหรับการออกกำลังกาย จัดให้มีแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษของชุมชน
  2. 10.    ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมในหมู่บ้าน มีสมุดลงรายชื่อผู้เข้าร่วมออกกำลังกาย
ของชุมชน และมีทะเบียนครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับกินในครัวเรือนของชุมชน
  1. 11.    ประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
 ผลการศึกษา
1. ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
ข้อมูล
ก่อนดำเนินงาน (ร้อยละ)
หลังดำเนินงาน
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
ลดลง
(ร้อยละ)
การกินผักผลไม้สดวันละครึ่งกิโลกรัม ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด
 
71.11
98.62
27.51
-
กินผักหลาย ๆ ชนิด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
 
62.22
96.79
34.57
-
กินผลไม้สดทุกวันช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
 
60.00
95.41
35.41
-
กินอาหารที่ทอดซ้ำเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
 
86.67
93.12
6.45
-
กินอาหารที่มีไขมันสูงเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
 
84.44
88.30
3.86
-
   2. ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

ข้อมูล

ก่อนดำเนินงาน (ร้อยละ)

หลังดำเนินงาน

(ร้อยละ)

เพิ่มขึ้น

(ร้อยละ)

ลดลง

(ร้อยละ)

ก่อนออกกำลังกายต้องอบอุ่นร่างกาย 

 

75.56

93.12

17.56

-

ต้องมีการยืดเหยียดหลังการออกกำลังกาย

 

64.44

89.91

25.47

-

ออกแรงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน ๆ ละ 30 นาที

 

80.00

85.09

5.09

-

ออกแรงสม่ำเสมอสามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้

 

62.22

89.91

27.69

-

3.  พฤติกรรมการกินผักที่ถูกต้อง
ข้อมูล
ก่อนดำเนินงาน (ร้อยละ)
หลังดำเนินงาน
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
ลดลง
(ร้อยละ)
มีการกินผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัม
 
33.33
68.98
35.65
-
มีการกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง
 
51.11
75.92
24.81
-
 4.  พฤติกรรมการออกกำลังกาย
ข้อมูล
ก่อนดำเนินงาน (ร้อยละ)
หลังดำเนินงาน
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
ลดลง
(ร้อยละ)
ออกแรงจนเหนื่อยมากสัปดาห์ละ 3 -5 วัน ๆ ละ อย่างน้อย 20 นาที 
 
73.33
82.34
9.01
-
ออกแรงระดับปานกลางสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน ๆ  ละอย่างน้อย 30 นาที
 
68.89
84.63
15.74
-
 5. ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
ข้อมูล
ก่อนดำเนินงาน (ร้อยละ)
หลังดำเนินงาน
(ร้อยละ)
เพิ่มขึ้น
(ร้อยละ)
ลดลง
(ร้อยละ)
ชุมชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง
 
62.22
83.72
21.5
-
ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง
 
51.11
60.32
9.21
-
 
6.  ผลการรับรู้ข่าวสาร/ความรู้ของประชาชนในเรื่องกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายการ
ร้อยละของการรับรู้ข่าวสาร/ความรู้
รายการโทรทัศน์
48
รายการสถานีวิทยุชุมชน
79
หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน/เสียงตามสาย
63
รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
55
สื่อบุคคล /อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยวิธีการเคาะประตูบ้าน
85
ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
70
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
80
หนังสือเวียนแจ้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จดหมายลูกโซ่)
90
สมุดบันทึกพฤติกรรมของฉัน
85
    
7. ความพึงพอใจต่อการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายการ
น้อยที่สุด
น้อย
ปานกลาง
มาก
มากที่สุด
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
ร้อยละ
รายการโทรทัศน์
22
18
40
10
10
รายการสถานีวิทยุชุมชน
5
10
35
28
22
หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน/เสียงตามสาย
15
18
33
23
11
รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่
12
42
32
6
8
สื่อบุคคล /อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยวิธีการเคาะประตูบ้าน
 
2
 
3
 
32
 
30
 
33
ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน
6
15
45
11
23
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
2
9
41
40
8
หนังสือเวียนแจ้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จดหมายลูกโซ่)
2
3
18
52
25
สมุดบันทึกพฤติกรรมของฉัน
2
5
48
23
22
 สรุปและวิจารณ์
 จากการศึกษาพบว่าในการเผยแพร่ และให้ความรู้กับประชาชนที่มีจำนวนมากและได้รับอย่างทั่วถึงโดยที่ประชาชนไม่ต้องเสียเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ในรูปแบบหนังสือเวียนแจ้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จดหมายลูกโซ่)  ซึ่งประชาชนมีการรับรู้ถึงร้อยละ  90  และความพึงพอใจต่อการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในรูปแบบหนังสือเวียนแจ้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จดหมายลูกโซ่)  มีระดับความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ  25   ระดับมากร้อยละ 52  ระดับปานกลางร้อยละ 18  ระดับน้อยร้อยละ  3 และระดับน้อยที่สุดร้อยละ  2 และจากผลการเฝ้าระวังโดยใช้เครื่องมือเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของกองสุขศึกษา พบว่า ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ในเรื่องการกินผักผลไม้สดวันละครึ่งกิโลกรัม ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.51  การกินผักหลาย ๆ ชนิด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.57  การกินผลไม้สดทุกวันช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.41 การกินอาหารที่ทอดซ้ำเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง เพิ่มขึ้น 6.45 และการกินอาหารที่มีไขมันสูงเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86 ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ในเรื่อง ก่อนออกกำลังกายต้องอบอุ่นร่างกาย  เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.56  ต้องมีการยืดเหยียดหลังการออกกำลังกาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.47  ออกแรงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน ๆ ละ 30 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.09  ออกแรงสม่ำเสมอสามารถควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.69  ประชาชนมีพฤติกรรมการกินผัก ในเรื่องการกินผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.65  มีการกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.81  ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกาย ในเรื่องออกแรงจนเหนื่อยมากสัปดาห์ละ 3 -5 วัน ๆ ละ อย่างน้อย 20 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.01  ออกแรงระดับปานกลางสัปดาห์ละ 3 – 5 วัน ๆ  ละอย่างน้อย 30 นาที เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.74  และจาการประเมินผลลัพธ์ของโครงการพบว่า  ครัวเรือนที่มีประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องการออกกำลังกาย ร่วมกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง ได้รับใบประกาศเกียรติคุณตามข้อตกลงของหมู่บ้าน จำนวน  520 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ  82.15
 

ข้อเสนอแนะ
  ในการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ  ประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมดำเนินการตั้งแต่ค้นหาปัญหาในชุมชนของตนเอง ร่วมวางแผนดำเนินงาน  จนกระทั่งร่วมมือกันช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนในหมู่บ้านของตนเอง   ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในการสร้างสุขภาพของตนเองที่ยั่งยืนตามแนววิถีชีวิตของคนในชุมชน กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลท่ายางจึงมีแนวคิดในการที่จะขยายหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นลูกโซ่ต่อไป เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีได้ด้วยการสร้างเสริมเอง
  
คำสำคัญ (Tags): #best practice#hph plus
หมายเลขบันทึก: 365230เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2010 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยมมาก...(ยังไม่ได้อ่าน) เยี่ยมที่เอาขึ้นได้

รู้สึกชื่นชมผลงานอันยอดเยี่ยมนี้ของโรงพยาบาลท่ายางตั้งแต่ไปประเมินโรงพยาบาลแล้วคะ ว่าแต่ผู้ศึกษาเป็นพี่น้องกันหรือเปล่าคะ ชื่อคล้องกันดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท