ใจแบบไหนควรหลีกเลี่ยง


  การกระทำของเราจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับใจ มีใจอยู่ 5  ประเภทที่ควรเลี่ยงและไม่ควรเป็น ได้แก่

   1. ใจเบา  หมายถึง คนที่เชื่อคนง่าย หรือเรียกว่า พวกหูเบา เมื่อได้ยินสิ่งใดแล้วไมีคิดไตร่อตรองว่าควรเชื่อหรือไม่ ทำให้ตกเป็นเครื่องมือของผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว อาจจะทำให้เสียเพื่อน เสียคนรัก

   2. ใจรั้น เพราะเชื่อมั่นตนเองเกินไป จนไม่ฟังความเห็น ข้อแนะนำหรือข้อท้วงติงจากผู้อื่น อาจทำให้เสียโอกาสดี ๆ ไปเพราะคิดว่าตนเองถูกเสมอ หรือไม่ดูจังหวะก็ก่อให้เกิดความเสียหายเช่นกัน

   3. ใจชอบยึดติด เป็นพวกกลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าคิดทำสิ่งใหม่ ๆ เป็นพวกติดกรอบ ไม่กล้าคิดนอกกรอบ เป็นกบในกะลา หาความก้าวหน้ายาก เป็นพวกหัวโบราณ

   4. ใจผูกพยาบาทจองเวร  พวกนี้คิดเพียงว่า แค้นต้องชำระ ใครทำอะไรให้โกรธหรือเจ็บแค้นจะจดจารึกไว้ในสมองอย่างดี คอยหาจังหวะล้างแค้น คนพวกนี้ใจจึงมีแต่ทุกข์ ในใจเหมือนมีไฟสุมอยู่ในทรวง

   5.  ใจบาป  คิดแต่จะเอาเปรียบและมุ่งร้ายผู้อื่น เพียงแต่ทำแล้วตนได้ดีก็ใช้ได้ ใครเดือดร้อนก็ช่าง ไม่สนใจ  ไม่คิดถึงใจเขาใจเรา เอาแต่ใจตนเอง พร้อมที่จะใช้ผู้อื่นเป็นสะพานข้ามไปเพื่อความสำเร็จเหยียบได้เหยีบไปข้ามได้ข้ามไป

   ใจทั้ง 5  นี้ควรหลีกเลี่ยงเป็ยอย่างยิ่ง  อย่าให้ครอบงำจิตใจเราได้ ทางแก้ไขคือ คิดให้ตรงกันข้าม อย่าหูเบา รับฟังผู้อื่น ไม่ยึดติด รู้ให้อภัย มีใจเมตตา ถ้าทำได้ถือว่าท่านมีจิตใจอันประเสริฐแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #สกลนคร3
หมายเลขบันทึก: 365101เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ใจหนอใจ ทำยังไงจะเข้าใจ "ใจ"ของตนเองและ "ใจ"ของคนอื่น

คำตอบคือ หลักปฏิบัติที่พระพุทธศาสนาให้หลักไว้แล้ว

สวัสดีค่ะ

มาอ่านบันทึกดีดี

ของคนใจดีและหน้าตาดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกดีดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท