แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  เรื่อง  การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน

วิชาการใช้ห้องสมุด  ท40216                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                   เวลา  2  ชั่วโมง
ครูผู้สอน  นางจุฑามาศ  ปานคีรี   โรงเรียนกบินทร์วิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่ปราจีนบุรีเขต  2
วันที่สอน  27  มิถุนายน   2551                           คาบเรียนที่  1-2   เวลา  8.40-10.40  น

 

1.  ความเข้าใจที่คงทน

                การศึกษาในปัจจุบัน  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้า  และมีความสนใจใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ   ในการศึกษาเกี่ยวกับการเขียนรายงานนั้น  ผู้เรียนจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของรายงาน  ประเภทของรายงาน  จุดประสงค์ของการเขียนรายงาน  ลักษณะสำคัญของรายงานทางวิชาการ  การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน  การเขียนประโยค  รวมถึงการเขียนอ้างอิงในรายงาน

 

2.  มาตรฐานเนื้อหา

                2.1  ความหมายของรายงาน                  
                2.2  ประเภทของรายงาน                   
                2.3  วัตถุประสงค์และความสำคัญของรายงานทางวิชาการ
                2.4  ประเภทของรายงานทางวิชาการ       
                2.5  ลักษณะสำคัญของรายงานทางวิชาการ
                2.6  ลักษณะของรายงานทางวิชาการที่ดี 
                2.7  ข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเขียนรายงาน
                2.8  ขั้นตอนการทำรายงาน         
                2.9  ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ
 

3.  มาตรฐานการปฏิบัติได้

                3.1  อธิบายความหมายของรายงานได้             
                3.2  จำแนกประเภทของรายงานได้                     
                3.3  บอกวัตถุประสงค์และความสำคัญของรายงานทางวิชาการได้
                3.4  จำแนกประเภทของรายงานทางวิชาการได้
                3.5  บอกลักษณะสำคัญของรายงานทางวิชาการได้
                3.6  บอกลักษณะของรายงานทางวิชาการที่ดีได้               
                3.7  บอกข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเขียนรายงานได้         
                3.8  สามารถทำรายงานทางวิชาการได้ถูกต้องตามขั้นตอน          
                3.9  สามารถเขียนรายงานทางวิชาการที่มีส่วนประกอบครบถ้วน
 

4.  ทักษะข้ามวิชา

                1.  กระบวนการกลุ่ม
                2.  ทักษะการคิดวิเคราะห์
                3.  ทักษะการนำเสนอผลงาน

 

5.  คุณลักษณะที่พึงประสงค์

                5.1  ทำงานอย่างเป็นระบบ
                5.2  มีระเบียบวินัย
                5.3  มีความรับผิดชอบ
                5.4  ความสนใจใฝ่รู้
                5.5  ความมีเหตุผล
                5.6  มีความเป็นประชาธิปไตย

 

6.  คำถามสำคัญ

                6.1  หลังจากที่นักเรียนได้เรียนเรื่องการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงานนักเรียนสามารถบอกความหมายของรายงานได้                                                                                           
                6.2  นักเรียนทราบหรือไม่ว่ารายงานมีกี่ประเภทอะไรบ้าง       
                6.3  การทำรายงานทางวิชาการมีวัตถุประสงค์และความสำคัญอย่างไรบ้าง
                6.4  นักเรียนทราบหรือไม่ว่ารายงานทางวิชาการแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
                6.5  นักเรียนทราบหรือไม่ว่าลักษณะสำคัญของรายงานทางวิชาการนั้นเป็นอย่างไร
                6.6  นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่าลักษณะของรายงานทางวิชาการที่ดีนั้นเป็นอย่างไร               
                6.7  ในการเขียนรายงานทางวิชาการนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้างจงอธิบาย
                6.8  นักเรียนสามารถเขียนรายงานทางวิชาการได้ตามขั้นตอนที่กำหนดหรือไม่อย่างไร                      
                6.9  ในการเขียนรายงานทางวิชาการของนักเรียนมีส่วนประกอบครบถ้วนหรือไม่อย่างไร
 

 

7.  กิจกรรมการเรียนรู้

คาบเรียนที่  1

                1.  ขั้นกระตุ้นสมอง

                     -  ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจากเอกสารประกอบการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด  ท40216  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                   หน่วยการเรียนรู้ที่  6  เรื่อง  การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน  เพื่อเป็นการทดสอบความรู้นักเรียนก่อนเรียน ใช้เวลา   15  นาที
                     -  นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน         

                2.  ขั้นท่องสู่ประสบการณ์

                     -  ครูสนทนากับนักเรียนถึงห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ  ที่ไม่ใช่ห้องสมุด  
                     -  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม  ๆ ละเท่า ๆ กัน  และส่งตัวแทนกลุ่มออกมา          จับสลากรับหัวข้อในการศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด   และรับใบความรู้ในการแบ่งกลุ่มให้นักเรียน          แต่ละกลุ่มนำไปศึกษา  พร้อมหัวข้อในการศึกษาของแต่ละกลุ่มดังนี้
                กลุ่มที่  1  หัวข้อที่ได้รับ
                                  -  ความหมายของรายงาน
                                  -  ประเภทของรายงาน                    
                                   -  เขียนรายงานเรื่องที่กลุ่มสนใจ
                กลุ่มที่  2  หัวข้อที่ได้รับ            
                                  -  ลักษณะสำคัญของรายงานทางวิชาการ
                                  -  ลักษณะของรายงานทางวิชาการที่ดี 
                                  -  เขียนรายงานเรื่องที่กลุ่มสนใจ
                กลุ่มที่  3  หัวข้อที่ได้รับ 
                                  -  ข้อบกพร่องที่พบบ่อยในการเขียนรายงาน
                                  -  เขียนรายงานเรื่องที่กลุ่มสนใจ
                กลุ่มที่  4  หัวข้อที่ได้รับ 
                                  -  ขั้นตอนการทำรายงาน         
                                  -  เขียนรายงานเรื่องที่กลุ่มสนใจ
                กลุ่มที่  5  หัวข้อที่ได้รับ
                                  -  ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ
                                  -  เขียนรายงานเรื่องที่กลุ่มสนใจ

                3.  ขั้นสร้างฐานความรู้

                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนและเตรียมการนำเสนอหน้าชั้นเรียน  โดยเขียนสรุปรายละเอียดในแต่ละหัวข้อเป็นแบบสรุปของแต่ละกลุ่มตามความคิดของกลุ่มว่าจะเขียนเป็นแผนผังความคิด  วาดภาพ  หรือสรุปเป็นหัวข้อสั้น ๆ แต่ได้ใจความ  ให้สามารถนำเสนอผลการศึกษาที่เข้าใจง่ายลงในกระดาษรายงาน  เพื่อนำเสนอในคาบเรียนต่อไป
                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนในการจัดป้ายนิเทศตามหัวข้อเรื่องที่กลุ่มได้รับ  เพื่อนำไปจัดแสดงไว้ที่ป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน
                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนร่วมกันในการที่จะอภิปรายว่าได้รับความรู้อะไรบ้าง          ในการช่วยกันศึกษาหาความรู้ตามกลุ่มที่ได้รับ  วางแผนในการเสนอผลงานร่วมกัน

                4.  ขั้นสรุป

                     -  ครูร่วมกันกับนักเรียนสรุปถึงการวางแผนในการที่จะนำเสนอผลงานกลุ่มในคาบเรียนต่อไป
                     -  ครูแนะนำให้นักเรียนแต่ละคนนำสมุดประจำวิชามาในคาบเรียนต่อไปทุกคน            เพื่อจดบันทึกการรายงานกลุ่มตน  และกลุ่มเพื่อนลงในสมุดของตนเอง

                5.  ขั้นปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

                     -  ให้นักเรียนทุกคนไปศึกษาเรื่องห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในหัวข้อที่แต่ละกลุ่ม ได้รับมาล่วงหน้าจากหนังสือในห้องสมุดหรือค้นคว้าจากแหล่งความรู้ Internet
                     -  ให้นักเรียนทุกคนเขียนสรุปความรู้ลงในสมุดรายวิชาตามความเข้าใจของตนเอง

คาบเรียนที่ 2

                1.  ขั้นกระตุ้นสมอง

                     -  ครูพูดคุยซักถามนักเรียนถึงการไปศึกษาค้นคว้าข้อมูลของแต่ละกลุ่ม 
                     -  นักเรียนตอบคำถามของครูตามที่นักเรียนได้ไปศึกษาค้นคว้ามา

                2.  ขั้นท่องสู่ประสบการณ์

                     -  ครูให้หัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม  ออกมาจับสลากลำดับการออกมารายงานหน้าชั้นเรียนตามที่ได้วางแผนไว้แล้วในคาบเรียนที่ผ่านมา
                     -  นักเรียนกลุ่มที่ 1  ออกมารายงานหน้าชั้นเรียนตามหัวข้อที่กลุ่มได้รับโดยการส่งตัวแทนกลุ่มที่เพื่อนๆ ให้รับผิดชอบเรื่องการรายงานออกมารายงาน
                     -   ให้แต่ละกลุ่มรักษาเวลาในการรายงานกลุ่มละ  5  นาที
                     -   เมื่อจบการรายงานแต่ละกลุ่มก็ให้กลุ่มต่อไปที่จับสลากได้ออกมารายงานต่อ  จนครบ           5   กลุ่มตามลำดับที่กลุ่มจับสลากได้

                3.  ขั้นสร้างฐานความรู้

                     -  ให้นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้ที่แต่ละกลุ่มออกมารายงานลงในสมุดของตนตาม         ความเข้าใจของแต่ละคน
                     -  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันนำป้ายนิเทศไปจัดแสดงไว้ที่หน้าชั้นเรียนหลังจากรายงานกลุ่มเรียบร้อยแล้ว         

            

                4.  ขั้นสรุป

                     -  นักเรียนแต่ละกลุ่มเปิดโอกาสให้เพื่อนๆ  ได้ซักถาม
                     -  นักเรียนในกลุ่มช่วยกันตอบคำถาม  และครูช่วยสรุปในตอนท้ายอีกครั้งเพื่อให้นักเรียนเข้าใจ
                     -  นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนจากเอกสารประกอบการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด            ท40216  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หน่วย              การเรียนรู้ที่  6  เรื่อง  การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน  ใช้เวลา  15  นาที   
 

                5.  ขั้นปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

                     -  ให้นักเรียนทุกคนกลับไปอ่านศึกษาทบทวนเพิ่มเติม  เพื่อนำไปทำแบบฝึกหัดทบทวนหลังจากเรียนจบเรื่องนี้แล้ว
                     -  ให้นักเรียนตรวจสอบความถูกต้องในการทำแบบทดสอบในภาคผนวก  เพื่อดูความก้าวหน้าของตนเอง
 

8.  สื่อการจัดการเรียนรู้/แหล่งเรียนรู้

                1.  หนังสือ  ตำราวิชาการต่าง ๆ  ในห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์วิทยา
                2.  เอกสารประกอบการเรียนวิชาการใช้ห้องสมุด  ท40216  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5  สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  หน่วยการเรียนรู้ที่  6  เรื่อง  การศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงาน
 

 แหล่งเรียนรู้

                1.  ห้องคอมพิวเตอร์ 1, 2
                2.  ห้อง  TOT 
                3.  ห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์วิทยา

 

9.  หลักฐานและวิธีการประเมิน

หลักฐาน
วิธีการประเมิน
1.  แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
2.  แบบประเมินพฤติกรรมการเรียน
แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน
3.  แบบฝึกหัดทบทวน
ตรวจแบบฝึกหัด 
4.  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  แบบทดสอบก่อนเรียน  และแบบทดสอบหลังเรียน
ตรวจแบบทดสอบ

 

 

หมายเลขบันทึก: 364993เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2010 15:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบพระคุณมากค่ะ

เป็นข้อมูลที่ดีสำหรับสถานศึกษา

นายรัศมี มะห์มูดียื

ขอบคุณกับวิทยาทานความรู้ที่ให้เผยแพร่ ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณนะคะที่ลงให้เป็นวิทยาทาน  เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ขออนุญาตนำไปปรับใช้กับวิชาความเรียงขั้นสูงนะคะ

         ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท