มาทดลองเลี้ยงแมลงดานากันเถอะครับ


ปัจจุบันในบ้านเราจับได้ไม่มากนักเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

  

 

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับแมลงดานากันเถอะครับ เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยบริโภคน้ำพริกแมลงดานากันมาแล้ว  แมลงดานาถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีมูลค่าการซื้อขายปีละหลายสิบล้านบาท ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ในสภาพธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีเฉพาะในบางฤดูกาลเท่านั้น

 

 

        ส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ตามท้องตลาดจะนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านคือพม่าและกัมพูชาเกือบทั้งหมด โดยตัวหนึ่งราคาขายจะอยู่ที่ตัวละ 8-10 บาท ปัจจุบันในบ้านเราจับได้ไม่มากนักเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและพบว่ามีผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการเลี้ยงแมลงดานาในเชิงพาณิชย์น้อยมาก เหตุผลหนึ่งของการเลี้ยงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะว่าผลการเลี้ยงมีอัตราการรอดต่ำ ทั้งนี้เนื่องมาจากแมลงดานามีพฤติกรรมในการกินกันเองสูง มีการกินกันเองได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต

 

      ตามที่ผศ.พัชรี มงคลวัย อาจารย์ประจำคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)อีสาน วิทยาเขตสกลนคร ร่วมกับคณะวิจัย ได้คิดค้นงานวิจัยเกี่ยวกับการตลาดและการเพาะเลี้ยงแมลงดานา แมลงดานาที่พบเห็นในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ แมลงดานาพันธุ์หม้อ   แมลงดานาพันธุ์ลาย และแมลงดานาพันธุ์เหลือง หรือพันธุ์ทอง

 

 

      สำหรับพันธุ์หม้อ จะมีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทอง และคลุมไม่มิดส่วนหาง ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีไข่ดก ซึ่งจะพบพันธุ์นี้วางขายอยู่มากในท้องตลาด ส่วนพันธุ์ลาย มีลักษณะที่สังเกตได้คือ ขอบปีกมีลายสีทอง เช่นเดียวกันแต่จะคลุมมิดส่วนหาง มีการวางไข่แต่ละครั้งไม่แน่นอน และพันธุ์เหลืองหรือพันธุ์ทอง จะมีลักษณะที่สังเกตได้คือ จะมีสีเหลืองทั้งตัว และจำนวนไข่ไม่แน่นอนเช่นเดียวกับพันธุ์ลาย ตลอดจนมีนิสัยชอบกินแมลงดานาพันธุ์อื่นๆเป็นอาหาร

 

      ดังนั้นควรแยกพันธุ์เหลืองนี้ออกไปเลี้ยงต่างหาก โดยผู้เลี้ยงอาจจะเก็บรวบรวมลูกแมลงดานาจากแหล่งน้ำในธรรมชาติมาเลี้ยงหรือ จับแมลงดานาตัวเต็มวัยมาเพาะพันธุ์ภายในบ่อดิน โดยรวบรวมแมลงดานาในช่วงต้นฤดูฝน เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และช่วงปลายฤดูฝนเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม

 

 

      ชีพจักรของแมลงดานา ตั้งแต่ไข่จนถึงตัวแก่มีอายุประมาณ 32-43 วัน โดยมีการลอกคราบ 5 ครั้ง และระยะตัวแก่จนถึงเริ่มไข่ได้ใช้เวลาประมาณ 30-40 วัน รวมใช้เวลาตั้งแต่ฟักออกจากไข่จนถึงระยะการผสมพันธุ์ วางไข่ประมาณ 62-83 วัน

 

       การเร่งให้แมลงดานาผสมพันธุ์และวางไข่ทำได้โดยลดระดับน้ำเดิมที่มีอยู่ในบ่อที่ระดับ 70-80เซนติเมตร ให้เหลือ 40-50 เซนติเมตร เพื่อหลอกให้แมลงดานาเข้าใจว่าจะเข้าฤดูแล้งแล้ว จะได้วางไข่ จากนั้นก็ทดน้ำเข้าไปในบ่อ โดยให้มีระดับน้ำสูง 90 เชนติเมตร หรือเกือบเต็มบ่อ ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการหลอดให้แมลงดานาคิดว่าฝนตกหรือเข้าฤดูฝนแล้ว จากนั้นอีกประมาณ 2-3วัน แมลงดานาก็จะมาไข่ที่บนหลักไม้ที่ปักไว้ ควรจะทำในเดือนเมษายน หรือฝนห่าแรกที่ตกลงมา

 

 

แหล่งข้อมูล: เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 5 มิย.53(หน้า11)

 

คำสำคัญ (Tags): #แมลงดานา
หมายเลขบันทึก: 364417เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2010 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เคยเห็นว่ามีโรงเรียนที่ไหนสักแห่ง หากจำไม่ผิดแุถวนครปฐม สอนเด็กเลี้ยงแมงดากันอยู่ครับ

  • ขอบคุณท่านอาจารย์โสภณ
  • กิจกรรมนี้น่าจะทำการส่งเสริม
  • อย่างน้อยๆควรเป็นหลักสูตรหรือกิจกรรมเสริมของยุวเกษตรในโรงเรียนได้ครับ

สนใจการเลี้ยงเเมงดาค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท