สะท้อนความดีนักกิจกรรมบำบัด - Recovery Model ตอนที่ 2


ขอบคุณคุณเชษฐา ดร.กะปุ่ม และคุณหมอปัทมา ที่เป็นกัลยาณมิตรเรียนรู้ Recovery Model สู่คนไทย รวมถึงนักกิจกรรมบำบัด 35 คน นักกายภาพบำบัด 1 คน เจ้าหน้าที่ วฟ 1 คน และคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการสมาคมนักกิจกรรมบำบัด/อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทย ที่เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Recovery Model

ผมขอบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพสะท้อนความดีของนักกิจกรรมบำบัดในการประยุกต์ Recovery Model กับคนไทย ดังนี้

รางวัลที่ 1 ขอแสดงความยินดีกับนักกิจกรรมบำบัดเดือนงาม ภักดี

ประยุกต์ใช้ Recovery Model

ใช้กับตัวเอง

- ทำตัวเองให้สดชื่น ดูดี

- ยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นนิสัย

- คิดดี คิดบวก เสมอ

- ปิยวาจา (ฝึกบ่อยๆ)

ใช้กับผู้ป่วย/ญาติ

- ใส่ใจต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย/ญาติก่อนสภาพร่างกาย

- หวังดีต่อการเจ็บป่วยด้วยจิตใจที่อยากให้เขาหาย/ดีขึ้น

ใช้กับหน่วยงาน

- พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดูดี/เอื้อต่อการเยียวยาผู้ป่วย ตัวเอง และคนรอบข้าง

- ใส่ใจคนรอบข้างให้มากๆ ทำทุกๆวัน โดยการสอบถามถึงความเป็นอยู่ ความทุกข์ ฯลฯ

ใช้กับองค์กร

- ช่วยเหลืองานส่วนรวมขององค์กรเพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเองมากขึ้น

ใช้กับสังคม

- เป็นคนดีของสังคม ช่วยงานสาธารณะให้มากๆ

รางวัลที่ 2 ขอแสดงความยินดีกับนักกิจกรรมบำบัดธีรวรรณ ราชดี

จากการฟังเรื่อง Recovery Model แล้ว ทำให้เข้าใจความเป็นบุคคลและตัวตนของมนุษย์มากขึ้น มีความคิดและมุมมองใหม่ในการที่จะให้การรักษา การเข้าหาผู้ป่วยว่าจะทำงานและการร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานอย่างไร ก่อนอื่นเราก็ควรต้อง Recovery ตัวเราก่อน ต้องมีความหวังและความคิดด้านบวกกับตนเอง มันก็จะส่งผลต่อการฝึกผู้ป่วยด้วยโดยไม่ต้องคาดหวังว่าเค้าจะต้องดีขึ้นเมื่อมารับการรักษา เน้นความเข้าใจและความกระตุ้นความคิดของผู้ป่วยต่ออาการของเค้า ไม่ทำตัวเป็นความหวังให้ผู้ป่วย แต่ให้ผู้ป่วยคาดหวังและวางแผนความคิดของตัวเค้าเอง ตามความพึงพอใจ แล้วเค้ามีความสุข

สำหรับนักกิจกรรมบำบัดท่านอื่นๆ ผมลองสรุปคำสำคัญและแสดงเปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้ที่แสดงความคิดเห็นตรงกัน (n = 40) ดังนี้

1. ประชาสัมพันธ์การประยุกต์ Recovery Model และคุณค่างานกิจกรรมบำบัด 10%

2. สร้างความคิดเชิงบวกและศรัทธาระหว่างผู้บำบัดและผู้รับการบำบัด 12.5%

3. สร้างความตระหนักรู้ในการประเมินศักยภาพและความสามารถในกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้บำบัดและผู้รับการบำบัด 25%

3. ผู้บำบัดเปิดใจ รับฟัง สังเกต กระตุ้นให้วางแผนความคิดแบบนอกกรอบในผู้รับการบำบัด 25%

4. ผู้บำบัดและผู้รับการบำบัดเป็นคนดีของสังคมด้วยการเรียนรู้และเสริมสร้างพลังชีวิต จิตวิญญาณ และคุณภาพชีวิต 30%

5. ผู้บำบัดสร้างรอยยิ้ม มองสุขภาพแบบองค์รวม และปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาในผู้รับการบำบัด 40% 

6. ผู้บำบัดและผู้รับการบำบัดสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ และช่วยเหลือกัน 47.5%

7. ผู้บำบัดใส่ใจ เข้าใจ พอใจ ในความคาดหวัง ความมั่นใจ อารมณ์ และความต้องการของผู้รับการบำบัด 67.5%

หมายเลขบันทึก: 363461เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2010 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่าDr. Pop

อ่านแล้วรู้สึกดีค่ะ ขอยืมไปใช้นะคะ ไม่ยืมดีกว่าเอาไปเลยเนาะ

ไม่ต้องยืมหรอกครับ ผมยกให้คุณยายนำไปต่อยอดความรู้เลยครับ

ได้ความรู้จากพี่ป๊อบเยอะเลยนะคะ นั่งฟังพี่ป๊อบบรรยาย

แล้วก็มาคิดดูว่าจริงๆแล้ว recovery model เป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆแต่คนเรา

มักละเลย ซึ่งหนูเองก็เป็นคนหนึ่งที่ยอมรับเลยว่าละเลย ทำอะไรมักไม่ค่อย

ตั้งความหวังแล้วก็ใส่ความมุ่งมั่นให้ไปถึงเป้าหมาย ซึ่งพอได้ฟังที่พี่ป๊อบพูด

ก็รู้สึกว่าการจะทำให้คนไข้สักคนหนึ่งดีขึ้น จำเป็นว่าตัวเราเองควรจะมีให้

ครบตาม Hope Healing connect and empowerment ต่อไปหนูจะพยายาม

ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมและใช้ recovery model ในการนำมาเป็นแนวทาง

ในการทรีทผุ้ป่วยต่อไป

ขอบคุณนะคะที่แบ่งปันความรู้ดีๆให้พี่น้องชาวโอทีคะ

ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขอส่งกำลังใจให้น้องจินประสบความสำเร็จในการนำ Recovery Model ไปใช้ในงานกิจกรรมบำบัดนะครับ

ขอบันทึกข้อความจากสมาคมนักกิจกรรมบำบัด/ อาชีวบำบัดแห่งประเทศไทย

สมาคมฯ ขอขอบคุณ อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง (จำนวน 2,300 บาท) ที่กรุณาบริจาคเงินให้กับสมาคมฯ เพื่อใช้ในกิจกรรมของสมาคมฯ ในวันประชุมวิชาการประจำปี 2553

คลิกที่

http://www.otat.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=5363089

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท