การนำเสนอกระบวนการผลิตบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ร่างกายของเรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (1)


 กระบวนการจัดทำ 

1. ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเรื่องร่างกายของเรา เกี่ยวกับอวัยวะต่างๆภายนอกร่างกาย

2. ศึกษาขั้นตอนวิธีการทำบทเรียนสำเร็จรูปและวิเคราะห์การนำบทเรียนสำเร็จรูปมาใช้ในการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์

3. ขอคำแนะนำในการทำบทเรียนสำเร็จรูปจากผู้เชี่ยวชาญ

4. วางแผนการทำงาน

    4.1 กำหนดวัตถุประสงค์

    4.2 จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียน

    4.3 กำหนดเนื้อหาในเล่มจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่  ส่วนที่ 1 ร่างกายของเราประกอบด้วย อวัยวะต่างๆภายนอกร่างกายอะไรบ้าง ส่วนที่ 2 อวัยวะแต่ละอย่างทำหน้าที่อย่างไร และส่วนที่ 3 การดูแลรักษาอวัยวะให้ถูกต้อง

    4.5 ตั้งคำถามสั้นๆในเนื้อหา เพื่อฝึกให้ผู้เรียนได้คิด แล้วมีการเฉลยในหน้าถัดไป  

    4.6 จัดทำกิจกรรมระหว่างเนื้อหา โดยให้ผู้เรียนได้ทำแบบทดสอบด้วยตนเอง และกิจกรรมงานกลุ่ม

    4.7 จัดทำแบบทดสอบหลังเรียน พร้อมคำเฉลยท้ายเล่ม

5. รวบรวมข้อมูล และพิมพ์เนื้อหาต่างๆ

6. ทดลองทำ แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

7. แก้ไขและปรับปรุงข้อบกพร่อง จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ

8. ลงมือทำสื่อการเรียน บทเรียนสำเร็จรูป

9. นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้กับเด็กนักเรียน 3 คน

  

การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน

1. การนำผลจากผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุง/แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

   1.1 ระบุชื่อเรื่อง ว่าใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

   1.2 รูปเล่มข้างในของบทเรียนสำเร็จรูป เน้นสีสัน และใส่รูปภาพการ์ตูนสำหรับเด็กประถมศึกษาเพื่อความน่าสนใจ

   1.3 ไม่เน้นเนื้อหามากในรูปเล่มบทเรียนสำเร็จรูป แต่เน้นรูปภาพมากกว่าเพราะรูปภาพจะเป็นสื่อที่ทำให้นักเรียนเข้าใจได้ง่าย สำหรับเด็กประถมศึกษา

   1.4 เนื้อหาในเล่มปรับให้มีขนาดตัวหนังสือขนาดใหญ่พอที่เด็กสามารถอ่านได้สะดวก

2. ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ที่เกิดขึ้น

การตรวจสอบประเมินประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านโดยกำหนดระดับความพึงพอใจ 5 ระดับ คือ ดีมาก = 5 , ดี = 4 , ปานกลาง = 3 , น้อย = 2   และน้อยที่สุด = 1 และคะแนนเต็มเท่ากับ 75 คะแนน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 ให้คะแนน 57 คะแนน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2 ให้คะแนน 57 คะแนน

ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3 ให้คะแนน 60  คะแนน

 

นำคะแนนที่ได้ มาทำแบบวัดดัชนีความสอดคล้อง (IOC) โดยใช้เกณฑ์การให้คะแนนเป็น -1, 0 และ +1 และเมื่อนำมาเทียบกับคะแนนจากผู้เชี่ยวชาญข้างบน จะได้

เกณฑ์  -1 คะแนนอยู่ในช่วง  0  - 25 คะแนน

เกณฑ์   0 คะแนนอยู่ในช่วง 26 - 50 คะแนน

เกณฑ์ +1 คะแนนอยู่ในช่วง 51 –75 คะแนน

 

การกำหนดคะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

+1 หมายถึง แน่ใจว่าถูกต้อง/สอดคล้อง/ตรงวัตถุประสงค์

  0 หมายถึง ไม่แน่ใจ

 -1 หมายถึง แน่ใจว่ายังไม่ถูกต้อง/ไม่สอดคล้อง/ไม่ตรงจุดประสงค์

ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป

 

สรุป จากผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน บทเรียนสำเร็จรูปจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน เกณฑ์อยู่ในระดับ +1 คือ ผู้เชี่ยวชาญแน่ใจว่าถูกต้อง สอดคล้อง และตรงตามวัตถุประสงค์

สูตรการคำนวณ

                        IOC  =  Σ R/N

IOC        คือ   ดัชนีความสอดคล้อง

R           คือ   คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ

Σ R        คือ   ผลรวมคะแนนของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน

N          คือ    จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

การแทนค่าในสูตร

                         IOC  =  1+1+1 / 3      

                                =  1

สรุป การหาค่าดัชนีความสอดคล้องของสื่อบทเรียนสำเร็จรูปจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน เท่ากับ 1

 

การทดลองใช้แบบ 1 : 1 กับนักเรียนจำนวน 3 คน

1. การนำผลจากการทดลองใช้ไปปรับปรุง/แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

   1.1 เมี่อนำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้กับเด็กนักเรียน 3 คน พบว่าเด็กยังอ่านหนังสือไม่ค่อยได้ และใช้เวลาในการศึกษาค่อนข้างนาน การแก้ปัญหาคือ ผู้สอนควรให้คำแนะนำและดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปอย่างใกล้ชิด

   1.2 นักเรียนยังไม่รู้จักคำศัพท์บางคำในบทเรียน ที่เป็นศัพท์ยาก ดังนั้นผู้สอนควรให้คำแนะนำ ช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด

   1.3 นักเรียนยังไม่เข้าใจคำสั่งในการทำกิจกรรมหรือแบบฝึกหัด ผู้สอนควรชี้แจงให้ละเอียด ให้นักเรียนเข้าใจ 

2. ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา (E1/E2)

การนำสื่อบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 3 คน โดยมีการให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน และเมื่อนักเรียนศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปแล้ว ก็จะมีการให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน ผลคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบของนักเรียนทั้ง 3 คน ดังนี้

 

นักเรียน

แบบทดสอบก่อนเรียน

แบบทดสอบหลังเรียน

คนที่ 1

คนที่ 2

คนที่ 3

30

30

30

29

25

29

คะแนนเฉลี่ย

30

    27.67

คะแนนเต็ม

30

30

นำผลคะแนนทำแบบทดสอบก่อนเรียนมาหาค่า E1 และนำผลคะแนนทำแบบทดสอบหลังเรียนมาหาค่า E2 (โดยค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้สำหรับเนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำ E1/E2 คือ 80/80 และเนื้อหาที่เป็นปฏิบัติ E1/E2 คือ 70/70 ขึ้นไป )

สูตรการคำนวณ

                E1 =      (Σ X/ N )/A   × 100 

                                                               

E1    คือ   ประสิทธิภาพของกระบวนการ

ΣX    คือ   ผลรวมของคะแนนนักเรียนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียน

A     คือ   คะแนนเต็มของแบบวัด

N     คือ   จำนวนนักเรียน

การแทนค่าในสูตร

                E1 =   (30/30) × 100

                     =   100

สรุป การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ เท่ากับ 100

สูตรการคำนวณ

               E2 =   (Σ Y/ N )/B × 100 

 

E2  คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำ

          แบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด

ΣY  คือ คะแนนรวมของผลลัพธ์หลังเรียน

B    คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียน

N    คือ จำนวนนักเรียน

การแทนค่าในสูตร

                E2 =  (27.67/30) × 100                                                

                    =   92.23

สรุป ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยของการทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียนทั้งหมด เท่ากับ 90.23

ดังนั้นแทนค่า

               (E1/E2)  =   100/92.23

                           =   1.08

สรุป ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา เท่ากับ 1.08 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 จึงสรุปได้ว่า บทเรียนสำเร็จรูปได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้จริง

 

บทสรุป

การประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน บทเรียนสำเร็จรูปจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน เกณฑ์อยู่ในระดับ +1 คือ ผู้เชี่ยวชาญแน่ใจว่าถูกต้อง สอดคล้อง และตรงตามวัตถุประสงค์และนำเกณฑ์ที่ได้มาหาค่าดัชนีความสอดคล้องของบทเรียนสำเร็จรูป มีค่าเท่ากับ 1 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 จึงสรุปได้ว่า สื่อนวัตกรรมการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

การนำสื่อบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 3 คน ได้ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา เท่ากับ 1.08 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.50 จึงสรุปได้ว่า บทเรียนสำเร็จรูปได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจได้จริง

ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาในอนาคต

จากการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปของนักเรียน 3 คน พบว่าเด็กยังอ่านหนังสือไม่ค่อยคล่อง จึงใช้เวลาในการศึกษาค่อนข้างนาน และคำศัพท์บางคำที่ไม่ได้ใช้บ่อยหรือเป็นคำศัพท์ใหม่เด็กจะไม่เข้าใจความหมาย ครูผู้สอนควรให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างใกล้ชิดและมีการอ่านเนื้อหาให้ฟังเป็นบางตอน

บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องร่างกายของเรา จะเป็นการศึกษาเฉพาะอวัยวะของร่างกายที่อยู่ภายนอกเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานในการเรียนของเด็ก สำหรับการพัฒนาในอนาคตจะมีการทำบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องร่างกายของเรา ซึ่งจะเป็นการศึกษาอวัยวะต่างๆที่อยู่ภายในร่างกาย เช่น การศึกษาระบบการย่อยอาหารของร่างกาย อวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายประกอบด้วยอะไรบ้าง เป็นต้น และบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้จะนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

 

 

 

               

 

หมายเลขบันทึก: 363218เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท