ความรู้คืออะไร


ความรู้เป็นสิ่งที่ถูกผลิตขึ้นจากกฎแห่งความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เพื่อแบ่งแยกประเภท จำพวกมัน ความรู้นั้นไม่ได้อยู่เฉย ๆมันทำงานและป่าวประกาศตนเองออกมาในรูปของ การก่อตัวของวาทกรรม ซึ่งเป็นบรรดากฎของความรู้ทั้งหลายเพื่อทำให้สื่อสารกันได้ มีไอเดีย มีคอนเซ็บท์เกี่ยวกับความรู้นั้น รวมทั้งสร้างขอบเขตที่เป็นรูปธรรมของความรู้นั้นขึ้นมา



   การตั้งคำถามอย่างหัวข้อที่ยกมานี้ดูเหมือนจะเป็นการตั้งคำถามที่ไม่ยาก แต่การจะตอบให้ถูกใจผู้คนทั้งหลายคงเป็นเรื่องยากพอสมควร โดยเฉพาะผู้ที่มักจะยึดว่าความรู้เป็นความจริงแท้ที่คงที่แน่นิ่งตายตัว แน่นอน (เช่นที่ผู้เขียนเคยเป็นในอดีต) คงทำใจยากกับการกล่าวถึงประเภทของสิ่งต่าง ๆ ตลอดจนความรู้ที่ฟูโกต์ได้เสนอไว้
ในบทที่สองของหนังสือ Understanding Foucault ได้กล่าวถึงหนังสือ The Oder of thing ซึ่งฟูโกต์ได้แสดงให้เห็นว่าบรรดาการจัดออร์เดอร์ให้กับสิ่งต่าง ๆที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นมันก็เป็นเพียงอีกระบบหนึ่งของการจัดสิ่งต่าง ๆ ตามความเข้าใจของคนในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งอาจมีการจัดลำดับให้กับสิ่งต่าง ๆ ที่ต่างออกไปจากที่เราใช้กันอยู่ดังที่เขาเริ่มไว้ในหนังสือเล่มดังกล่าวว่าในสารานุกรมจีนโบราณแยกประเภทของสัตว์ไว้ดังนี้
      "บรรดาสัตว์ต่างๆได้ถูกแยกแยะดังนี้ : (1) สัตว์ที่เป็นของพระจักรพรรดิ์, (2) สัตว์ที่ถูกนำมาดองเก็บไว้, (3) สัตว์ที่ถูกทำให้เชื่องแล้ว, (4) หมูต่างๆที่ยังดูดนม, (5) สัตว์ที่เรียกว่า sirens - ครึ่งนกครึ่งคน เกาะอยู่ตามโขดหินกลางทะเล และล่อลวงให้เรือเข้าไปเกยหินโสโครกและอัปปางลง, (6) สัตว์ในเทพนิยายต่างๆ, (7) สุนัขพเนจร, ( สัตว์ที่รวมอยู่ในการจำแนกหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้ว, (9) สัตว์ซึ่งมีอาการคลุ้มคลั่ง, (10) สัตว์จำพวกที่มีอยู่อย่างมากมายเหลือคณานับ(พวกมดและแมลงทั้งหลาย), (11) สัตว์ที่ถูกวาดขึ้นมาด้วยพู่กันที่ทำมาจากขนอูฐที่ละเอียดประณีต, (12) สัตว์จำพวกที่ถูกวาดขึ้นมาด้วยพู่กันอื่นๆ, (13) สัตว์ที่เพิ่งจะทำให้เหยือกน้ำแตก, (14) สัตว์ที่มาจากที่ห่างไกลมากซึ่งมองดูแล้วคล้ายๆแมลงวัน
   ฟูโกต์มองว่าความเข้าใจแบบนี้เป็นเรื่องที่คนในยุคปัจจุบันไม่มีทางเข้าใจมันได้หรือจินตนาการถึงมันได้ดังนั้นการจัดลำดับต่างๆ ของสิ่งต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องของการกำหนดว่าอะไรเป็นอะไรมากกว่าที่จะมีแบบฉบับที่ตายตัว แต่ก็นั่นแหละมันอยู่ที่ว่าแล้วใครคือผู้วางกฎเกณฑ์เหล่านี้
   ในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องความรู้ เขาเชื่อว่ามัน เขาได้ยกตัวอย่างเรื่องของยา ที่ว่าใครเป็นคนบอกว่ายาคือสิ่งมีค่ามีประโยชน์แต่บรรดา รัฐบาล แพทย์ พยาบาล โรงพยาบาล ก็พยายามบอกว่ายามีประโยชน์ในการักษากว่าสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ยา ความรู้เกี่ยวกับยาจึงเกิดขึ้น
   ฟูโกต์ชี้ให้เห็นว่า ความรู้นั้นไม่ได้อยู่เฉย ๆมันทำงานและป่าวประกาศตนเองออกมาในรูปของ การก่อตัวของวาทกรรม ซึ่งเป็นบรรดากฎของความรู้ทั้งหลายเพื่อทำให้สื่อสารกันได้ มีไอเดีย มีคอนเซ็บท์เกี่ยวกับความรู้นั้น รวมทั้งสร้างขอบเขตที่เป็นรูปธรรมของความรู้นั้นขึ้นมา
   นอกจากนี้เขายังให้ความสนใจกับวิธีการหาความรู้แบบวงศาวิทยาของนิทเช่ ซึ่งเป็นวิธีการสำหรับขุดคุ้ยค้นหารากเหง้าของบรรดาสถาบันที่ทรงพลังในสังคม ตอดจนรากเหง้า ของบรรดาวาทกรรมทั้งหลาย
   อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ความรู้ที่ดำรงอยู่ในยุคของเราเป็นความรู้ที่ถูกผลิต/สร้างขึ้นมาจากบรรดาพลังอำนาจทั้งหลายที่มีในยุคของเรา เช่นการนำเอาวิทยาศาสตร์มาเป็นฐานการสร้างความรู้ทางกฎหมาย และนโยบายทางการเมือง
   สำหรับในงานวิจัยเสริมหลักสูตรของธงชัย วินิจกุล ได้เสนอเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับ
      1.ทัศนของฟูโกต์ที่มีต่อองค์ประธาน เขามองว่ามนุษย์ไม่ใช่องค์ประธานที่บงการประวัติศาสตร์ แต่มนุษย์เป็นผลผลิตของตัวกระทำอื่นนั่นก็คือมนุษย์เป็นผลผลิตของวาทกรรม
      2.discourse คืออะไร บรรดาการสื่อสารที่ทำให้มนุษย์สื่อสารกันเข้าใจ มีผลต่อการตัดสินเชิงคุณค่า แยกแยะอะไรดีอะไรชั่ว ถูกผิด ใช้ได้ ใช้ไม่ได้
      3.Archaeology เป็นวิธีการที่ฟูโกต์ ใช้ในการขุดคุ้ยหรือเปิดให้เห็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของบรรดา วาทกรรมและความรู้ ต่าง ๆ เป็นการพิจารณาไปที่ Discursive Practice แล้ววิเคราะห์ให้เห็นปัจจัยและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประมวลกันเข้ามาเป็น Discourse หนึ่ง ๆ
      4.genealogy  ฟูโกต์เชื่อว่า ปรากฏการณืต่าง ๆ มีความเป็นไปในระบบเวลาของตัวเอง เราไม่สามารถจับยัดลงในชุดเวลาเดียวกันได้ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์(ไม่อยากใช้คำนี้แต่ไม่รู้จะใช้อะไรดี-ผู้เขียน) ที่ปฏิเสธลักษณะของประวัติศาสตร์กระแสหลักกล่าวคือ ปฏิเสธการหาจุดกำเนิด ไม่มองประวัติศาสตร์แบบองค์รวม ไม่พยายามค้นหาปลายทางของประวัติศาสตร์ ปฏิเสธการอวดอ้างความจริงแท้ของปรากฏการณ์ใด ๆ ปฏิเสธความต่อเนื่อง เป็นความพยายามในการตามหา “ร่องรอย” ที่ซับซ้อนกระจัดกระจาย เพื่อชี้ให้เห็นอุบัติการณ์ความผันแปร ความบกพร่อง ประเมินพลาด การคำนวณผิของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้เราไม่ต้องหาองค์ประธาน หรือปัจจัยถาวรใด ๆ ที่อยู่เหนือประวัติศาสตร์อีกต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 362879เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2010 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณครูชัย

แวะมาทักทายและหาความรู้ค่ะ ได้ประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆนะคะ

บางอย่างก็สุดขั้วไปหน่อย ล่ะครับ โปรดใช้วิจารณญาณในการชม 555 แต่นี่เป็นการรวบรวม เอาผลงานบทความที่สร้างสรรค์ขึ้นในห้วงสามปีที่ผ่านมาขณะลามาศึกษาต่อครับ

พอดีว่า พี่สาวจากสงขลาโทรมาขอความเห็นเรื่องความรู้คืออะไร เลยทำให้ได้เข้ามาทบทวนอ่านข้อเขียนเรื่องนี้อีกครั้ง ก็ต้องยอมรับกันตามตรงว่าข้อเขียนนี้เป็นการริวิวหนังสือที่ได้อ่านและพานพบในห้วงที่เริ่งเรียนใหม่ ๆ ถ้าถามตอนนี้ว่าความรู้คืออะไร ก็คงต้องบอกว่าสำหรับผมแล้วความรู้คือผลผลิตของอำนาจ เพราะความรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจาก ผู้มีอำนาจ ในการกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรรู้อะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรรู้ ขอบเขตของความรู้จึงถูกขีดกั้นไว้จากพลังของอำนาจ จนทำให้หลายอย่างเป็นความรู้ หลายอย่างไม่เป็นความรู้ ทั้งที่บางอย่างไม่ควรจะเป็นความรู้กลับเป้นความรู้บางอย่างควรเป็นความรู้กลับไม่ใช่ความรู้ ผมอยากยกตัวอย่างง่าย ๆ เรื่องน้ำพริกเข้าตา ตอนเด็ก ๆ ผมจะช่วยยายช่วยแม่ตำน้ำพริกแกงอยู่ประจำ มีครั้งหนึ่งน้ำพริกกระเด็นเข้าตาเป็นก้อน ๆ ปวดแสบร้อนอย่างหนัก ล้างตาด้วยน้ำเป้นโอ่ง ๆ ก็ไม่หาย แม่จึงบอกให้กลั้นใจเอาน้ำราดไปบนหัวแม่โป้งตีน ข้างที่น้ำพริกเข้าตา ปรากฏว่า หายแสบเป็นปลิดทิ้ง แล้วผมก็ใช้เคล็ดลับนี้มาตลอดเมื่อพริกเข้าตา หรือเอามือที่เปื้อนน้ำพริกไปขยี้ตา และก็หายทันใจทุกครั้ง ทั้งที่เรื่องนี้น่าจะเป็นความรู้ได้ แต่ไม่มีใครยอมรับว่ามันคือความรู้ เพราะอะไร เพราะในกรอบอำนาจของยุโมเดิร์น ความรู้ต้องเป็นที่ประจักษ์ ตามแนวทางของวิทยาศาสตร์ เท่านั้น นั่นก็หมายความว่าเราได้กีดกันความรู้นอกกรอบวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ออกไปอย่างสิ้นเชิง สิ่งใดที่พิสูจน์ไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์จึงมิอาจเป็นความรู้ต่อไป

ดังนั้นเวลาผมเห้นคนเขียนบทความที่พยายามนิยามความรู้แบบเหมารวมโดยเอากรอบแบบโมเดิรืนมาพูดหรือแม้แต่พวกนักภูมิปัญญาที่ชอบเอาแนวคิดประจักษ์นิยมไปอธิบายระบบความรู้แบบภูมิปัญญาผมจึงเกิดอาการคัน ๆๆๆๆ อยากจะถกเถียงให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญากันต่อไป

ก็อย่างที่ตอบพี่สาวนักวิชาการชาวสงขลาไปนั่นแหละว่า ปัจจุบันนักวิชาการไทยจำนวนไม่น้อยที่พยายามเอาศาสนะ ไปยัดลงกรอบศาสตระ อย่างทุลักทุเล เพื่อเอาความศรัทธาแบบศาสนะ ทำให้เป็นศาสตระ และมีเป้าหมายเพื่อธำรงรักษาระบอบทุนนิยมไว้นั่นเอง แท้จริงแล้วกรอบของศาสตระนั้นก้เพิ่งเริ่มก่อตัวชัดเจนภายหลังการค้นพบแรงโน้มถ่วงของ ไอแซค นิวตัน นี่เอง

ในทางปรัชญาฝ่ายญาณวิทยา เมื่อก่อนอาจถามว่าความรู้คืออะไร หรือเราจะรู้หรือเข้าถึงความรู้อย่างไร โดยการพยายามหาตำแหน่งแห่งที่สถิตของความรู้ และการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ถูกรู้กับผู้รู้อย่างแยกขาด แต่หากเชื่ออย่างผม ว่าความรู้เป็นผลผลิตของอำนาจแล้วละก็ ในทางญาณวิทยาเราอาจต้องตั้งคำถามกันใหม่ว่า ความรู้เหล่านี้ถูกสร้างมาได้อย่างไร แล้วความรู้ที่ถูกสร้างมานี้มีเจตจำนงค์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างไร ความรู้ที่ถูกสร้างนี้ไปรีดนาทาเร้นใครหรือไม่อย่างไร

ถ้าพูดกันอย่างเอาจริงเอาจังอีกสักหน่อย ความรู้ที่ถูกอำนาจใดสร้างขึ้นมาก็มีเจตน์จำนงค์เพื่อพิทักรักษาระบบของอำนาจนั้นอย่างยากที่จะปฏิเสธ แน่นอนว่าความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ไทย (ไทกินคน เพราะเป็นไท มีย. ยักษ์5555)ที่ละเลย เบียดขับ กดทับชนชาติ ชนเผ่า ชนกลุ่มน้อย ซึ่งไม่อาจครองอำนาจนำได้เท่าผู้สถาปนาอำนาจนำในแกนกลางของสังคมไทย ก็เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อพิทักษ์รักาาอำนาจของคนกลุ่มนั้น

ถ้าตอบแบบฟันธง ความรู้คืออะไร ความรู้คือผลผลิตของอำนาจ ที่สร้างความรู้ขึ้นมาเพื่อรักษาอำนาจให้ดำรงอยู่ต่อไป ขีดเส้นใต้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท