เยี่ยมเครือข่ายวัฒนธรรมจังหวัด กลุ่มระบัดใบ และ อบต.หาดส้มแป้น ในเมืองฝนแปดแดดสี่


โจทย์ของการลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนในครั้งนี้ก็คือ (๑) การสำรวจสถานการณ์ด้านสื่อทั่วไปในพื้นที่ (๒) สำรวจความต้องการของชุมชนในการที่จะเข้าสู่กระบวนการอบรมการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีทีว่าอยากให้หลักสูตรมีเนื้อหาอะไรบ้าง และ (๓) การเตรียมชุมชนในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

วันที่สองของการเดินทางลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการหลักสูตรการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีทีของชุมชน และ เพื่อเตรียมงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับชุมชน ของทีมวิจัยกับ Child Protection Partnership หรือ CPP โดย Plan International กับ Internatioal Institute for Child Rights and Protection (IICRD) หลังจากที่ไปเยี่ยมโรงเรียนบ้างทุ่งหงาวมาแล้ว

โจทย์ของการลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนในครั้งนี้ก็คือ (๑) การสำรวจสถานการณ์ด้านสื่อทั่วไปในพื้นที่ (๒) สำรวจความต้องการของชุมชนในการที่จะเข้าสู่กระบวนการอบรมการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีทีว่าอยากให้หลักสูตรมีเนื้อหาอะไรบ้าง และ (๓) การเตรียมชุมชนในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยเน้นการหารือร่วมกับชุมชนในการที่จะสำรวจ ค้นหาตัวอย่างความสำเร็จในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับชุมชน ที่จะเตรียมนำเข้าสู่การประชุมของคณะอนุกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัด

การประชุมของเรากับเครือข่ายที่สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด มีเครือข่ายทั้ง วัฒนธรรมจังหวัด ประธานสภาวัฒนธรรม ผู้อำนวยการโรงเรียน กลุ่มสะบัดใบซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านการเรียนรู้เท่าทันสื่อในจังหวัดระนอง เครือข่ายคนทำหนังสั้น เครือข่ายร้านเกม ร้านคาราโอเกะ มาร่วมประชุมกับทีมวิจัยด้วย

ในแง่ของสถานการณ์ทั่วไป พบว่ามีสถานการณ์ที่น่าสนใจ เพราะมีเครือข่ายเด็ก เยาวชนที่ทำรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์เอง นอกจากนั้น ยังมีเครือข่ายเด็กในตำบลหาดส้มแป้นที่เป็นเครือข่ายเยาวชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีความเข้มแข็ง มีการจัดการปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมและใช้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมในการดูแลเพื่อนๆที่ติดเกมคอมพิวเตอร์โดยชักชวนมาทำกิจกรรมอาสาในชุมชน ในตำบลสุขสำราญศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีสำหรับชุมชนที่ถูกจัดตั้งทั้งในวัดและ อบต. ในส่วนของการทำงานเกี่ยวกับการเรียนรู้เท่าทันสื่อ มีกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน “ระบัดใบ” เป็นแกนนำในพื้นที่ในการทำงานอบรมการเรียนรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็ก เยาวชนในพื้นที่ สำหรับในส่วนของสถานการณ์ของยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เน้นหนักไปที่ปัญหาเรื่องของการติดเกม และ การไปอยู่ในร้านเกมคาเฟ่ในช่วงเวลาเรียน อีกทั้งเดิมในจังหวัดระนองเคยมีปัญหาเกี่ยวกับเพลงใต้ดินที่มีเนื้อหาในทางเพศที่ไม่เหมาะสมแพร่หลายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มเด็ก เยาวชน

ในการพูดคุยเพื่อหารือความเป็นไปได้ของหลักสูตรการเรียนรู้เท่าทันสื่อไอซีทีในชุมชน พบว่า ชุมชนมีความต้องในหลักสูตร ๒ ส่วน กล่าวคือ การเสริมโอกาสให้ชุมชนได้มีความรู้ความสามารถในการใช้ไอซีทีในการพัฒนาตนเองและชุมชน เช่น การทำข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในชุมชนโดยชุมชนเอง และ การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับในการดูแลเด็ก เยาวชนในการใช้ไอซีทีภายในครอบครัว

ในส่วนของการเตรียมความพร้อมในการทำงานของคณะอนุกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด มีประเด็นของการค้นหาตัวอย่างความสำเร็จของการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ทั้งหมด ๑๐ ประเด็น คือ (๑) การสนับสนุน พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ในชุมชน (๒) การพัฒนา สนับสนุนเด็กทำสื่อ (๓) การพัฒนา สนับสนุนผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ในชุมชน (๔) การเรียนรู้เท่าทันสื่อ (๕) เครือข่ายเฝ้าระวังสื่อ (๖) ร้านเกมคาเฟ่เป็นแหล่งเรียนรู้ (๗) ศูนย์ไอซีทีชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ (๘) การสนับสนุนการทำงานในรูปแบบต่างๆ ในรูปแบบของการมีส่วนร่วมของเครือข่าย (๙) การพัฒนาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ  (๑๐) การจัดการปัญหาสื่อไม่ปลอดภัย

ความเป็นไปได้ในการทำงานเบื้องต้นเพื่อเตรียมงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระดับจังหวัด มีการหารือถึง รูปแบบของการพัฒนาร้านเกมคาเฟ่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านไอซีทีในชุมชน โดยเสนอถึงการทำงานเบื้องต้น

  • การใช้ร้านเกมคาเฟ่เป็นพื้นที่ในการอบรมเทคนิคการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆให้กับเด็ก เยาวชน ทั้ง การใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชนโดยอาสาสมัครหรือเจ้าของร้านเกมคาเฟ่ โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
  • การจัดประกวดสื่อชุมชนออนไลน์ ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสั้น การ์ตูน คลิปมือถือ เป็นต้น เพื่อสื่อสารเรื่องราวของชุมชน เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมของชุมชน เป็นต้น
  • การบริหารจัดการด้านฐานข้อมูล และ การสื่อสารสาธารณะเพื่อให้ชุมชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารในการเข้าถึงและใช้สื่อสร้างสรรค์ในชุมชน
  • การระดมแนวคิดของเครือข่ายเด็ก เยาวชนในการกำหนดแบบจำลองของศูนย์ไอซีทีในชุมชนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านไอซีทีของเด็ก เยาวชน และชุมชน นั้นจะประกอบด้วยอะไรบ้าง ในเบื้องต้นมีกรอบแนวคิดหลักอยู่ ๔ ส่วน คือ (๑) เนื้อหาสื่อออนไลน์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็ก เยาวชน ชุมชนที่จะอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง (๒) หลักสูตรการอบรมไอซีทีของศูนย์มีอะไรบ้าง (๓) กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเชื่อมต่อระหว่างโลกไอซีทีกับโลกจริงมีอะไรบ้าง (๔) การบริหารจัดการโดยชุมชน เด็ก เยาวชน มีส่วนร่วมจะมีรูปแบบในการบริหารจัดการอย่างไร
  • การเตรียมค้นหาตัวอย่างความสำเร็จและเครือข่ายคนทำงานในทั้ง ๑๐ ประเด็นข้างต้นเพื่อนำมาหารือในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมงานมหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับจังหวัด
หมายเลขบันทึก: 362824เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2010 07:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • กำลังสนใจ เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ สำหรับวัยเรียนคะ
  • เพราะเป็นไปได้อยากที่จะยับยั้งการนำเสนอสื่อที่ไม่เหมาะสม
  • เป็นการป้องกันที่ยากและอาจเป็นไปไม่ได้เลยในต้นของเหตุ เพราะสื่อปัจจุบันมีความหลายหลากมากๆ ผลประโยชน์และอิทธิพลก็เยอะ
  • การเตรียการเพื่อจะเลือกบริโภคสื่อที่เหมาะกับตนเอง จึงเป็นอีกทางเลือกที่ต้องเตรียมการ ให้เด็กๆได้เรียนรู้และเท่าทันสื่อ ตลอดจนสามารถเลือกบริโภคให้เหมาะสมได้ด้วยตนเอง
  • ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท