กิจกรรมบำบัดความเครียดได้...เรียนรู้อะไรบ้าง


ความบกพร่องที่เกี่ยวข้องกับความเครียดนั้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตมากมาย แต่งานวิจัยที่ถ่ายทอด แปลความหมาย และประยุกต์สู่การเพิ่มสุขภาวะนั้นยังไม่ชัดเจนนัก

เอกสารอ้างอิง Hellhammer DH, Hellhammer J (eds): Stress, The Brain-Body Connection. Key Issues in Mental Health. Basel, Karger, 2008, vol 174, pp 1-10 จึงได้สรุปประเด็นที่น่านำไปประยุกต์ใช้ทางการจัดการความเครียดดังนี้

  1. เราสามารถทบทวนย้อนดูสุขภาพที่ผ่านมาว่า อารมณ์โกรธและวิตกกังวลมากน้อยแค่ไหนจนทำให้สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความเครียด นอนไม่หลับ กินมากจนอ้วน น้ำตาลในเลือดผิดปกติจนเป็นเบาหวาน ขับถ่าย/ความดันโลหิตผิดปกติจนเกิดโรคเรื้อรัง
  2. หากเราเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า ผลของการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่สร้างความเครียดอาจเป็นปัจจัยที่ต้องศึกษา ตรวจสอบ และวิจัยว่าจะบำบัดอย่างไร
  3. งานวิจัยในสัตว์ทดลองและผู้ป่วยพบว่า สมองจะจัดการกับความเครียดโดยการแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ที่ค่อยๆ ควบคุมได้ แต่ยังต้องได้รับการรักษาด้วยยาจากจิตแพทย์ควบคู่กับการรักษาอื่นๆ ในกรอบความคิดทางจิตบำบัด ทั้งนี้ต้องมีการติดตามผลของการควบคุมพฤติกรรมและอารมณ์อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างโปรแกรม เช่น Brain-Body-Initiative หรือ BBI ซึ่งวิจัยทางคลินิกแบบสหวิชาชีพทาง Neurobehavioral Medicine  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการวิเคราะห์ผลของการฟื้นคืนสภาพจากความเครียดที่สัมพันธ์กับปัจจัยทางร่างกาย ชีววิทยา และสังคมศาสตร์
  4. งานวิจัยกลไกการปรับตัวจากความเครียดในกรณีศึกษานั้นค่อนข้างหาทุนสนับสนุนยากเพราะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดค่อนข้างซับซ้อนและมีความเฉพาะในการบำบัดของแต่ละรายบุคคล ซึ่งเรียกว่า Individualized diagnostic and therapeutic interventions ดังนั้นการออกแบบโปรแกรมทางการแพทย์ทั้งการบำบัดด้วยยาและอื่นๆ จึงเรียกว่า Individualize Therapy โดยการทำนายถึงโอกาสที่ผู้ป่วยรายหนึ่งจะได้รับประโยชน์หรือเสี่ยงอย่างไรเมื่อได้รับยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิผล ซึ่งขึ้นอยู่การตรวจสาเหตุของโรคหรือกลุ่มอาการย่อยๆ ของโรคที่มีการรักษารองรับอย่างชัดเจนโดยแพทย์ ศึกษาเพิ่มเติมที่ www.nihroadmap.nih.gov/molecularlibraries
  5. บุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญจิตบำบัดจะเข้าใจผู้ป่วยแต่ละรายมากที่สุด แต่กระบวนการบำบัดที่ใช้กันนั้นยังไม่สัมพันธ์กับการรักษาด้วยยาและเหมาะสมเฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละรายจริงๆ ปัจจุบันได้พัฒนาความรู้ทางประสาทวิทยาศาสตร์มากขึ้นและใช้วิธีการบำบัดหนึ่งคือ Neuropsychotherapy และมีการวิจัยติดตามผลที่ชัดเจนขึ้น และศึกษาร่วมกับประสิทธิผลของการใช้ยาด้วย
  6. การวิจัยกลไกความเครียดได้ศึกษากระบวนการทางชีวิวิทยาที่จะควบคุมความเครียด ได้แก่ BBI (ดูข้อ 3) ซึ่งคาดหวังว่าจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบ e-based educational program/publication พร้อมสร้างเครือข่ายผู้ที่สนใจ ผู้บำบัด ผู้รับการบำบัด ที่มุ่งหมายฟื้นสภาพจากโรคเครียด

ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ ผู้รับบริการทางการแพทย์ และผู้สนใจช่วยเหลือ/พัฒนาทักษะการจัดการความเครียดทุกท่านต้องเร่งเรียนรู้หลักการทั่วไปของการสื่อสารระหว่างสมองและร่างกาย พร้อมทั้งแปลความรู้สู่การปรับตัวต่อความเครียดหรือเรียกว่า แนวคิดทางจิตชีววิทยา (Psychobiology) ในองค์ความรู้ทางการแพทย์เชิงระบบประสาทและพฤติกรรม ได้แก่

  1. ต่อมไร้ท่อในร่างกาย - เน้น paraventricular nucleus of the phypothalamus, anterior pituitary, adrenals, และ glucocorticord receptors
  2. ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติในร่างกาย – เน้น flight-flight response to stress และ locus coeruleus, sympathetic nervous system
  3. การควบคุมร่างกายผ่านสมอง – เน้น serotonergic system from a trophotropic perspective และ parasympathetic nervous system

ปล. ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรัง โดยธรรมชาตินั้นมีการปรับตัวในระดับหนึ่งแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า ท่านจัดการความเครียดอย่างไร เช่น ทำกิจกรรมใดๆในชีวิตเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากสภาวะเครียด ทำกิจกรรมใดๆ ในชีวิตเพื่อจัดการสาเหตุของความเครียดโดยตรง ทำกิจกรรมใดๆ ในชีวิตเพื่อควบคุมความคิดและการกระทำ ทำกิจกรรมใดๆ ในชีวิตเพื่อผ่อนคลายผล/อาการจากความเครียด (เช่น ทำสมาธิ-หายใจผ่อนคลายกล้ามเนื้อ, ทำกิจกรรมยามว่างที่มีคุณค่า, จิตอาสาเพื่อผู้อื่นและสังคม, เล่นกีฬา, จัดสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเพื่อการผ่อนคลาย, การเล่นดนตรี-การทำงานศิลปะเพื่อผ่อนคลายอารมณ์) กิจกรรมบำบัดจิตสังคมเพื่อฝึกทักษะการจัดการความเครียดด้วยตนเองในหลายวิธีการ และกิจกรรมใดๆ ในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเพื่อการฝึกสติและจิตในหลายรูปแบบ  

หมายเลขบันทึก: 362399เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์ Pop

แวะมาสลายความเครียดด้วยคนค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณยาย

ขอให้สลายความเครียดจนกลายเป็นความสุขในการดำเนินชีวิตทุกๆวันนะครับ

... ทำกิจกรรมยามว่างที่มีคุณค่า, จิตอาสาเพื่อผู้อื่นและสังคม, เล่นกีฬา, จัดสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเพื่อการผ่อนคลาย, การเล่นดนตรี-การทำงานศิลปะเพื่อผ่อนคลายอารมณ์) กิจกรรมบำบัดจิตสังคมเพื่อฝึกทักษะการจัดการความเครียดด้วยตนเองในหลายวิธีการ และกิจกรรมใดๆ ในชีวิตที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาเพื่อการฝึกสติและจิต ...

ทั้งหมดนี้ชอบและจะพยายามทำตามนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท