10 วิธี ปฏิรูปแก้วิกฤติชาติ แนวคิด ศ.นพ.ประเวศ วะสี


การมีจิตสาธารณะนั้น เป็นสิ่งที่เกิดตามวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล

เผยแพร่โดย  ยรรยง สินธุ์งาม


   10 วิธี ปฏิรูปแก้วิกฤติชาติ แนวคิด ศ.นพ.ประเวศ วะสี

  


        
จากงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย” ที่มหาวิทยาลัยรังสิต จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัย ครบรอบ 25 ปี ภายในงาน มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ “แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย” โดย ศ.นายแพทย์ ประเวศ วะสี นักวิชาการด้านสาธารณสุข- การศึกษา และ ราษฎรอาวุโส ได้เสนอ 10 แนวทางปฏิรูปประเทศ ปฏิรูปการศึกษา สร้างธรรมาภิบาลในสังคม

ประเทศไทยของเราวิกฤติในทุกๆ ด้าน สังคมของเราสะสมความไม่ถูกต้องมาหลายประการ ถ้าเปรียบเป็นร่างกายก็จะทราบดีว่าหากดีเอ็นเอรวนเพียงนิดเดียว ร่างกายก็จะผิดปกติ
 
นพ.ประเวศ กล่าวว่า  วิกฤติความซับซ้อนแก้ไขได้ยากมาก  ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยอำนาจ  แต่ต้องแก้ไขด้วยปัญญา  ซึ่งปัญญาของคนในสังคมยังมีน้อย  จึงทำให้ตกหลุมดำทางปัญญาที่มีกำแพงล้อมรอบแน่นหนา  4  ด้าน  คือ  1.สังคมแนวดิ่ง  2.ระบบอำนาจรัฐรวมศูนย์  3.ระบบเศรษฐกิจบริโภคนิยม  และ  4.ระบบการศึกษาที่ไม่มีพลังทางปัญญา  ซึ่งกำแพง  4  ด้านได้กักขังสติปัญญาของสังคมไทยไว้
               "
คนไทยสังคมไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่งที่รอวันให้เขาเอาไปเชือด  แต่ก็ยังจิกตีกันร่ำไป  ทางรอด คือ
ต้องรวมตัวกันเพื่อบินออกจากเข่งให้ได้
  และต้องปฏิรูปเพื่อความอยู่รอด  ต้องสร้างจิตสำนึกใหม่  เพราะจิตสำนึกใหม่จะให้พลังมหาศาลประดุจพลังนิวเคลียร์ในตัวมนุษย์
"  ราษฎรอาวุโสบอก

       สังคมก็จำเป็นต้องมีความถูกต้องในทุกๆ เรื่อง เพราะฉะนั้นการปฏิรูปสังคมไปสู่ความเป็นธรรมนั้น ก็จำเป็นต้องปฏิรูปพร้อมกันในหลายๆ ด้าน เพราะทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด ทั้งนี้จากการระดมความคิดเห็น ตนคิดว่าประเทศไทยควรปฏิรูปใน 10 ประการ คือ

1.
สร้างจิตสำนึกใหม่ โดยให้คนไทยมองไกล ใจกว้าง และมีจิตสาธารณะ

 

  ความหมายของจิตสาธารณะ

 

           มีการกำหนดลักษณะของคำว่า "จิตสาธารณะ" ไว้อย่างหลากหลาย ทั้งคำที่ใช้ในภาษาไทย เช่น จิตสาธารณะ สำนึกสาธารณะ และจิตสำนึกสาธารณะ เป็นต้น และคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ เช่น Public Consciousness หรือ Public Mind

ซึ่ง
สามารถสรุปความหมายได้ว่า หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่า หรือการให้คุณค่าแก่การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งสาธารณะ ที่ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเจ้าของ หรือเป็นสิ่งที่คนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่แสดงออกมา

โดยเราสามารถพิจารณาดูจาก ความรู้ ความเข้าใจ หรือพฤติกรรม ที่บุคคลแสดงออกมา ใน 3 องค์ประกอบ ดังนี้


องค์ประกอบที่ 1 คือ การหลีกเลี่ยงการใช้หรือการกระทำที่จะทำให้เกิดความชำรุดเสียหายต่อส่วนรวมที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม
    ดูตัวบ่งชี้จาก 
1. การดูแลรักษาของส่วนรวม ใช้ของส่วนรวมแล้วเก็บเข้าที่
                  2. ลักษณะการใช้ของส่วนรวม รู้จักใช้ของส่วนรวมอย่างประหยัดและทนุถนอม

องค์ประกอบที่
2 คือ การถือเป็นหน้าที่ที่จะมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาของส่วนรวมในวิสัยที่ตนสามารถทำได้
      ดูตัวบ่งชี้จาก
1. การทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเพื่อส่วนรวม
                   2. การรับอาสาที่จะทำบางอย่างเพื่อส่วนรวม

องค์ประกอบที่
3 คือ การเคารพสิทธิในการใช้ของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของกลุ่ม
     ดูตัวบ่งชี้จาก 
1. การไม่ยึดครองของส่วนรวมนั้นมาเป็นของตนเอง
                   2. การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้สามารถใช้ของส่วนรวมนั้น

 

    ปัจจัยที่ก่อให้เกิดจิตสาธารณะ

          การมีจิตสาธารณะนั้น เป็นสิ่งที่เกิดตามวิถีการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล สภาพ
แวดล้อมต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยที่ จิตสาธารณะ หรือ จิตสำนึกทางสังคม อยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ดังนี้

           ปัจจัยภายนอก
เป็นปัจจัยที่เกี่ยวกับภาวะทางสัมพันธภาพของมนุษย์   ภาวะทางสังคมเป็นภาวะที่ลึกซึ้งที่มีผลต่อจิตสำนึกด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ เป็นภาวะที่ได้อบรมกล่อมเกลา และสะสมอยู่ในส่วนของการรับรู้ทีละเล็กทีละน้อย ทำให้เกิดสำนึกที่มีรูปแบบหลากหลาย ภาวะแวดล้อมทางสังคมนี้เริ่มตั้งแต่พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อน ครู สื่อมวลชน บุคคลทั่วไป ตลอดจนระดับองค์กร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมาย ศาสนา รวมทั้งภาวะแวดล้อมด้านสื่อสารมวลชน และส่วนที่กำกับสำนึกของบุคคล คือ การได้สัมผัสจากการใช้ชีวิตที่มีพลังต่อการเกิดสำนึก อาทิ การไปโรงเรียน ไปทำงาน ดูละคร ฟังผู้คนสนทนากัน เป็นต้น

 

 

 

         ปัจจัยภายใน สำนึกที่เกิดจากปัจจัยภายใน หมายถึง การคิดวิเคราะห์ของแต่ละบุคคลในการพิจารณาตัดสินคุณค่าและความดีงาม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมและการประพฤติปฏิบัติโดยเฉพาะการปฏิบัติทางจิตใจ เพื่อขัดเกลาตนเองให้เป็นไปทางใดทางหนึ่ง โดยเกิดจากการรับรู้จากการเรียนรู้ การมองเห็น การคิด แล้วนำมาพิจารณาเพื่อตัดสินใจว่าต้องการสร้างสำนึกแบบใด ก็จะมีการฝึกฝนและสร้างสมสำนึกเหล่านั้น

 

          การเกิดจิตสำนึกไม่สามารถสรุปแยกแยะได้ว่าเกิดจากปัจจัยภายในหรือภายนอกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะทุกสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน จิตสำนึกที่มาจากภายนอกเป็นการเข้ามาโดยธรรมชาติ กระทบต่อความรู้สึกของบุคคล แล้วกลายเป็นจิตสำนึกโดยธรรมชาติ และมักไม่รู้ตัว แต่จิตสำนึกที่เกิดจากปัจจัยภายในเป็นความจงใจเลือกสรร บุคคล ระลึกรู้ตนเองเป็นอย่างดี เป็นสำนึกที่สร้างขึ้นเอง ระหว่างปัจจัยภายใน และภายนอก เป็นปฏิสัมพันธ์ที่มีความต่อเนื่องกัน ดังนั้น การพัฒนาจิตสำนึกจึงต้องกระทำควบคู่กันไปทั้งปัจจัยภายในและภายนอก

 


2.สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ ซึ่งเป็นรากฐานของความร่มเย็นเป็นสุข ไม่ส่งเสริมให้ประชาชนเบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น และประเทศจะต้องไม่มุ่งผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือ GDP เป็นหลัก

 

3.สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น  ไม่มีพระเจดีย์ใดสร้างสำเร็จได้จากยอด เราต้องเริ่มสร้างจากรากฐานก่อนเป็นหลักเพราะฉะนั้นประชาธิปไตยระดับชาติจะสำเร็จไม่ได้ หากไม่มีประชาธิปไตยเกิดในหมู่บ้าน 

4.สร้างระบบการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ  เพราะระบบการศึกษาของบ้านเราสร้างความทุกข์ยากให้คนในประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาเราปลูกฝังความคิดที่ผิด คือ ใช้วิชาการมาเป็นตัวตั้งตั้งแต่เริ่มต้น ไม่ได้ใช้ชีวิตและการอยู่ร่วมกันเป็นจุดประสงค์หลัก สิ่งใดก็ตามที่ไม่เอาชีวิตและการอยู่ร่วมกันเป็นตัวตั้ง สิ่งนั้นจะเกิดวิกฤติเสมอ

5.สร้างธรรมาภิบาลระบบการเมือง การปกครอง ระบบความยุติธรรมและสันติภาพ โดยมหาวิทยาลัยต้องสนับสนุนให้มีการวิจัยเรื่องความเป็นธรรมเกิดขึ้นในสังคม

6.สร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีธนาคารประชาชน

7.สร้างดุลยภาพเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงานเพื่อเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจ

8.ปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อสุขภาวะของคนทั้งมวล

9.การวิจัยยุทธศาสตร์ของชาติ 

10.สร้างระบบการสื่อสารที่ผสานให้เกิดการพัฒนาทั้งหมด

 

 

 

  .นพ.ประเวศ ยอมรับว่า   ทั้ง  10  เรื่องเป็นเรื่องยาก  และคงไม่มีหน่วยงานไหนทำได้เพียงลำพัง  ดังนั้นต้องรวมตัวกัน  และต้องมีโครงสร้างการทำงานใหม่คือ  INN  โดย  
I  มาจากคำว่า   Individual  หรือปัจเจกบุคคลที่มีจิตสำนึกในศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคน 
N   ตัวแรก
มาจากคำว่า  Nodes  หรือการรวมกลุ่มที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน  รวมตัวกันทำเรื่องดีๆ  
N  ตัวที่สองมาจากคำว่า  Networks  หรือเครือข่ายเชื่อมโยงกันระหว่างบุคคลและเครือข่าย

ซึ่ง
  
INN  จะเป็นโครงสร้างที่คนไทยทุกคน  ทุกกลุ่ม  ทุกองค์กร  ทุกสถาบันร่วมปฏิรูป  ทั้งที่แยกกันทำและเชื่อมโยงกันทำให้เต็มประเทศก็สามารถทำเรื่องยากๆ  ได้

               "
สิ่งสำคัญเฉพาะหน้าคือ  ต้องป้องกันความรุนแรงเพื่อให้เวลาประเทศไทย  จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่ต้องป้องกัน  ซึ่งวิธีหนึ่งคือสร้างกรอบ  กติกา  และกลไก  ที่สังคมจะเข้ามามีส่วนในการควบคุม  เช่น  การสลายการชุมนุม  ต้องมีรายละเอียด  มีข้อตกลงไว้ล่วงหน้าว่าอะไรทำได้  อะไรทำไม่ได้  ต้องให้สังคมรู้ด้วย  สังคมจะได้เข้าใจและเข้ามากำกับว่าทำผิดกติกาหรือไม่  เรือล่มแล้วมาหัดว่ายน้ำมันไม่ทัน"

     ผมได้นำเสนอเนื้อหาในส่วนของ จิตสาธารณะ มากกว่าส่วนอื่น เพราะ คุณลักษณะข้อนี้ กระทำให้มีขึ้นได้ใน ตัวเรา ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม โดยไม่ต้องไปรอให้ หน่วยงานใดๆ มากำหนด  และ ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เพื่อให้เกิดผล ตามมาในสังคม  แม้เราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมคน ในสังคม แต่การเริ่มที่ตัวเรา นี่แหละ ! จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ของสังคม ในภายหน้า  ซึ่งสอดคล้องกับ ทฤษฎีพัฒนาการสังคม ของคณะวิจัยชาวญี่ปุ่น

ชื่อทฤษฎีว่า " ทฤษฎี ลิงตัวที่ 100 " 

             ฟังแค่ชื่อ ก็น่าสนใจแล้ว แต่ เอ๊ะ!  ลิง กะคน มันจะเกี่ยวข้องกันอย่างไร   นักวิจัยท่านว่า ลิงกะคน มีนิสัยเป็นสัตว์สังคม เหมือนกัน   คือ ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีครอบครัว มีเพื่อน มีศัตรู มีผู้นำ   เค๊า จึงเลือกศึกษา ฝูงลิง ที่อาศัยอยู่ริมทะเล  นักวิจัยได้นำ หัวมันฝรั่ง โยนไปบนพื้นทราย เป็นการให้อาหารลิง  แรกๆ ลิงก็กินหัวมัน ทั้งๆที่มี เม็ดทรายติดอยู่   หลายครั้ง ต่อมา มีลิงบางตัว เอาหัวมันฝรั่ง ที่เปื้อนทราย ไปล้างน้ำก่อน จึงนำมากิน    ต่อมา ลิงหลายตัวก็เอาอย่างมั่ง   นักวิจัยได้ทำการสังเกต พบว่า เมื่อลิงตัวที่ 100 ล้างหัวมัน ก่อนจึงนำมากิน  จากนั้นมา พฤติกรรมลิงทั้งฝูง ก่อนที่จะกินหัวมันฝรั่งเปื้อนทราย ต้องนำไปล้างน้ำ ก่อนทุกครั้ง 

เมื่อลิงตัวที่ 100 เอาหัวมันฝรั่งไปล้างน้ำ ลิงทั้งฝูงเปลี่ยนพฤติกรรม ทั้งหมด เราเรียกจุเปลี่ยนนี้ว่า "มวลวิกฤต หรือ Critical mass" ซึ่งจะเกิดขึ้น ณ จุดหนึ่ง จะทำให้ ปริมาณ เปลี่ยนไปเป็น คุณภาพ  

            นี่แหละครับ ที่มาของ ทฤษฎี ลิงตัวที่ 100  การเปลี่ยนพฤติกรรมคนในสังคม ให้มีจิตสาธารณะ จึงต้องเริ่ม ที่ตัวเรา ให้คนใกล้ตัวได้รู้ ได้เห็นพฤติกรรม ที่ดีเหล่านั้น พวกเขาก็จะเกิดการซึมซับ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่พึงประสงค์นั้นเอง 

งานวิจัยนี้ทำให้เกิดความเชื่อว่า มนุษย์เราจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือจิตสำนึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนคนทั้งหมด แต่เปลี่ยนแปลงในจำนวนที่จะทำให้เกิดมวลวิกฤต  เท่านั้นแหละครับ ก็จะเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งหมดได้ จากการคำนวน จากปัจจัยต่างๆ  เขาพบว่า  มวลวิกฤต ของมนุษย์  อยู่ที่ประมาณ 30 % ครับ ถึงจะมีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสังคมโดยรวมได้ 

แต่ในสังคมมนุษย์ ปัจจุบัน จากการศึกษา พฤติกรรมสังคม ของผม กลับพบว่า ไม่ต้องรอ ให้ถึง "ลิงตัวที่ 100" หรอกครับ  หา คนดัง คนมีชื่อเสียง อาทิ ดารา นักร้อง นักแสดง นักการเมือง นักธุรกิจ ฯลฯ  เอาคนเหล่านี้ มาเป็น พรีเซ็นเตอร์ สร้างภาพ ผ่านสื่อต่างๆ ทั้ง ทีวี ภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ วิทยุ SMSทางโทรศัพท์  ฯลฯ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ที่พึงประสงค์ของคนในสังคม ก็จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  สำหรับความยั่งยืน ของพฤติกรรมดังกล่าว ก็ต้องขึ้นอยู่ว่า จะมีการ สร้างภาพลักษณ์ ดังกล่าว ต่อเนื่องกันหรือไม่  ถ้าทำไปตลอด สังคมนั้นก็จะมีพฤติกรรมดังกล่าว ค่อนข้างจะถาวร 
       

 

 
อ้างอิง 

                 : งานสื่อสารสังคม (สกว.)
                  : ชาย โพธิสิตา และคณะ. (2540). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง จิตสำนึกต่อสาธารณะสมบัติ :ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. มหาวิทยาลัยมหิดล.
                 :
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 12 กันยายน พ.. 2552
                 : นวรินทร์ ตาก้อนทอง จิตสาธารณะ: คุณลักษณะของเด็กไทยที่พึงประสงค์
        :http://www.atnnonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=8714:10---&catid=76:opinion&Itemid=70
 


 เรียบเรียง เผยแพร่โดย   ยรรยง สินธุ์งาม

หมายเลขบันทึก: 362368เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2010 08:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 05:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สิ่งยืนยันสังคมไทยเป็นดังท่านว่าครับ

     วิกฤติความซับซ้อนแก้ไขได้ยากมาก ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยอำนาจ แต่ต้องแก้ไขด้วยปัญญา ซึ่งปัญญาของคนในสังคมยังมีน้อย จึงทำให้ตกหลุมดำทางปัญญาที่มีกำแพงล้อมรอบแน่นหนา 4 ด้าน คือ

1.สังคมแนวดิ่ง

2.ระบบอำนาจรัฐรวมศูนย์

3.ระบบเศรษฐกิจบริโภคนิยม และ

4.ระบบการศึกษาที่ไม่มีพลังทางปัญญา

           ซึ่งกำแพง 4 ด้านได้กักขังสติปัญญาของสังคมไทยไว้ "คนไทยสังคมไทยเหมือนไก่อยู่ในเข่งที่รอวันให้เขาเอาไปเชือด แต่ก็ยังจิกตีกันร่ำไป ทางรอด คือ

  • ลิงตัวที่ ๑๐๐ เพื่อทะลาย หลุมดำทางปัญญา น่าจะคือความกรุณา
  • อย่างอนกันนาน ดีไหมคะ
  • ยิ้มให้กัน ถึงแม้ตอนแรกจะยิ้มแหยๆ ดีไหมคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท