โรงพยาบาลห้วยแถลง
พญ. วิภา โรงพยาบาลห้วยแถลง อุทยานินทร์

วัสดุอุดฟัน


วัสดุอุดฟัน

โดย ทพญ.ภาวี

ในปัจจุบันการบูรณะฟันที่ผุหรือฟันที่ผิดปกตินั้น นอกจากการบูรณะเมื่อรักษาความเจ็บปวด และความรู้สึกไม่สบายของผู้ป่วยแล้ว ความสวยงามก็ได้เข้ามามีบทบาทต่อการตัดสินใจเลือกวัสดุในการบูรณะฟันอย่างมาก

วัสดุอุดฟันแบ่งเป็น

1.อมัลกัม เป็นวัสดุสีเทาเงิน มีการใช้อมัลกัมในการอุดฟันมานานมาก ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่ วัสดุชนิดนี้มีความแข็งแรงมาก อมัลกัมจะใช้เวลาในการแข็งตัว 24 ชั่วโมง ดังนั้นเมื่ออุดแล้วทันตแพทย์จะให้งดเคี้ยวอาหารด้านนั้นประมาณ 1 วัน จึงเป็นเหตุผลว่าทำใมถึงอุดฟันด้วยอมัลกัมได้ทีละข้าง อมัลกัมมีข้อเสียคือสีไม่สวยงาม จึงมักใช้อุดในฟันหลัง ข้อเสียอีกอย่างคือ อมัลกัมมีการติดอยู่กับฟันด้วยการตกแต่งรูปร่างของฟันให้มีรูปร่างที่เหมาะสม การอุดฟันด้วยอมัลกัมจึงมีการสูญเสียเนื้อฟันเพื่อการเตรียมอุด ทำให้ฟันที่อุดด้วยอมัลกัมพบการแตกของฟันได้ภายหลังการอุดไประยะหนึ่ง

2.เรซิน คอมโพสิต เป็นวัสดุสีเหมือนฟัน ปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีสีที่เหมือนฟันอย่างมาก นิยมนำมาอุดฟันหน้า แต่ผู้เขียนเองชอบที่จะนำมาอุดฟันหลังด้วย เนื่องจากไม่ต้องเสียเนื้อฟันเพื่อเตรียมเป็นที่อยู่ของวัสดุอุด ทำให้ฟันไม่แตกในภายหลังการอุด

 นอกจากนี้ในคนที่ฟันตกกระ หรือฟันเหลืองก็มีการอุดด้วยคอมโพสิตเพื่อความสวยงามอีกด้วย

3.วัสดุกลาสไอโอโนเมอร์ เป็นวัสดุที่สีคล้ายฟัน แต่สียังไม่เหมือนฟันเท่าคอมโพสิต ข้อดีของวัสดุชนิดนี้คือยึดติดกับฟันด้วยพันธะเคมี และสามารถปล่อยฟลูออไรด์ออกมา ปัจจุบันวัสดุชนิดนี้มีการพัฒนาค่อนข้างมาก จึงเป็นวัสดุที่น่าจะมาแรงในอนาคต

คำสำคัญ (Tags): #วัสดุอุดฟัน
หมายเลขบันทึก: 361804เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจังเลยครับ ได้ข้อมูลวัสดุอุดฟัน แต่ว่าราคาการอุดฟันและวัสดุต่างกันมากไหมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท