ทำวิจัยเชิงคุณภาพ Palliative care ด้วย Focus group


Faciliator ใน Focus group คือผู้ explore และ control group dynamic

การนำ group process มาเป็นกิจกรรมเรียนรู้ Palliative care สำหรับ แพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ครอบครัว ดูจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ด้วยเหตุว่า

เป็นการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง การปฎิบัติจริง และนำผลไปใช้จริง ผู้เรียนสามารถเห็นผล (ทั้งด้านบวก และด้านลบ ) ได่จริง
   เริ่มจากการเข้าร่วม กิจกรรม Brain stroming  ในการประชุม Interprofessional palliative care workshop

   การทำวิจัย ของแพทย์ประจำบ้านสองคน ในเรื่อง แนวทางการสื่อสารกับครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วย Nominal group technique ในกลุ่มแพทย์และพยาบาลผู้มีประสบการณ์สูง ภายใน รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ เกี่ยวกับ NGT มีบันทึกไว้ที่นีี่คะ

   กิจกรรมสร้างเครือข่าย Palliative care ภาคเหนือตอนบน Focus group แนวทางการสื่อสารกับครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยครั้งนี้ แพทย์ประจำบ้านทุกคน ไ้ด้รับการ train (อย่างเร่งด่วน)และมอบหมายให้เป็น Faciliatator ของกลุ่ม

   สำหรับ Delphi technique นั้น อาจใช้เป็นหัวข้องานวิจัยสักเรื่อง...เมื่อ 1 เดือนที่แล้วฉันได้ร่วมการทำ delphi  ของ International Associate of Hospice care (IAHPC) ด้วยการตอบคำถามผ่าน dynamic web ในคำถามที่ว่า " อะไรคือทักษาะ Palliative medicine ที่จำเป็น ใน primary care"  เขาทำสองรอบ  แต่ละรอบใช้เวลาประมาณ 45 นาที
   จึงพอได้แนวคิด ว่าการทำ Delphi นั้นต้องมีฐานข้ิอมูลที่จะ identify interested  group  สามารถติดต่อได้กว้างขวาง แต่การคาดหวังถึงคุณภาพของข้อมูลที่ตอบกลับมาค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอาชีพแพทย์ พยาบาล ที่เวลารัดตัวอยู่แล้ว ดังนั้น หากจะนำ Delphi มาใช้ใน medical research คงเป็นคำถามที่ไม่ต้องตอบยาว แต่ท้าทายชวนถกเถียง ( แต่ก็เถียงกันไม่ได้ :>)

 

เอาละคะ กลับมาเข้าเรื่องกัน ความจริงแล้วฉันและบรรดาแพทย์ประจำบ้าน ต่างก็อยู่ใน "ground zero" เรื่อง Qualitative research ยังดีที่ได้ อ.ดร.เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ จากเวชศาสตร์ชุมชน ช่วยเป็นโคชในการสร้างความเข้าใจพื้นฐาน
สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ ถือว่าเป็นการแชร์ประสบการณ์ "ลองของ"

ขั้นที่ 1: การเตรียม question และ protocal

ในขั้นนี้ อาศัย Research question และ probe case เดิมจากการทำ NGT  ซึ่งเป็นการหา Who, Where, When, What and How to say กับครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ขั้นที่ 2:การเตรียม Facilitator

ในขั้นนี้ ท่านอาจารย์เพ็ญประภา กรุณามาอธิบายหลักการ วัตถุประสงค์ของการทำ focus group เท่าที่ฉันเข้าใจ  facilitator มีหน้าที่
- Control group dynamic คือ พยายามไม่ให้ Dominant พูดคนเดียว และ พยายามกระตุ้นให้ Silent ได้พูดบ้าง และที่สำคัญ อาจารย์ฝากไว้คือ "อย่าทำตัวเป็นครูใหญ่ของกลุ่มเสียเอง"

- Explore interesting issue โดยเป็นผู้ฟังที่ดี คอยจับประโยคที่น่าสนใจเพื่อขอให้ผู้พูดขยายความ ยกตัวอย่างให้ชัดเจน

แล้วมีการทดลองทำ Mock focus group  แต่ใช้เรื่องใกล้ตัวก่อน คือ "OPD ของภาควิชา ควรกำหนดเกณฑ์รับผู้ป่วยหรือไม่" ซึ่งผู้ร่วมกลุ่มได้ให้ความเห็นพร้อมตัวอย่างหลั่งไหล่จนท่วมท้น
..แต่ฉันก็พบว่า ในสนามจริง ความคุ้นเคยน้อยกว่า กับลักษณะหัวข้อที่ formal กว่า ทำให้ การ control และ explore ยากขึ้นไปด้วย  ดังนั้น ถ้าย้อนกลับไปได้ ก็น่าจะ mock โดยใช้คำถามจริงด้วย

ขั้นที่ 3: ลงสนามจริง

วันที่ 21 พฤษภาคม มีกิจกรรมเครือข่าย Palliative care ในภาคเหนือตอนบน โดยคณะกรรมการ Palliative รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ 
ตอนเช้า น้องๆ เดนท์ 8 คนมาแต่เช้าอย่างแข็งขัน เพื่อซักซ้อมความเข้าใจเรื่อง Case probe ซึ่งประกอบด้วย Case acute severe subdural hemorage และ end stage cancer เดิมทีคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมาณ 60 คน จะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน โดยมี faciliatator กับ note taker แต่ 3-4 วันก่อนงาน ปรากฎว่าผู้เข้าร่วมมี 116 คนเป็นแพทย์ พยาบาล จาก 58 รพช. รพท.และ เอกชนใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน.
จึงต้องปรับใหม่เป็น 8 กลุ่มๆ ละ 15 คน โดย facilitator เป็น note taker ไปในตัว..เรียกว่า เป็น focus group แบบกันเองๆ ที่ไม่ค่อยถูกหลักวิชาการนัก

ขั้นที่ 4 : Reflection
วันพุธสัปดาห์ถัดมา เปิดโอกาสให้น้องเดนท์ แต่ละคนเล่าประสบการณ์เป็น facilitator พร้อมทั้งประเด็นที่จับได้  กำหนดให้เสนอคนละ 10 นาที แต่ไปๆ มาๆ แต่ละคนใช้เวลาครึ่งชั่วโมง มี off topic เล่าถึงความเห็นส่วนตัวเพิ่มเติมด้วย (เพราะอึดอัดจากตอนเป็น facilitator แสดงความเห็นไม่ได้)
สิ่งที่สังเกตคือ Facilitator น้องใหม่ ยังต้องพัฒนา Explore skill ..ฉันคิดว่าคนไทยเรามีความคิดรวบยอดที่ดี แต่ไม่ค่อยยกตัวอย่าง หากไม่ขอให้ยก (--เป็นเหตุผลหนึ่ง ของการสอบ academic writing , speaking ของ TOEFL ได้คะแนนน้อย T_T)

เขียนมาถึงตรงนี้ก็ยาวแล้ว...ไว้โอกาสหน้าจะนำสรุปบทเรียน องค์ความรู้ที่ได้จาก focus group แนวทางสื่อสารกับครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้ายมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไปคะ

Paper แนะำนำสำหรับ Focus group ใน medical research

1. Wong LP. Focus group discussion: a tool for health and medical reserch. Singapore Med J 2008; 49(3): 256-261

2. Steinhauser KS et al. In search of a Good Death: Observations of Patients, Families, and Providers. Annals of Int Med 2000; 132: 825-832
   ฉบับที่สองนี้ ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของการใช้ focus group ใน field palliative care ซึ่งมีคนอ้างอิงงานนี้มากทีเดียวคะ

คำสำคัญ (Tags): #focus group#medical research
หมายเลขบันทึก: 361754เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2010 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท